อนุทินล่าสุด


ดร. อัครเดช ตู่ กลิ่นพิบูลย์
เขียนเมื่อ

การจัดการความรู้ขั้นสูงระยะที่ 2 วันที่ 25-26 เมษายน 2556

โดย วิทยากร พรเทพ จรัสศรี ผู้จัดการ Corporate IT strategy Corporate IT and Business  Continuing Management Office บริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน)

 

การจัดการความรู้คืออะไร ง่าย ๆ คือการบริหารจัดการกับทรัพยากรมนุษย์ จัดสรรบุคลกรให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นั่นคืดสุดยอดของการจัดการความรู้ 

ต้องทำให้คนเกิดการนำเอาความรู้มาใช้ มาพัฒนาสินค้า/บริการ

ประเภทของการจัดการความรู้

1.  การจัดการความรู้ขององค์กร

2.  การจัดการความรู้ส่วนบุคคล

การจัดการความรู้ในองค์กรมีจุดประสงค์เพื่อนำเอาความฉลาดของคนในองค์กรมาเป็นข้อได้เปรียบในการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จในทุกๆด้านขณะเดียวกันคนในองค์กรก็มีความสุข. คนสำราญ งานสำเร็จ (ว.วชิรเมธี)

คนฉลาดคือคนที่รู้ว่าตัวเองโง่ไม่รู้อะไรเลย พยายามพัฒนาตัวเองเพื่อให้รู้ในสิ่งนั้นและสามารถนำมาสร้างประโยชน์ได้ด้วย


กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับKM


Action plan ที่ควรเปลี่ยนใหม่คือไม่ระบุคนรับผิดชอบแต่ต้องระบุว่างานนี้คนควรจะมีความรู้อะไร ต้องใช้ความรู้อะไรในการทำงานก่อน

สุดยอดของการคิดคือการไม่ต้องคิดใหม่แต่ใช้วิธีการคิดต่อยอดจากของเดิมที่ดีอยู่แล้ว(intellectual management : IP)

การจัดการความรู้ส่วนบุคคล จุดประสงค์ให้แต่ละบุคคลใช้ชีวิตตามlife style ของตัวเองอย่างมีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม

การสำรวจตัวเอง


ช่องที 1 เรารู้อะไรบ้าง

ช่องที่ 2 เราไม่รู้อะไร เราอยากมีความรู้อะไร

ช่องที่ 3 เราไม่รู้ว่าเรารู้อะไร ส่ิงที่เราเคยรู้แต่อาจลืมไปแช่องทาง

ช่่่องที่ 4 เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไร ไม่รู้เลยว่าเราโง่อะไร

ตัวอย่าง



อุปนิสัยของคน 7 อย่าง

1. Proactive  ไม่ยอมให้อิทธิพลภายนอกเข้ามาควบคุมการตอบสนองของเขา โดยการหยุดและคิดเพื่อให้ตัวเองมีอิสรภาพในการเลือกตอบสนองตามหลักการและผลลัพธ์ที่ปรารถนา เมื่อใช้ช่องว่างในการเลือก

2.

3. Put first things first. ทำสิ่งที่สำคัญก่อน

การทำ knowledge mapping

การ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. อัครเดช ตู่ กลิ่นพิบูลย์
เขียนเมื่อ



วันที่ 18 มีนาคม 2556 วันนี้ออกนิเทศงานสุขภาพจิตชุมชนที่จังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมทีมพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชโดยมีพี่วาสนา เหล่าคงธรรมเป็นประธานทีม เป็นครั้งแรกที่ได้ออกนิเทศงานชุมชนในรอบ 29 ปี

นำเสนอผลงานโดย


1. โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ผลงานที่ผ่านระดับ2 คือด้านบุคลากรที่มีความพร้อมมีทั้งพยาบาลPG พยาบาลป.โทและพยาบาลAPN ชุมชน พยาบาลที่ผ่านการอบรมMCATTและร่วมเป็นคณะกรรมการMCATT ระดับอำเภอ และระบบยา ที่มีเกณฑ์ประเมินADR ทางจิตเวช รายงานทั้งความภาคภูมิใจ แผนการดำเนินงานปี 2556 ขอให้ประสบความสำเร็จด้วยดี


2. โีรงพยาบาลปทุมราชวงศา  โดยคุณพิมพา หวังผล เป็น รพ.  30 เตียง ประชากร 48000 คน   จุดอ่อนไม่มีพยาบาลจิตเวชเด็ก แพทย์หมุนเวียนบ่อย ประชาชนเข้าถึงบริการจิตเวชน้อยเนื่องจากความเชื่อ มีผู้ป่วยโรคจิต 656.11ต่อแสนประชากร ซึมเศร้า 112 คน อัตรา233 ต่อแสนประชากร ด้านบุคลากรผ่านระดับ 1 มีบุคลากรปฏิบัติงาน3คน พยาบาลผ่านการอบรมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นหลักสูตร 3-5 วัน. ด้านสถานที่ผ่านระดับ 1 มีแผนดำเนิการก่อสร้างห้องปฏิบัติงานที่ลับหูแต่ไม่ลับตา ด้านระบบบริการมีตารางปฏิบัติงานรายสัปดาห์ ด้านขีดความสามารถระบบบรืการสามารถวจวินิจฉัยได้มีระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงทางคลินิกที่สำคัญ การทบทวนการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่สำคัญ มีระบการดูแลทางสังคมจิตใจ บูรณาการเข้าไปในงานประจำ คลินิกผู้สูงอายุ กิจกรรมร่วมกับผู้ป่วยHIV ในกิจกรรมคลายเครียดชีวิตนี้ยังมีหวัง งานส่งเสริมป้องกันด้านสุขภาพจิตในกลุ่มเสี่ยง ระบบยามีระบบควบคุมความเสี่ยง การส่งต่อแบบสองทางผ่านโทรศัพท์และเอกสาร และการใช้ข้อมูลร่วมกันในการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน มีการวางแผนติดตามเยี่ยมร่วมกับรพ.สต.  มีระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวช มีการเยี่ยมบ้านร่วมกับสหวิชาชีพ การแยกประเภทในการเยี่ยมแบบเร่งด่วน การประสานงานกับเครือข่ายนอกระบบสาธารณสุข และมีแผนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่

3. โรงพยาบาลหัวตะพาน ผลการประเมินบุคลากรอยู่ระดับ 2 อสม.สามารถค้นหาผู้ป่วยจิตเวชได้ สิ่งที่ขาดกุมารแพทย พยาบาลPG เด็ก. ด้านสถานที่ ระดับ1 มีคลินิกที่ได้มาตรฐาน ทั้งให้คำปรึกษาและคลินิกจิตเวช สถานที่ลับหูแต่ไม่ลับตา. ระบบบริการระดับ 1 มีการตรวจวินิจฉัยมีพยาบาลคัดกรองและกระตุ้นพฒนากา ประเมิน IQ. คลนิกมิตรแท้วัยทีน 


3. รพ.สต. นาผาง ผลการประเมินอยู่ในระดับ 2 การดูแลทางสังคมและจิตใจ อยู่ในระดับ 3 การส่งเสริมป้องกัน ระดับ 3 การส่งต่อระดับ 2 มีปัญหารเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อน การตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาระดับ 3 ยังต้องพัฒนาการติดตามเยี่ยมทุกราย


4. โรงพยาบาลชานุมาน มีแพทย์ 1:18056 พยาบาลวิชาชีพ1:821 การประเมิน 5 ด้าน ด้านบุคลากร ระดับ 2 ไม่มีแพทย์เฉพาะทางจิตเวช มีพยาบาล PG 2 คน พยาบาลผ่านการอบรม MCATT จัดตั้งคณะกรรมการ MCATT มีการซ้อมอุบัติเหตุและทีมจิตเวช สถานที่ระดับ1มีห้องที่เป็นสัดส่วน รวมทั้งคลินิกพัฒนาการเด็ก โอกาสพัฒนาคือการแยกออกจากันเป็นสัดส่วน. มีพยาบาลผ่านการอบรม ในเขตนี้มีปัญหาเรื่องตั้งครรภ์ไม่พร้อม อายุต่ำกว่า18 ปี ระบบบริการอยู่ในระดับ 1 มีระบบการเฝ้าระวังความเสี่ยงทางคลินิกโดยแยกตรวจที่ ER มีระบบดูแลผู้ป่วยก้าวร้าว ระบบรายงานความเสี่ยงโดยการประชุมของสหวิชาชีพ มีการทบทวนการดูแลผู้ป่วยยุ่งยากซับซ้อน (5ราย)  การวินิจฉัยแะหารบำบัดรักษา ระดับ 1 มีพยาบาล PG 1 คน การดูแลทางสังคมจิตใจ ระดับ 1มีระบบการดูแลให้คำปรึกษาผู้ป่วยใน WARD. ผู้ป่วยเรื้อรัง ซึมเศร้า มีการประเมินความเครียดให้คำปรึกษาหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด มีการประเมินพัฒนาการในเด็กทุกราย การให้คำปรึกษาเรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โอกาสพัฒนาคือการเพิ่ม PG จิตเวชเด็กและวัยรุ่น การส้่งเสริมป้องกันสุขภาพจิต ระดับ1 มีการประเมินความเครียดและซึมเศร้า การตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ ประเมินความสุขและความเครียดบุคลากรและประชาชนที่รับบริการ กรณีมีปัญหาส่งต่อพยาบาลจิตเวชทุกราย มีการประเมิน SDQ ในเด็ก ระบบยาระดับ 2 การส่งต่อในระดับ 2 ยังไม่ได้มาตรฐานเรื่องการส่งต่อไปรับการฉีดยาที่ รพ.สต.  การส่งต่อข้อมูล การติดตามดูแล ระดับ 1 มี อสม.เชี่ยวชาญดูแลผุู้ป่วยจิตเวช มีแผนอบรมเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ตรวจสอบการมารักษตามนัด ระบบการเยี่ยมบ้านพร้อมทีมสหวิชาชีพ


5. รพ.หัวตะพาน ด้านบุคลากรผ่านระดับ 2 ระบบบริการระดับ 2 การส่งต่อระดับ1การใช้ข้อมูลผู้ป่วยร่วมกัน. ด้านการติดตามดูแลระดับ1มีระบบฐานข้อมูลผู้ป่วย เครือข่ายการดูแลู้ป่วย การติดตามเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยโซ่ตรวน ปัจจัยสำเร็จผู้นำองค์กรเห็นความสำคัญของงาน สามารถประสานงานได้ ทำให้มีรูปแบบและระบบ สิ่งที่ต้องการจากโรงพยาบาลพระศรี ฯ คือสื่อวีซีดี เอกสารที่ส่งโดยตรงถึงพื้นที่ การอบรม Basic Counseling


6. รพ.พนา โดยคุณพยาบาล บุษบา ทองโพธ์ิศรี สถานการณ์ปี 2554 โรคจิต วิตกกังวล สารเสพติด  ปี2556 โรควิตกกังวลมาเป็นอันดับ 1 ความสามารถระบบบริการระดับที่1 การให้การดูแลทางสังคมจิตใจ ระดับ1มีผู้รับผิดชอบและนำเข้สสู่งานประจำ การส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตระดับที่1 โดยมีระบบงานส่งเสริมป้องกันทั้งผู้ป่วยจิตเวชและญาติรวมทั้งปรชาชนกลุ่มเสี่ยง ระบายระดับ 1 มีการติดตามประเมินผลการใช้ยา กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้ายยา เช่นการให้ความรู้. การส่งต่อ ระดับที่1 โดยการสื่อสารปัญหาและความต้องการเพื่อการใช้ข้อมูลในการดูแลร่วมกัน ด้านการติดตามดูแล อยู่ในระดับที่1 มีระบติดตามดูแล วิเคราะห์ปัญหา มีการแบ่งระดับเพื่อการติดตาม โอกาสพัฒนาการติดตามผู้ป่วยยุ่งยากซับซ้อน รวมทั้งการประสานกับเครือข่ายนอกระบบสาธารณสุข.  

        มาตรฐานระบบบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5. ปี ด้านบุคลากรอยู่ในระดับ2 สถานที่ ระดับ1มีบริการคลินิกเด็ก ความสามารถด้านการตรวจวินิจฉัย ระดับ1 การส่งเสริมพัฒนาการ ระดับที่2  การส่งเสริมป้องกัน ระดับที่ 2มีกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งปกติและกลุ่มเสี่ยง ระบบยา ระดับ 1 การส่งต่อระดับ 1 ด้านการติดตาม ระดับที่ 2 ยังมีปัญหาด้านเครือข่าย 

        MCATT. ได้รับการอบรม 2 คน นำมาขยายต่อและจัดอบรมการช่วยเหลือในภาวะวิกฤต. แนวทางแก้ไข เน้นงานเชิงรุก ขยายเครือข่าย นำเสนอผลงานเชิงประจักษ์ ปัจจัยสำเร็จ คือผู้บริหารทุกระดับเห็นความสำคัญ ทำให้มีรูแแบบที่ชัดเจน บุคลากรมีทักษะมีศักยภาพ สิ่งที่ต้องการการสนับสนุนสื่อ วีซีดี แผ่นพับ สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ได้รับการอบรม


7. รพ.เสนางคนิคมโดยพยาบาล APN สาวสวย เขษมสิริ กัลยบุตร สถิติผู้ป่วยโรคจิตเป็นอันดับ1 รองมาคือวิตกกังวล มีผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย 2 คน มีปัญหาฆ่าตัวตายเป็นอันดับ1 ของจังหวัด การดำเนินงานมีบุคลากร สถานที่ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน มีการฟื้นฟูผู้ป่วย โครงการเด่นคืออาสาสมัครดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน อัตราการป่วยซ้ำลดลง การเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยสำเร็จคืดการหาเครือข่ายร่วม ผลการประเมิน ด้านบุคลากร ระดับที่ 1 มีพยาบาล APN. PG. แพทย์จิตเวชชุมชน บุคลากรผ่านการอบรม MCATT ขีดความสามารถระดับที่1การดูแลจิตสังคม ระดับ1 ส่งเสริมป้องกัน ระดับ1 ระบบยา ระดับ 1 มีคู่มือการใช้ยา บันทึกการใช้ยการส่งต่อ ระดับ 1 การส่งต่อระดับ 1 ส่วนจิตเวชเด็ก บุคลากรอยู่ในระดับ 2 สถานที่ ระดับ 1 ขีดความสามารถระดับ 1 การส่งเสริมป้องกันระดับ2 ชุมชนยังไม่ได้ทำ ระบบยาระดับ1 มีระบบการติดตาการส่งต่อ ระดับที่1.   MCATT.  ยังรอจัดอบรม ผลลัพธ์ได้รับรางวัลมากมายเลยครับ


8. รพ.สต.หนองกุง ระบบการดูแลยังคงเป็นระดับ 2 แนวทางการพัฒนาบูรณาการสู่งานประจำ จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 


9. รพ.ลืออำนาจ. ด้านบุคลากรระดับ 1 มี PG จิตเวชเด็ก สถานทีระดับ1 มีคลินิกแยกเป็นสัดส่วน มีสถานที่ให้บริการผู้ป่วยใน มีการตรวจวินิจฉัยระดับ 1 สามารถวินิจฉัยได้ทั้ง10โรค ระบบการดูแลทางสังคมจิตใจ สามารถบูรณาการสู่งานปรัจำการส่งเสริมป้องกันยังอยู่ในระดับที่ 2 ระบบยาอยู่ในระดับ2 แต่มีการเฝ้าระวังADR. S/E. โอกาสพัฒนาโครงการปลอดโซ่ตรวนซึ่งทำมา 6 ปีแต่ยังไม่สำเร็จ 

ทีมผู้นิเทศ 

_ระบบยาอาจมีปัญหาบ้างอาจไม่มียาในระบบบ้างบางตัว จะต้องนำเข้าที่ประชุม

_ด้านจิตเวชเด็กรพ.พระศรีฯ พร้อมที่จะช่วยเหลือดูแล   สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับการส่งต่อผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินไม่มีข้อมูลในชุมชนว่าเป็นอย่างไรบ้างเพื่อการดูแลที่บ้าน การนัดติดตาม

_กุมารแพทย์ยังคงเป็นปัญหาสำหรับโรงพยาบาลในพื้นที่

_การให้คำปรึกษาทางจิตสังคมยังคงเป็นปัญหา รพ.พระศรีมีการอบรมกันเป็นระยะ สามารถส่งเข้าอบรมร่วมกันแต่น่าจะแยกกลุ่มอายุในการให้คำปรึกษา

_พื้นที่สามารถวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ของตนเองได้ดีมาก ด้านบุคลากรโดยเฉพาะแพทย์จะมีการอบรมเพื่อการวินิจฉัย ส่วนพยาบาลสุขภาพจิตไม่น่าเป็นห่วง เพราะมีความสามารถและการอบรมเยอะอยู่แล้ว การเข้าถึงบริการผู้ป่วยซึมเศร้่าประเด็นอยู่ที่แพทย์ไม่วินิจฉัย 

_ข้อเสนอแนะ ความเป็นไปได้ในการก้าวไปสู่มาตรฐาน เช่น กุมารแพทย์ 

_ทีมมาช่วยเหลือกระตุ้นเตือนให้เกิดการพัฒนา ด้านบุคลากรกุมารแพทย์ ยังเป็นปัญหารวมทั้งPG เด็ก ที่ีปัจจุบันPG รวมเด็กเข้าไปด้วย. ระบบยาไม่น่ามีปัญหา ส่ิงที่ขอฝาก งานบางอย่างไม่ได้รับรางวัล แต่เป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่ได้ทำ



ความเห็น (1)

รพ. ชุมชนทำงานเยอะมาก ขอให้กำลังใจนะคะ...

ดร. อัครเดช ตู่ กลิ่นพิบูลย์
เขียนเมื่อ

วันที่ 11 มีนาคม 2556 เมื่อวันศุกร์ที่แล้วได้รับหนังสือจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากธนาคารขอพบประธานสหกรณ์แจ้งเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์ ซึ่งทำสัญญากู้ไว้เอาละสิก็รับทราบมาตลอดทั้งจากคณะกรรมการชุดที่แล้วและจากการประชุมใหญ่สามัญและในวันที่มีการเลี้ยงขอบคุณลูกหนี้ (ยังดีนะที่เขาเลี้ยงลูกหนี้) คณะผู้บริหารธนาคารจะพูดเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าดีใจที่สหกรณ์ทำสัญญากู้และได้สิทธิดอกเบี้ยคงที่3.50 ถึง 5 ปี คณะกรรมการสหกรณ์ก็ดีใจว่าทำสัญญากู้ยืมได้ในอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นระยะเวลา 5 ปี จนถึงปี 2558 ได้ยินสองหูเลยนี่ยังไม่หมดสัญญาเลยเพิ่งปี 2556 แต่ธนาคารแจ้งมาแล้วว่าจะปรับขึ้นจากที่ทำสัญญาไว้ 3.50 บาทเป็น 4.50 บาท พ่อทูนหัวจะขึ้นที่เดียว 1 บาท ทำให้ประธานสหกรณ์ปวดศีรษะขึ้นมาทันที ต้องกลับไปค้นดูสัญญาที่คณะกรรมการชุดก่อนลงนามทำสัญญาไว้ก็พบช้อความในวรรคที่ต่อจากการคิดอัตราดอกเบี้ยสรุปได้ว่าธนาคารจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไรก็ได้เท่าไรก็ได้ไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น สัญญาลมปากหรือจะสู้สัญญาที่อยู่ในกระดาษ เป็นหลักฐานที่ชัดเจนแน่นอนบิดพริ้วมิได้เลย ทางแก้ก็คือขอความเห็นใจ ขอความอนุเคราะห์จากทางธนาคารได้โปรดเมตตาปราณีเถอะครับท่านเราไม่อยากขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้เอากับสมาชิกสหกรณ์เท่านี้ก็จะแย่กันอยู่แล้ว ไม่มีใครอยากเป็นหนี้หรอกครับถ้าไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวต



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. อัครเดช ตู่ กลิ่นพิบูลย์
เขียนเมื่อ

วันที่ 5 มีนาคม 2556 วันนี้ทำ MOU ให้สำนักบริหารการพยาบาลเสร็จเรียบร้อยเป็นเรื่องแปลกแต่จริงไม่รู้ว่าจะมีที่ไหนในโลกนี้ไหม ตัวชี้วัดของหน่วยงานเสร็จประมาณปลายกุมภาพันธ์ ต้นเดือนมีนาคม จัดทำบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงาน มีตัวชี้วัดกำกับใครได้รับตัวชี้วัดอะไบ้างแจกแจงมา ส่งไม่เกินวันที่ 5 มีนาคม 2556 อีก 26 วันหมดเวลาของช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณซึ่งจะต้องประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาเลื่อนเงินเดือน แสดงว่าที่ทำงานผ่านมาหลายเดือนก็ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของงานที่แท้จริงออกแบบตัวชี้วัดที่เห็นว่าบรรลุแล้วก็ได้ เพราะมันผ่านไปแล้วข้อมูลอะไรที่เห็นว่าจะทำให้ตัวชี้วัดไม่บรรลุก็ไม่ต้องเก็บ หรือเลี่ยงไปใช้ตัวชี้วัดอื่นได้ นอกเหนือจากที่มันเห็นอยู่เต็มตา เช่น เสียชีวิต หลบหนี แม้แต่หลบหนีก็ยังเลี่ยงได้ หลบหนีสำเร็จก็ตามไปให้ญาติเซ็นรับกลับที่บ้าน จะมีประโยชน์อะไรนอกจากรายงานแบบปลอม ๆ จะทำไปทำไมให้เปลืองกระดาษ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. อัครเดช ตู่ กลิ่นพิบูลย์
เขียนเมื่อ

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 วันนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการสินเชื่อจากชุมนุมสหกรณ์ มาทำสัญญาถึงที่อุบล 9.00 น. ก็เซ็นสัญญากู้เงินมาให้บริการกับสมาชิกที่รอยคอยอีก 156 ชีวิตที่เข้าคิวรอ สัญญานี้เป็นจำนวน 65 ล้านบาท ในฐานะประธานสหกรณ์อะไรที่จะทำให้พี่น้องสมาชิกของเราได้ประโยชน์ผมทำเต็มที่ครับ ยังมีสมาชิกที่รอคอยความหวังอื่น ๆ อีก จะพยายามทำให้ได้ครับท่านให้โอกาสผมมารับใช้ท่าน ผมจะพยายามอย่างเต็มที่แม้จะมีอุปสรรคมากมาย และก็เคยถูกกระทำมาแล้วแต่จะไม่เข็ดครับผมชอบ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. อัครเดช ตู่ กลิ่นพิบูลย์
เขียนเมื่อ

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 วันนี้ธนาคารธนชาต โอนเงินเข้าบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ 15 ล้านเพื่อมาให้บริการกับสมาชิกที่เฝ้ารอคอยความหวังว่าจะได้ใช้จ่ายในครอบครัวด้วยความจำเป็น อย่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยนะครับพี่น้องเอาที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาครอบครัว การศึกษาทั้งของตนเองและลูกเมีย เป็นการลงทุนที่คุ้มค่านะครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. อัครเดช ตู่ กลิ่นพิบูลย์
เขียนเมื่อ

จากผู้ช่วยเหลือคนไข้โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาสู่ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง(APN)

1.  ชื่อ-สกุล    นายอัครเดช กลิ่นพิบูลย์    

ประวัติ

เกิดที่พระนครศรีอยุธยา อำเภอภาชี ตำบลระโสม หมู่ที่ 9 บ้านเลขที่ 6

     เกิดที่นี่แต่ไม่ได้โตที่นี่คงมีแต่ญาติทางแม่

จบชั้นประถมที่โรงเรียนวัดบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน 

จบชั้นมัธยมต้นที่อยุธยาวิทยาลัย ปี 2517-2519

จบมัธยมปลายที่วัดสระเกศ ปี 2521

  • เข้านิติศาสตร์รามคำแหงปี2522 เรียนได้สามปีไม่จบ อยากทำงานมีเงินเดือนใช้ได้ยินเขาประกาศรับสมัครเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาเลยไปสมัครสอบได้นึกว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการเขาให้เป็นผู้ช่วยเหลือคนไข้อยูตึกพิเศษราชสาทิส ทำงานวันแรกก็ปวดหัวอาเจียนเลยเพราะเขาให้ไปช่วยจับผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยไฟฟ้า เกิดมาก็ไม่เคยพบเคยเห็น อาเจียนจนหนีกลับบ้านไม่ทำงานแล้วแต่กลับมาก็คิดเสียดายเงินเดือนที่จะได้ก็กลับมาอีกเป็นอยู่อย่างนี้สามวันที่แอบหนีกลับบ้าน ทนทำอยู่ได้หนึ่งปีไปสอบเป็นเจ้าหน้าที่ปกครองที่สุพรรณบุรีได้ที่ 7 แต่บรรจุแค่3 คน อยู่ที่นี่ก็สนุกดีมีเพื่อนมากขึ้นแต่ก็กินเหล้ากันทุกวัน ปลายปีเขาประกาศรับสมัครสอบชิงทุนพยาบาลเทคนิค และให้สิทธิผู้ช่วยเหลือคนไข้สอบได้เป็นกรณีพิเศษก็ไปสมัครกะเขาบ้างคิดว่าถ้าสอบได้น่าจะเรียนจบเร็วดีได้บรรจุเข้าทำงานทันที วันสอบก็เมาค้างตั้งแต่เมื่อคืนจำได้ว่าทำข้อสอบคณิตศาสตร์ที่คิดว่าตอบถูกแน่ ๆนะข้อเดียวก็ผมจบสายศิลป์ภาษามา บ่ายก็ไม่อยากเข้าสอบเพราะคิดว่ายังไงก็ไม่ผ่านแน่นอน แต่ก็มีพี่พยาบาลที่ผมถือว่าเป็นผู้ให้ชีวิตใหม่ ให้ผมเป็นผมได้ในวันนี้คือ "พี่ชูศรี เกิดพงษ์บุญยโชติ". ให้เจ้าหน้าที่ไปตามขึ้นมาสอบให้ได้ปรากกฎว่าผมก็มาเพราะเกรงใจพี่ และก็โดนเทศนาพร้อมส่งสายตาดุอย่างที่ไม่เคยโดนมาก่อนผลสอบออกมาปรากฏว่าผมสอบได้เพียงคนเดียวในจำนวน 20 กว่าคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ สอบได้แล้วก็ไม่มีใครอยากค้ำประกันให้ ก็ไม่มีญาติพี่น้องที่ไหนในกรุงเทพ ฯ แล้วเขาก็คงจะเห็นว่าเสี่ยงน่าดูถ้าจะค้ำประกันให้ แต่คนที่มีดวง/หรือว่ามีเวรกรรมที่จะต้องมาเป็นพยาบาล พี่ใจดี "พี่ละเอียด รอดจันทร์" ก็กล้าเสี่ยง ถ้าไม่มีพี่สองคนนี้จะไม่มีพยาบาลที่ชื่ออัครเดช แน่นอน

ปี 2525 ได้เรียนที่วิทยาลัยพยาบาลศรีธัญญาจบปี 2527 แล้วบรรจุที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. อุบลราชธานี คิดตลอดเวลาว่าทำไมผู้ชายอกแปดศอกอย่างผม มีแต่ความก้าวร้าว ไม่ได้สุภาพอ่อนหวานเหมือนใครเขาต้องมาเป็นพยาบาลทำไมไม่ได้เป็นทหาร/หรือตำรวจขำตัวเองมาก ลงเรียนต่ออีกแต่ก็ไม่จบ มีอะไรให้เป็นไปต้องไปเรียนต่อเป็นพยาบาลวิชาชีพอีก ในปี 2532 จบมาก็ยังคิดเหมือนเดิมเลยขอโอนไปอยู่ศูนย์สุขภาพจิตเขต 7 เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารก็สนุกดีแต่คิดว่าไม่น่าจะรุ่งเลยกลับมาเอาซีเจ็ดพยาบาลวิชาชีพดีกว่า

ปี 2540 เรียนต่อรัฐประศาสนสาตรมหาบัณฑิต นิด้าจบในปี. 2542 เหตุผลที่เรียนเพราะวันหนึ่งไปทดสอบทางจิตวิทยาเรื่องIQ. ผลออกมาว่ามีสติปัญญาเรียนได้แค่ปริญญาตรีก็เลยต้องพิสูจน์จนได้จบได้ด้วย จบมาแล้วก็ยังเบื่อหน่ายเหมือนเดิม

ปี 2547 เลยขอไปเรียนต่อพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่นี่เขาว่าโหด หิน จบยากหนักหนา แต่ผมก็ได้ครูที่เป็นครูจริง ๆ ช่วยตบ ช่วยแต่ง ช่วยปั้นผมจนจบได้ในสองปีครึ่ง อีกคนหนึ่งในชีวิตที่ต้องจดจำครับ "รศ.ดร. สมพร รุ่งเรืองกลกิจ" 

ปี 2549 เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยจากการเลือกตั้งของพี่น้องชาวพยาบาล ถ้ารอให้เขาแต่งตั้งคงจะชาติหน้า เริ่มเป็นหัวหน้าหอจิตเวชชาย 1 ผู้ป่วยวิกฤติ ฉุกเฉิน 

ปี 2551-2552 เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวชชาย 2 ผู้ป่วยป่วยวิกฤติ ฉุกเฉินเหมือนกัน ก็เริ่มสงสัยแล้วว่าเราคงทำงานดีแน่เลยเขาเปลี่ยนจาก 1 เป็น 2 เพิ่มขึ้นนะ แต่ที่นี่ก็ได้รางวัลจากการปฏิบัติงานได้ไปเรียน ผู้บริหารสาธารณสุขระดับกลาง (ผบก 24) กำลังสอบสัมภาษณ์เป็น APN ก็ถูกย้าย กลางปีไปเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวชชาย 3 

ปี 2552 ได้รับเลือกให้เป็นประธานสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบล จำกัด ได้เรียนรู้พิษสงของการเป็นประธานสหกรณ์อย่างมากมาย มีคุณค่ามหาศาลต่อชีวิตข้าราชการที่ไม่มีอำนาจ มีแต่น้อง ๆ และเพื่อนฝูงที่สนับสนุน เป็นจุดเปลี่ยนชีวิตอย่างมาก

ปี 2552-2554 เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวชชาย 3 ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสุรา คนละเรื่องเลยแล้วเราจะทำอย่างไร จะดูแลอย่างไรจะบริหารอย่างไร ซ้ำยังมีลูกน้องในหน่วยถามซึ่ง ๆ หน้าเลยว่าพี่จะดูแล จะบริหาร จะนิเทศหนูยังไง เพราะหนูเป็น APN และเป็นข้าราชการผู้มีสมรรถนะสูง พี่ไม่ได้เป็น APN มึนไปหลายวัน ต้องลองแล้วหละ อยู่ที่นี่ครึ่งปีแรกอึดอัดมาก แต่ในที่สุดก็มีผลงานเด่นออกมาจนได้ และสามารถใช้สอบเป็น APN ได้สมใจในปี 2554

ปี 2555 ยังไม่ทันได้รับประทานวุฒิบัตร ถูกย้ายไปเป็นหัวหน้าหน่วยบำบัดรักษาด้วยไฟฟ้า โอว คนละเรื่องละราวกันเลยต้องเรียนรู้ใหม่หมดทุกอย่าง แต่คนอย่างเราอยู่ที่ไหนก็ไปเปลี่ยนเขาจนได้ มีวิธีปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยขณะรับการรักษาด้วยไฟฟ้าใหม่จนได้ สุดท้ายความเบื่อหน่ายของผมก็มากเกินจะอดทนขอเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ในปีนี้ มีคำสั่งอนุมัติแล้วในคำสั่งครั้งที่ 2 ของกรมสุขภาพจิตแต่มีทั้งพี่และเพื่อนหลายคนทัดทานไว้จนต้องสละสิทธิ์แม้จะเสียดายเงินเดือนใหม่ 50,000 บาทที่มหาวิทยาลัยราชธานี

ปี 2556 น่าจะหมดยุคของผมแล้วครับแต่ผมก็ยังได้รับเลือกเป็นประธานสหกรณ์ออมทรัพย์อีกครั้งต้องรอดูครับว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่น่าพิศวงอะไรอีก

2.  ตำแหน่งปัจจุบัน     พยาบาลวิชาชีพ ระดับ ชำนาญการ              ตำแหน่งเลขที่ 1927

     กลุ่มงาน/ฝ่าย       กลุ่มการพยาบาล       หน่วยงาน    โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

3.  ปฏิบัติราชการที่      โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์   กรมสุขภาพจิต    กระทรวงสาธารณสุข

4.  ดำรงตำแหน่งระดับปัจจุบัน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ระดับ ชำนาญการ เมื่อวันที่11 ธันวาคม 2551

    ดำรงตำแหน่งย้อนหลังไป 2 ระดับ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ระดับ 7 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2543

    ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ระดับ 6 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540

5.  ประวัติส่วนตัว

เกิดเมื่อวันที่  13   เดือน ธันวาคม   พ.ศ.   2504     (อายุ 50 ปี 9 เดือน) อายุราชการ   28   ปี   6 เดือน    

8.  ประวัติการศึกษา (ระดับอุดมศึกษา)

ปีที่สำเร็จการศึกษา         คุณวุฒิและวิชาเอก                                                    สถานที่ศึกษา

2526                 ประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์                     วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีศรีธัญญา

2534                 ประกาศนียบัตรการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นสูง     วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์

 2543                รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต                          สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 2550                พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาล        มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                         จิตเวชและสุขภาพจิต

 2554                วุฒิบัตรการพยาบาลขั้นสูง                                สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย

7.  ประวัติการรับราชการ

 วัน เดือน ปี                                ตำแหน่ง                         เงินเดือน                          สังกัด

2  เมษายน  2527                    พยาบาลเทคนิคระดับ 2.         2,205                  โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

24  เมษายน  2530                  พยาบาลเทคนิคระดับ 3.          2,765                 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

28  ตุลาคม  2534                   พยาบาลวิชาชีพระดับ 3.          4,750                 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

28  ตุลาคม  2534                   พยาบาลวิชาชีพระดับ 4.          5,020                 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

2  ตุลาคม  2538                     พยาบาลวิชาชีพระดับ 5.          9,560                 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

1  ตุลาคม  2540                     พยาบาลวิชาชีพระดับ 6 ว.      11,120                 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

1  ตุลาคม  2543                     พยาบาลวิชาชีพระดับ 7 วช.    13,680                 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

11 ธันวาคม  2551                  พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ.    28,260                 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

ถึงปัจจุบัน                               พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ      36,580                 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท