อนุทิน 121886


ดร. อัครเดช ตู่ กลิ่นพิบูลย์
เขียนเมื่อ



วันที่ 18 มีนาคม 2556 วันนี้ออกนิเทศงานสุขภาพจิตชุมชนที่จังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมทีมพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชโดยมีพี่วาสนา เหล่าคงธรรมเป็นประธานทีม เป็นครั้งแรกที่ได้ออกนิเทศงานชุมชนในรอบ 29 ปี

นำเสนอผลงานโดย


1. โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ผลงานที่ผ่านระดับ2 คือด้านบุคลากรที่มีความพร้อมมีทั้งพยาบาลPG พยาบาลป.โทและพยาบาลAPN ชุมชน พยาบาลที่ผ่านการอบรมMCATTและร่วมเป็นคณะกรรมการMCATT ระดับอำเภอ และระบบยา ที่มีเกณฑ์ประเมินADR ทางจิตเวช รายงานทั้งความภาคภูมิใจ แผนการดำเนินงานปี 2556 ขอให้ประสบความสำเร็จด้วยดี


2. โีรงพยาบาลปทุมราชวงศา  โดยคุณพิมพา หวังผล เป็น รพ.  30 เตียง ประชากร 48000 คน   จุดอ่อนไม่มีพยาบาลจิตเวชเด็ก แพทย์หมุนเวียนบ่อย ประชาชนเข้าถึงบริการจิตเวชน้อยเนื่องจากความเชื่อ มีผู้ป่วยโรคจิต 656.11ต่อแสนประชากร ซึมเศร้า 112 คน อัตรา233 ต่อแสนประชากร ด้านบุคลากรผ่านระดับ 1 มีบุคลากรปฏิบัติงาน3คน พยาบาลผ่านการอบรมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นหลักสูตร 3-5 วัน. ด้านสถานที่ผ่านระดับ 1 มีแผนดำเนิการก่อสร้างห้องปฏิบัติงานที่ลับหูแต่ไม่ลับตา ด้านระบบบริการมีตารางปฏิบัติงานรายสัปดาห์ ด้านขีดความสามารถระบบบรืการสามารถวจวินิจฉัยได้มีระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงทางคลินิกที่สำคัญ การทบทวนการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่สำคัญ มีระบการดูแลทางสังคมจิตใจ บูรณาการเข้าไปในงานประจำ คลินิกผู้สูงอายุ กิจกรรมร่วมกับผู้ป่วยHIV ในกิจกรรมคลายเครียดชีวิตนี้ยังมีหวัง งานส่งเสริมป้องกันด้านสุขภาพจิตในกลุ่มเสี่ยง ระบบยามีระบบควบคุมความเสี่ยง การส่งต่อแบบสองทางผ่านโทรศัพท์และเอกสาร และการใช้ข้อมูลร่วมกันในการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน มีการวางแผนติดตามเยี่ยมร่วมกับรพ.สต.  มีระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวช มีการเยี่ยมบ้านร่วมกับสหวิชาชีพ การแยกประเภทในการเยี่ยมแบบเร่งด่วน การประสานงานกับเครือข่ายนอกระบบสาธารณสุข และมีแผนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่

3. โรงพยาบาลหัวตะพาน ผลการประเมินบุคลากรอยู่ระดับ 2 อสม.สามารถค้นหาผู้ป่วยจิตเวชได้ สิ่งที่ขาดกุมารแพทย พยาบาลPG เด็ก. ด้านสถานที่ ระดับ1 มีคลินิกที่ได้มาตรฐาน ทั้งให้คำปรึกษาและคลินิกจิตเวช สถานที่ลับหูแต่ไม่ลับตา. ระบบบริการระดับ 1 มีการตรวจวินิจฉัยมีพยาบาลคัดกรองและกระตุ้นพฒนากา ประเมิน IQ. คลนิกมิตรแท้วัยทีน 


3. รพ.สต. นาผาง ผลการประเมินอยู่ในระดับ 2 การดูแลทางสังคมและจิตใจ อยู่ในระดับ 3 การส่งเสริมป้องกัน ระดับ 3 การส่งต่อระดับ 2 มีปัญหารเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อน การตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาระดับ 3 ยังต้องพัฒนาการติดตามเยี่ยมทุกราย


4. โรงพยาบาลชานุมาน มีแพทย์ 1:18056 พยาบาลวิชาชีพ1:821 การประเมิน 5 ด้าน ด้านบุคลากร ระดับ 2 ไม่มีแพทย์เฉพาะทางจิตเวช มีพยาบาล PG 2 คน พยาบาลผ่านการอบรม MCATT จัดตั้งคณะกรรมการ MCATT มีการซ้อมอุบัติเหตุและทีมจิตเวช สถานที่ระดับ1มีห้องที่เป็นสัดส่วน รวมทั้งคลินิกพัฒนาการเด็ก โอกาสพัฒนาคือการแยกออกจากันเป็นสัดส่วน. มีพยาบาลผ่านการอบรม ในเขตนี้มีปัญหาเรื่องตั้งครรภ์ไม่พร้อม อายุต่ำกว่า18 ปี ระบบบริการอยู่ในระดับ 1 มีระบบการเฝ้าระวังความเสี่ยงทางคลินิกโดยแยกตรวจที่ ER มีระบบดูแลผู้ป่วยก้าวร้าว ระบบรายงานความเสี่ยงโดยการประชุมของสหวิชาชีพ มีการทบทวนการดูแลผู้ป่วยยุ่งยากซับซ้อน (5ราย)  การวินิจฉัยแะหารบำบัดรักษา ระดับ 1 มีพยาบาล PG 1 คน การดูแลทางสังคมจิตใจ ระดับ 1มีระบบการดูแลให้คำปรึกษาผู้ป่วยใน WARD. ผู้ป่วยเรื้อรัง ซึมเศร้า มีการประเมินความเครียดให้คำปรึกษาหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด มีการประเมินพัฒนาการในเด็กทุกราย การให้คำปรึกษาเรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โอกาสพัฒนาคือการเพิ่ม PG จิตเวชเด็กและวัยรุ่น การส้่งเสริมป้องกันสุขภาพจิต ระดับ1 มีการประเมินความเครียดและซึมเศร้า การตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ ประเมินความสุขและความเครียดบุคลากรและประชาชนที่รับบริการ กรณีมีปัญหาส่งต่อพยาบาลจิตเวชทุกราย มีการประเมิน SDQ ในเด็ก ระบบยาระดับ 2 การส่งต่อในระดับ 2 ยังไม่ได้มาตรฐานเรื่องการส่งต่อไปรับการฉีดยาที่ รพ.สต.  การส่งต่อข้อมูล การติดตามดูแล ระดับ 1 มี อสม.เชี่ยวชาญดูแลผุู้ป่วยจิตเวช มีแผนอบรมเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ตรวจสอบการมารักษตามนัด ระบบการเยี่ยมบ้านพร้อมทีมสหวิชาชีพ


5. รพ.หัวตะพาน ด้านบุคลากรผ่านระดับ 2 ระบบบริการระดับ 2 การส่งต่อระดับ1การใช้ข้อมูลผู้ป่วยร่วมกัน. ด้านการติดตามดูแลระดับ1มีระบบฐานข้อมูลผู้ป่วย เครือข่ายการดูแลู้ป่วย การติดตามเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยโซ่ตรวน ปัจจัยสำเร็จผู้นำองค์กรเห็นความสำคัญของงาน สามารถประสานงานได้ ทำให้มีรูปแบบและระบบ สิ่งที่ต้องการจากโรงพยาบาลพระศรี ฯ คือสื่อวีซีดี เอกสารที่ส่งโดยตรงถึงพื้นที่ การอบรม Basic Counseling


6. รพ.พนา โดยคุณพยาบาล บุษบา ทองโพธ์ิศรี สถานการณ์ปี 2554 โรคจิต วิตกกังวล สารเสพติด  ปี2556 โรควิตกกังวลมาเป็นอันดับ 1 ความสามารถระบบบริการระดับที่1 การให้การดูแลทางสังคมจิตใจ ระดับ1มีผู้รับผิดชอบและนำเข้สสู่งานประจำ การส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตระดับที่1 โดยมีระบบงานส่งเสริมป้องกันทั้งผู้ป่วยจิตเวชและญาติรวมทั้งปรชาชนกลุ่มเสี่ยง ระบายระดับ 1 มีการติดตามประเมินผลการใช้ยา กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้ายยา เช่นการให้ความรู้. การส่งต่อ ระดับที่1 โดยการสื่อสารปัญหาและความต้องการเพื่อการใช้ข้อมูลในการดูแลร่วมกัน ด้านการติดตามดูแล อยู่ในระดับที่1 มีระบติดตามดูแล วิเคราะห์ปัญหา มีการแบ่งระดับเพื่อการติดตาม โอกาสพัฒนาการติดตามผู้ป่วยยุ่งยากซับซ้อน รวมทั้งการประสานกับเครือข่ายนอกระบบสาธารณสุข.  

        มาตรฐานระบบบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5. ปี ด้านบุคลากรอยู่ในระดับ2 สถานที่ ระดับ1มีบริการคลินิกเด็ก ความสามารถด้านการตรวจวินิจฉัย ระดับ1 การส่งเสริมพัฒนาการ ระดับที่2  การส่งเสริมป้องกัน ระดับที่ 2มีกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งปกติและกลุ่มเสี่ยง ระบบยา ระดับ 1 การส่งต่อระดับ 1 ด้านการติดตาม ระดับที่ 2 ยังมีปัญหาด้านเครือข่าย 

        MCATT. ได้รับการอบรม 2 คน นำมาขยายต่อและจัดอบรมการช่วยเหลือในภาวะวิกฤต. แนวทางแก้ไข เน้นงานเชิงรุก ขยายเครือข่าย นำเสนอผลงานเชิงประจักษ์ ปัจจัยสำเร็จ คือผู้บริหารทุกระดับเห็นความสำคัญ ทำให้มีรูแแบบที่ชัดเจน บุคลากรมีทักษะมีศักยภาพ สิ่งที่ต้องการการสนับสนุนสื่อ วีซีดี แผ่นพับ สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ได้รับการอบรม


7. รพ.เสนางคนิคมโดยพยาบาล APN สาวสวย เขษมสิริ กัลยบุตร สถิติผู้ป่วยโรคจิตเป็นอันดับ1 รองมาคือวิตกกังวล มีผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย 2 คน มีปัญหาฆ่าตัวตายเป็นอันดับ1 ของจังหวัด การดำเนินงานมีบุคลากร สถานที่ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน มีการฟื้นฟูผู้ป่วย โครงการเด่นคืออาสาสมัครดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน อัตราการป่วยซ้ำลดลง การเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยสำเร็จคืดการหาเครือข่ายร่วม ผลการประเมิน ด้านบุคลากร ระดับที่ 1 มีพยาบาล APN. PG. แพทย์จิตเวชชุมชน บุคลากรผ่านการอบรม MCATT ขีดความสามารถระดับที่1การดูแลจิตสังคม ระดับ1 ส่งเสริมป้องกัน ระดับ1 ระบบยา ระดับ 1 มีคู่มือการใช้ยา บันทึกการใช้ยการส่งต่อ ระดับ 1 การส่งต่อระดับ 1 ส่วนจิตเวชเด็ก บุคลากรอยู่ในระดับ 2 สถานที่ ระดับ 1 ขีดความสามารถระดับ 1 การส่งเสริมป้องกันระดับ2 ชุมชนยังไม่ได้ทำ ระบบยาระดับ1 มีระบบการติดตาการส่งต่อ ระดับที่1.   MCATT.  ยังรอจัดอบรม ผลลัพธ์ได้รับรางวัลมากมายเลยครับ


8. รพ.สต.หนองกุง ระบบการดูแลยังคงเป็นระดับ 2 แนวทางการพัฒนาบูรณาการสู่งานประจำ จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 


9. รพ.ลืออำนาจ. ด้านบุคลากรระดับ 1 มี PG จิตเวชเด็ก สถานทีระดับ1 มีคลินิกแยกเป็นสัดส่วน มีสถานที่ให้บริการผู้ป่วยใน มีการตรวจวินิจฉัยระดับ 1 สามารถวินิจฉัยได้ทั้ง10โรค ระบบการดูแลทางสังคมจิตใจ สามารถบูรณาการสู่งานปรัจำการส่งเสริมป้องกันยังอยู่ในระดับที่ 2 ระบบยาอยู่ในระดับ2 แต่มีการเฝ้าระวังADR. S/E. โอกาสพัฒนาโครงการปลอดโซ่ตรวนซึ่งทำมา 6 ปีแต่ยังไม่สำเร็จ 

ทีมผู้นิเทศ 

_ระบบยาอาจมีปัญหาบ้างอาจไม่มียาในระบบบ้างบางตัว จะต้องนำเข้าที่ประชุม

_ด้านจิตเวชเด็กรพ.พระศรีฯ พร้อมที่จะช่วยเหลือดูแล   สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับการส่งต่อผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินไม่มีข้อมูลในชุมชนว่าเป็นอย่างไรบ้างเพื่อการดูแลที่บ้าน การนัดติดตาม

_กุมารแพทย์ยังคงเป็นปัญหาสำหรับโรงพยาบาลในพื้นที่

_การให้คำปรึกษาทางจิตสังคมยังคงเป็นปัญหา รพ.พระศรีมีการอบรมกันเป็นระยะ สามารถส่งเข้าอบรมร่วมกันแต่น่าจะแยกกลุ่มอายุในการให้คำปรึกษา

_พื้นที่สามารถวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ของตนเองได้ดีมาก ด้านบุคลากรโดยเฉพาะแพทย์จะมีการอบรมเพื่อการวินิจฉัย ส่วนพยาบาลสุขภาพจิตไม่น่าเป็นห่วง เพราะมีความสามารถและการอบรมเยอะอยู่แล้ว การเข้าถึงบริการผู้ป่วยซึมเศร้่าประเด็นอยู่ที่แพทย์ไม่วินิจฉัย 

_ข้อเสนอแนะ ความเป็นไปได้ในการก้าวไปสู่มาตรฐาน เช่น กุมารแพทย์ 

_ทีมมาช่วยเหลือกระตุ้นเตือนให้เกิดการพัฒนา ด้านบุคลากรกุมารแพทย์ ยังเป็นปัญหารวมทั้งPG เด็ก ที่ีปัจจุบันPG รวมเด็กเข้าไปด้วย. ระบบยาไม่น่ามีปัญหา ส่ิงที่ขอฝาก งานบางอย่างไม่ได้รับรางวัล แต่เป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่ได้ทำ



ความเห็น (1)

รพ. ชุมชนทำงานเยอะมาก ขอให้กำลังใจนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท