BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

กาล+เวลา


กาลเวลา

กาลเวลา เป็นคำสมาสที่เรานิยมใช้รวมกันเมื่อบ่งบอกช่วงระยะกว้างๆ มิได้กำหนดชัดเจน... โดยถ้าบ่งชี้เฉพาะในระยะสั้นหรือระบุชัดเจนมักจะใช้คำว่า เวลา ...และถ้าบ่งชี้ช่วงระยะที่ผ่านมาแล้ว ยังมาไม่ถึง และขณะนี้ ก็มักจะใช้คำว่า กาล ...

กาล และ เวลา เป็นคำบาลี โดย กาล แปลว่า ผู้กระทำชีวิตของสัตว์ให้สิ้นไปและเสื่อมไป... เวลา  แปลว่า ผู้ตัดหรือถือเอาชีวิตของสัตว์โดยวิเศษ...

วจนัตถะ สพฺพสตฺตานํ ชีวิตํ ขยวยํ กโรตีติ กาโล สภาวะใดกระทำชีวิตของสรรพสัตว์ให้สิ้นไปเสื่อมไป ดังนั้น สภาวะนั้นชื่อว่า กาล (ผู้กระทำชีวิตของสัตว์ให้สิ้นไปเสื่อมไป)

กาล มาจากรากศัพท์ว่า กร แปลว่า กระทำ (กร+ณ =กาโล แปลง ร.เรือ เป็น ล.ลิง ด้วยอำนาจณปัจจัย) ...เพราะบ่งชี้ว่ากระทำชีวิตของสัตว์ให้สิ้นไปเสื่อมไป ดังนั้น จึงใช้แทน ความตาย หรือ พญามัจจุราช ก็ได้ซึ่งหลายๆ คนก็รู้เรื่องนี้ แต่อาจไม่เข้าใจความหมายตามนัยนี้เท่านั้น

วจนัตถะ สพฺพสตฺตานํ ชีวิตํ  วิเสเสน ลุนาติ ลานาตีติ วา เวลา ธรรมชาติใดย่อมตัดหรือย่อมถือเอาชีวิตของสรรพสัตว์โดยวิเศษ ดังนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า เวลา (ผู้ตัดหรือถือเอาชีวิตของสัตว์โดยวิเศษ)

เวลา มีสองมติ บ้างก็ว่ามาจาก ลุ แปลว่า ตัด... บ้างก็ว่ามาจาก ลา แปลว่า ถือเอา ซึ่งหมายถึง ตัดหรือถือเอาชีวิตสัตว์ ...มี วิ อุปสัคเป็นบทหน้า วิ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง ...ซึ่งอาจอธิบายว่ารวมๆ ว่า ย่อมตัดหรือถือเอาชีวิตของสัตว์อย่างไม่ต้องสงสัยและเป็นไปต่างๆ นานา ..

หมายเหตุ

ในวิชาปรัชญามีคำถามหนึ่งว่า กาลเวลา นี้ มีจริงหรือไม่ ? ซึ่งมีความเห็นอยู่ ๓ มติ ดังนี้

๑. กาลเวลา เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เป็นสิ่งนิรันดร สรรพสิ่งเกิดขึ้นในกาลเวลา

๒. กาลเวลา มิใช่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งสมมุติขึ้นเท่านั้น

๓. กาลเวลา มี ๒ นัย คือ กาลเวลาจริงแท้ และกาลเวลาสมมุติ 

คำสำคัญ (Tags): #กาลเวลา
หมายเลขบันทึก: 71110เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2007 01:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2013 08:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลึกซึ้งอย่างยิ่ง

เพิ่งทราบความหมายก็ในวันนี้เอง

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท