beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

หัวใจนี้เราจอง ตอน๒ (จบ) : Synchronization


หัวใจของมนุษย์ มีกลุ่มเซลล์กลุ่มหนึ่งประมาณหนึ่งหมื่นเซลล์ เรียกว่า Pace maker ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (Heart beat) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิด Synchronization

ติดตามอ่านความเดิมจาก หัวใจนี้เราจองตอน๑ ได้ที่นี่ คลิก

     พอผมได้ฟังปัจฉิมโอวาทเรื่อง "การสื่อสารและการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์" ของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ผมก็เกิดปิ๊งไอเดียว่า จะเขียนเรื่องหัวใจนี้เราจองตอนจบได้อย่างไร ก่อนอื่นขอยืมภาพ (ของท่านอาจารย์หมอประเวศ) จากท่านอาจารย์ Panda แฟนประจำบันทึกของผมก่อนครับ

     
 

 

     

    ผมมาเริ่มจับประเด็นตอนท้ายๆ ของปาฐกถามีความว่า (ฟังเข้าใจเพราะผมเป็น Biologist)

" หัวใจของมนุษย์ มีกลุ่มเซลล์กลุ่มหนึ่งประมาณหนึ่งหมื่นเซลล์ เรียกว่า Pacemaker ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (Heart beat) ทำให้เกิด Synchronization ในระบบการเต้นของหัวใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจเป็นส่วนใหญ่ "

   ไปดูภาพที่เกี่ยวข้องกับ Pacemaker กันก่อนนะครับ Depict หรือ Storytelling by Picture นะครับ

       
     
 

ภาพที่๑

ภาพที่๒

 
   
 

ภาพที่๓

 ภาพที่๔

 
       

    ถ้าองค์กร หรือ ประเทศ มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งมีทั้งผู้นำและผู้ตาม) ไม่ต้องมาก แต่สามารถทำงานกันอย่างมี Synchronization ได้ องค์กรนั้นก็จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้

   ผมจะยกตัวอย่าง Synchronization แบบที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ เป็นตัวอย่างนะครับ เช่น การแสดงของสาวประเภทสอง ที่เรียกว่า "ลิป-ซิงค์ Lip synch(ronization)" เป็นเรื่องการขยับปากให้เข้ากับจังหวะการร้องของนักร้อง/นักดนตรี (ซึ่งส่วนมากเป็นเทป)

   การทำงานของที่สัมพันธ์กัน ของไฟ Flash  กับความเร็ว Shutter ของกล้อง ที่เรียกว่า Flash synchronization เป็นต้น นะครับ

   นอกจากนั้น ทีมมหิดลที่จัดงาน UKM ครั้งนี้ เขาก็ได้จัดให้ไปชมการแสดงดนตรีฉลอง ๑๐๐ ปี ชาติกาล พุทธทาส หรือ Thailand Philharmonic Orchestra ที่มี ร้อยโทประทีป สุพรรณโรจน์ เป็น ผู้อำนวยเพลง (ควบคุมวงหรือไวทยากร= Conductor)

    การเล่นดนตรีเป็นวง Orchestra มีนักดนตรี (เครื่องดนตรี) ไม่ต่ำกว่า 50 คน(ชิ้น) ต้องการความเป็น Synchronization สูงมาก จึงจะเล่นได้เป็นเพลงที่ไพเราะ และตัว Conductor ก็นับว่ามีความสำคัญมาก.....

       
     
       
       

ที่มาของภาพและเอกสารอ้างอิง

  1. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/images/ency/fullsize/19566.jpg
  2. http://www.astrosurf.com/lombry/Radio/pacemaker-dwg.jpg
  3. http://medicalcenter.osu.edu/patientcare/healthinformation/
    diseasesandconditions/heartdisease/arrhythmias/pacemakers/
  4. http://www.syncope.co.uk/images/Pacemaker.JPG

อ่านประกอบ

หมายเลขบันทึก: 39560เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 05:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอขอบคุณอาจารย์ Beeman                                  

  • เป็นบันทึกที่ทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง โดยเฉพาะการเปรียบเทียบความร่วมมือประสานกัน (synergy) กับหัวใจ

ขอขอบคุณครับ                                                        

 Bee  เรียนท่าน BeeMan

 เที่ยงวันนี้ทีมงาน KFC(oP)บ้านผู้หว่าน ๒ ต้องขอขอบพระคุณท่าน Beeman ท่าน SuperBoy ท่านเอื้อวิบูลย์ ท่านผอ.สำนักประกันที่มาร่วมกัน "สื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เตรียมงานจัดงาน ทศพักตร์นักจัดการความรู้ สู่เครือข่ายคุณอำนวยระดับชาติ"Head Banger ซึ่งจะจัดวันพรุ่งนี้ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการประชุม UKM ในวันที่ ๒ พ.ย ๒๕๔๙ นี้ครับ





เรียน beeman

   จุดหลักที่สำคัญอีกอย่างของการทำงานเป็นองค์กรคือ ความถูกต้องและความยุติธรรม เป็นแกนหลักครับ

  • ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์หมอวัลลภครับที่มาร่วมให้ข้อคิดเห็น
  • ขอขอบคุณอาจารย์ภูคาด้วยครับ
  • และท่านอาจารย์ JJ ที่กรุณามาจากขอนแก่น มาพบพวกมน. ต่อจากนั้นก็จะเดินทางต่อไปมอ.เลย และกลับมากรุงเทพฯก่อนไปขอนแก่นอีกครั้ง
  • การทำงานร่วมกันเป็นสิ่งที่ยากเหมือนกันนะค่ะ เพราะหาผู้ที่ตามและผู้นำยากเหมือนกัน มีแต่คนจะเป็นผู้ที่อยู่เฉยๆ ดีกว่า
  • ขอขอบคุณ คุณป๋อมแป๋มที่สะท้อนแนวคิดของคนรุ่นใหม่นะครับ
  • แต่ต้องมีคนไทยบางจำพวกที่ทำงานเพื่อชาติครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท