มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

อนุทินล่าสุด


มัทนา
เขียนเมื่อ

เปิดเมลของมหาวิทยาลัย เจอเรื่องเดิมๆที่ไม่มีข้อตกลงกันซักที นักศึกษาป.เอกกลุ่มหนึ่งต้องการเปลี่ยนชื่อปริญญาให้มันเข้ากับงานของเขา [ตอนนี้ปริญญาที่เราจะได้ชื่อ PhD in Dental Sciences] เพื่อนๆที่ทำวิจัยทาง molecularเค้าทำทั้งเรื่องยีนที่เกี่ยวกับปากแหว่งเพดานโหว่มั่ง เรื่องเซลล์ส่วนอื่นที่ไม่ใช่แค่ฟันมั่ง แล้วก็ไม่ได้มีแต่หมอฟันมาเรียนเอกที่คณะนี้ มีนักวิทยาศาสตร์ มีวิศวกร (ทำเรื่อง material) ด้วย

ส่วนมากคนเห็นตรงกันว่าให้แยกเป็น 2 degree ตามภาควิชา เพราะที่คณะมี 2 ภาคคือให้เปลี่ยนชื่อเป็น PhD in oral biomedical sciences กับ PhD in oral health sciences หรือไม่ก็รวมกันเป็น PhD in biomedical and oral health sciences

แต่วันนี้มีคุณ JK เขียนเมลส่งหาทุกคนว่า เค้ารับไม่ได้ที่ใช้คำว่า oral แทน dental เพราะว่าไม่มีคนนอกวงการเค้ารู้หรอกว่า oral หมายถึงอะไร ชื่อคณะก็ชื่อ dentistry  แต่แล้วเธอก็เขียนค้านกับตัวเองว่างานของพวกเรามันมากไปกว่าซี่ฟัน  ชื่อปริญญาควรทำให้คนอ่านทราบประเด็นนั้น เธออยากให้เปลี่ยนชื่อปริญญาเป็น biomedical and dental sciences ....ตึง!

อยากจะตอบสวนไปมากแต่ก็ตัดสินใจขอคิดดูก่อน ว่าหรือเราควรเห็นตามเค้า ขอเรียบเรียงหาข้อมูลอ้างอิง ว่าทำไมคนทั้งโลกถึงพยายาม advocate คำว่า oral health แทนคำว่า dental

จริงๆเราไม่ค่อยซีเรียสกับเรื่อง label เท่าไหร่ แต่สงสััยว่าทำไมเค้าถึงมีความรู้สึกรุนแรงขนาดนี้ อารมณ์การเขียนเมลเค้านี่ทำให้เราไม่อยากคุยกับเค้าเลย

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

@นักวิ่ง(อีกครั้ง): เอาสถิติการวิ่งซันรัน 10Kตามกลุ่มอายุมาให้ดูเป็นกำลังใจค่ะ(วิ่งกันไปสดๆร้อนวันนี้เอง)

ผู้ชายอายุ 90+ มี 1 ท่าน วิ่งใช้เวลา 1:56:31

ผู้หญิงอายุ 90+ มี 2 ท่าน วิ่งใช้เวลา 2:00:31 กับ 2:15:25

ลองเลือกดูสถิติตามกลุ่มอายุที่สนใจได้ที่นี่ค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

@นักวิ่งทั้งหลาย: เห็นมีคนวิ่งกันหลายคน มัทเคยไปวิ่ง 10K มาเมื่อปีที่แล้ว มีตารางการฝึกอยู่ เลยอยากเอามาฝากกันค่ะ แถมท่า stretch ให้ด้วยค่ะ ตารางนี้ใช้ได้ผลดีค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

ลองทำซุปหน่อไม้เป็นครั้งแรกเพราะเจอหน่อไม้กระป๋องที่แช่น้ำใบย่านางแล้ว (ร้าน Asia Market ขายอยู่ $1.99 ต่อกระป๋อง 546mL) ค่อยหายคิดถึงหน่อย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

@Little Jazz \(^o^)/ อนุทิน 1183: ขอโทษที่ตอบช้านะคะ เพิ่งตื่น ขอบคุณมากๆสำหรับชุดภาพค่ะ ชื่นมื่นกันจริงๆ ดูแล้วก็เข้าใจค่ะว่าทำไมต้องออกมาเป็นแบบนี้ แต่ก็อดสงสารคนถือธงธิเบตแรงน้อยไม่ได้ ในใจเค้าคงช้ำและร้าว...เต็มไปด้วยความสงสัยในความ(อ)ยุติธรรมในโลก...ความหวังเค้าคงหรี่เมื่อเห็นสีแดงแรงฤทธิ์เต็มไปหมด

ข่าวออกภาพงานบนเวทีกับภาพคนวิ่งพอเป็นพิธี เพราะเวลานำเสนอจำกัดมากกว่าค่ะ คนแคนาดา ไม่กลัวเรื่อง "มันไม่น่าดู" เท่าไหร่ค่ะ เพราะเมืองไทยเคยโดนทำข่าวมาจนเละไปหลายทีแล้ว แต่งานนี้เค้าเน้นภาพบรรยากาศโดยรวม เค้าไม่สนว่าใครวิ่ง แต่เค้าสนใจดูกองสนับสนุน กับ กองประท้วงของแต่ละประเทศ แล้วของเรานี่ภาพมันออกมาชัดมากว่า pro-China มากค่ะ แค่นี้ก็ดูไม่ดีเท่าไหร่ ในสายตาของคนแคนาดาที่ liberal แล้วอ่ะค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

เมื่อคืนนั่งทำงานถึงตี 2 ครึ่ง ยังเขียนไม่เสร็จเลย

เช้่านี้ตื่น "9:09" เราว่าเราไม่เชื่อโชคลางมาก แต่เห็นเลขปุ๊บก็ เด้งลุกมาจากเตียงเลย เฮอะๆ ขำตัวเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

@อ. ธวัชชัย: โดนค่ะโดน : )

 

@ท่านConductor: เรื่องที่ทางนี้เค้าตั้งคำถามกันมากคือ มันสมควรหรือไม่ที่ทั้งโลกจะคง"ปล่อย"ให้เด็กคนหนึ่งที่โดนจับไป 13 ปีแล้ว (คือถึงเด็กคนนั้นไม่ใช่ Panchen Lama ก็เถอะ) ให้หายไปเฉยๆ อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ (คนที่รู้เค้าไม่ยอมบอก) วันที่ 25 เม.ย. นี้ Panchen Lama องค์นี้ก็จะอายุ 19 ปีแล้ว

@Little Jazz \(^o^)/: ภาพข่าวทางนี้เป็นงานบนเวทีก่อน เห็นนักการเมืองยิ้มแป้นเต็มเวที ได้พลัดกันถือคบเพลิง แล้วก็มีภาพตอนวิ่ง เป็นคุณคริส กับ ท่านสุเมธ ก็ดูดีนะคะ ไม่มีภาพท่านอื่นที่วิ่ง แล้วก็มีภาพคนถือธงจีนเต็มไปหมด มีภาพคนประท้วงนิดหน่อย แต่สงบดี มีตำรวจเต็ม บรรยากาศโดยรวม ถ้าให้บรรยายเองสั้นๆก็คือ "ราบรื่นชื่นมื่น" ค่ะ (เมื่อเทียบกับภาพข่าวการวิ่งที่ประเทศอื่น)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

Attn: คุณ Conductor@อนุทิน1158

ขอบคุณสำหรับ link ค่ะ เห็นด้วยอย่างแรงเรื่องความจริงที่ขึ้นกับมุมมองของคนนำเสนอ และอำนาจของคนที่มีพื้นที่เสนอข้อมูล

แคนาดา pro-Tibet มากๆอยู่แล้วค่ะ

แต่ขอแก้นิดค่ะ อนุทินนั้นมัทเขียนไม่ชัดเองค่ะ ข่าวทีวีช่อง CTV ก็ออกว่ามี"ประท้วง"ที่เมืองไทยค่ะ แต่รักษาความปลอดภัยแน่นมาก  และคนประท้วงไม่มากเท่าและไม่มี"จลาจล"เหมือนที่อื่น โดยเฉพาะที่ ลอนดอน, ปารีส, ซานฟราน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

ทีวีออกข่าวเมื่อกี้ว่าวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกถึงเมืองไทยแล้ว  ราบรื่นชื่นมื่น ไม่ยุ่งเหยิงเหมือนที่อื่น นักข่าวแคนาดาทำข่าวแล้วได้อารมณ์สื่ิออ้อมๆประมาณว่า เอ....ทำไมไม่ค่อยประท้วง แต่ข่าวไม่ได้พูดถึง ม.ร.ว. นริศรา จักรพงษ์ ประธานมูลนิธิโลกสีเขียว ที่ท่านประกาศถอนตัวไม่เป็นตัวแทนวิ่งคบเพลิงเป็นคนแรกของโลก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

Bookmark: Open Source Living

http://osliving.com/

Open Source Living is a dynamic archive of Open Source software (OSS) spanning all major platforms, inclusive of small to large scale projects. It aims to introduce and inform new users about viable OSS alternatives to corporate, closed source software.

Tags:



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

จากการช่วย JD ทำ PPT slide: สังเกตพบว่านักศึกษาป.เอกหลายคนแล้วที่มี thoretical framework ใน thesis เพราะอ.บอกว่าต้องมี แต่ว่าไม่สามารถเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่าง theoretical frameworkกับ empirical evidence ได้เลย คือมีบทที่เกี่ยวกับ theoretical framework โผล่มาเฉยๆ แล้วก็แค่นั้น โดดๆ ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมันเลย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

ช่วย JD ทำ PPT slide. Macbook รุ่นใหม่มี features เยอะกว่าของเราเยอะเลย ถูกกว่าตั้ง $400 ... นี่หนอ อนิจจัง

(แต่ของเค้าไม่มี remote)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

เย็นวันเสาร์ที่ 190408 | ทานข้าวเห็นบ้านพี่ทิพย์ ได้คุยกับน้องๆทั้ง 5 คนเรื่องการเขียน proposal ป. เอกของน้องๆ

สิ่งที่ทุกคนที่จะทำงานวิจัยเชิงคุณภาพต้อง "break through" คิดให้ทะลุให้ได้คือ จุดยืนเรื่องโลกทรรศน์ของตัวเอง ทุกคนเคยงงมาก่อน เพราะตำราเป็นปรัชญาฝรั่ง มีหลายค่าย การใช้ศัพท์ของตำราแต่ละเล่มก็ไม่เหมือนกัน เราบอกน้องๆว่า เรื่อง label ว่าเราเป็น positivist, critical theorist, หรือ post-modernist มันไม่สำคัญเท่าการเขียน method เขียน design งานวิจัยให้ละเอียด จุดสำคัญคือการที่เราต้องให้คนอ่านงานเรารู้ว่าเราเห็นว่าเราทำให้งานเรามี credibility & rigor อย่างไร เราเข้าใจเรื่อง objectivity ว่าอย่างไรในการทำงาน เราจะใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเราอย่างไร

ตกลงกันไว้ว่าจะนัดทานข้าวคุยให้ละเอียด ใครมีอะไรถามได้ เพราะเราก็อยาก แม่น อยากเอาความรู้กลับไปสอนได้แบบที่เราเองก็ต้องแน่ใจว่าเราไม่งง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

อ่านอนุทินของอ. จันทวรรณ ทำให้ได้รู้จักกับ COLOURlovers™ อีกครั้ง

(เคยเห็นใน del.icio.us/popular มาก่อนแต่ลืมไปสนิทเลย)

ดีจังมี palettes กับ patterns สวยๆเต็มไปหมด

ไอ้เราก็จับชุดสีเองโดยใช้ CSS Color Chart มาตั้งนาน

ขอบคุณอ.จันทวรรณมากๆค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

5 ทุ่มวันศุกร์ที่ 180408 |  หิมะตก!

ต้นไม้ที่ออกดอกแตกใบคงงงกันหมดแล้ว

http://photos-e.ak.facebook.com/photos-ak-sf2p/v237/193/106/728270582/n728270582_749420_2458.jpg http://photos-c.ak.facebook.com/photos-ak-sf2p/v237/193/106/728270582/n728270582_749418_1943.jpg



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

อยากทำ social business ให้ผู้สูงอายุและคนพิการ อ่านเรื่องบริษัท Grameen-Danone แล้วยิ่งอยากทำ 

  • รถบริการแบบ handydart
  • dentist-next-door แบบ nurse-next-door แบบครบวงจร health promotion ด้วยไม่ใช่แค่รักษา
  • ห้องสมุดสาธารณะครบวงจร

ผู้ใช้บริการจ่ายน้อยมากหรือไม่ต้องจ่ายเลย investors ได้เงินที่ลงทุนมากลับไปจนครบแล้วก็ไม่เอากำไรต่อ กำไรจึงวนเอามาใช้ทำให้บริการที่ดีขึ้นแต่ราคาถูกลง บริษัท sustain กว่ารับบริจาคอย่างเดียว ลูกจ้างก็มีงานมีเงินเดือน บริษัทขยายตัวดูแลตัวเองได้

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

พบแล้วศิลปินในดวงใจคนล่าสุด Shannon Craig (อายุเท่าๆเราเอง) ชอบงานเขียนของเค้ามากๆ brush stroke เป็นไปทางเดียวกับลม เหมือนเค้ามองเห็นสิ่งที่มองเห็นได้ยาก

http://www.primegallery.ca/dynamic/images/display/Shannon_Craig_Otter_Lake_2102_94.jpg http://www.primegallery.ca/dynamic/images/display/Shannon_Craig_Georgian_Bay_Rocks_1743_94.jpg

http://www.primegallery.ca/dynamic/images/display/Shannon_Craig_Experimental_Farm_2105_94.jpg

[www.primegallery.ca]



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

180408 | meeting w/ MM

  • อาจต้องเปลี่ยน title thesis ให้ชื่อมันสื่อตรงกับผลงานมากกว่านี้
  • พยายามหา acronym ให้ model ที่คิดมาให้จำง่ายดึงดูดคน เพราะคิดว่า PRECEDE/PROCEED ดังได้ เพราะนอกจากเนื้อหาดีแล้ว ชื่อยังสื่อและจำง่าย
  • เตรียมตอบตอน defend  "what's next?"
  • MM อยากให้เอา model ไป refine ต่อที่เมืองไทย (นอกเหนือจากเอาไป apply)
  • MM อยากเห็นว่าในที่สุดจะมีหนังสือคล้ายๆที่ Green & Kreuter เขียนว่า P/P สร้างมาอย่างไร แล้วใช้ใน context ต่างๆกันได้อย่างไร (เหมือนหนังสือ health program planning)


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

บันทึกกันลืม

ว่างๆเมื่อไหร่จะเปิดบล็อกใหม่ รวมข้อมูลที่น่าจะมีประโยชน์ต่อ นักท่องเที่ยว นักเรียน แล้วก็คนที่สนใจเป็น permanent resident (PR) หรือ จะมาทำงานที่แวนคูเวอร์

เช่นจะ ร้าน supermarket ของไทยๆมีที่ไหน ที่ไหนมีอะไรถูก มีที่เที่ยวที่ไหน จะพาแขกไปเที่ยวที่ไหนได้บ้าง มีกิจกรรมอะไรบ้าง สายรถเมล์ ราคาบ้าน web หาบ้าน web ขายของซื้อของมือสอง ฯลฯ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

170408 | การสบฟันของคนไข้ left hemiplegia

ไป รพ. MSJ เพื่อใส่ฟันปลอมบางส่วนแบบถอดได้ทั้งบนและล่างให้กับคุณยายคนเวียดนาม ท่านนอนบนเตียงตลอดทุกครั้งที่มาหา ก็ให้ตั้งพนักเตียงขึ้นมาเฉยๆ เป็นอันใช้ได้

ท่านขยับร่างกายแขนขาข้างซ้ายไม่ได้ แต่ว่ายังพูดได้ เคี้ยวได้ เหมือนกับว่าหน้าจะไม่เป็นอะไร เหมือนว่าcranial nerve จะไม่มีอะไรผิดปกติ ท่านอยากใส่ฟันปลอมเพราะเคยมีแต่หายไป ฟันท่านยังเหลืออยู่หลายซี่เหมือนกัน ท่านบอกว่าอยากทานข้าวให้อร่อยกว่านี้

วันนี้เป็นวัน insert ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี แต่ใช้เวลากรอปรับแต่งการสบฟันอยู่นานมาก (ตอนแรกนึกว่าจะเร็วเพราะตัวฐานฟันปลอมนั้นใส่ลงตัวซวบแทบไม่ต้องแต่งเลย แค่ลบ undercut นิดเดียว ตะขอก็ลงตัว ปรากฎว่าไม่หมู)

สังเกตได้ว่าท่านสบแล้วมันไม่ได้ลงที่เดิมทุกครั้ง มีบางครั้งที่ท่านจะกัดฟันด้านซ้ายก่อนเสมอ โดยที่ไม่ทราบเหมือนกันว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ

จนไม่แน่ใจแล้วว่า left hemiplegia นี้อาจจะเป็นในส่วนที่มันมีผลกับการเคี้ยวด้วยนิดหน่อยรึเปล่า (คือคุณยายไม่สามารถบังคับขากรรไกรได้แบบสมบูรณ์คือมี weakness นิดหน่อย แล้วมีการเยื้องคางมากผิดปกติ?) ฟังท่านพูดก็ไม่แน่ใจว่าท่านพูดชัดรึเปล่าเพราะเป็นภาษาเวียดนาม คุณตาที่มาเยี่ยมทุกวันเป็นคนแปลให้ตลอด (คุณตาก็พูดอังกฤษได้เป็นคำๆ) แต่ลิ้นก็ไม่เบี้ยว ส่วน eye movement ดูไม่ชัด ไม่แน่ใจ

วันนี้กรอแต่งจนให้ balance ที่สุด แล้วจะไป follow-up check อีกที  จะไปอ่าน medical chart   ให้ละเอียดแล้วจะมาวิเคราะห์ต่อด้วย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

170408 |จัด References

เมื่อคืนนั่งจัด reference ใหม่หมด แบ่งกลุ่มเป็นหัวข้อแทนที่จะเรียงชื่อ author ตามตัวอักษร

  • หลักการ evaluation ทั่วไป และ ตัวอย่างการประเมินกว้างๆ
  • logic model และ theory-based evaluation
  • evaluation of complex program โดยเฉพาะ
  • หลักการ quality of care
  • quality of LTC โดยเฉพาะ
  • accountability
  • การสร้าง indicators
  • ทางออกใหม่ๆในการ improve quality เช่น scenario building หรือ การเข้าใจ dynamic และ complexity ขององค์กร
  • LTC และ frailty รวมๆ
  • MDS และ RAI
  • ตัวอย่างการประเมินในทันตกรรมผู้สูงอายุ
  • ตัวอย่าง QA ในการดูแลสุขภาพช่องปากใน LTC
  • policy-related เจาะจงเรื่องทันตกรรมผู้สูงอายุ
  • อื่นๆ (Misc.)

กองเต็มพื้นแล้ว เดี๋ยวแบกไปรร.ดีกว่า



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

 

จะทำงานการใดตั้งใจมั่น

อย่าผลัดวันทำเล่นเช้าเย็นสาย

ไม่ทิ้งคาอากูลมากมูลมาย

เร่งคลี่คลายให้เสร็จสำเร็จการ

- ท่านพุทธทาส



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

160408 | CE w/ Dr. CW

จำว่าเวลาสอนนักศึกษาในคลินิก fixed prosth

เวลาทำ temp (provisional) bridge ให้ทำ pontic ด้วยห้ามใส่แต่ provisional crown บน abutmentเด็ดขาด! เพราะ

1. keep tight contact (แค่ 2-3 wks ฟันก็เลื่อนได้แล้ว)

2. ให้เหงือกทรงสวยๆ

3. protect pulp

4. ความสวยงาม

5. diagnostic เรื่อง mastication, phonetics และ acceptance ของคนไข้

ใช้ Dentsply Integrity และแผ่น Vacuum ถ้าขอบขาดก็ใช้ flow CR แต่งโดย cement crown ก่อน แล้วเติม CR โดยไม่ bond



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

160408 | AAR meeting with Dr. CW

หมอที่ Alberta แนะนำว่าเราน่าจะตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ admit เข้ารพ. acute care ทุกคน แล้วดู pattern ว่า ณ จุดไหน และโรคหรือความพิการแบบไหน ทีี่ทำให้คนที่สุขภาพช่องปากดี กลายเป็นไม่ดีเพราะละเลยไม่ได้ดูแล หรือเพราะเริื่องเงิน หรือเพราะ depression หรือเพราะโรคทางระบบที่มีผลกับช่องปาก

เพราะไปตรวจใน extended care มันช้าไปแล้ว ทำอะไรมากก็ไม่ได้เพราะอาการทางระบบหนัก ได้แค่รักษาระดับคุณภาพชีวิต แต่ไม่ได้กำจัดเชื้อโรคในปากที่จริงๆไปมีผลกับปอดได้ง่ายๆ

CW บอกว่าเป็นความคิดที่น่าสนใจ แล้วถามเราว่าคิดว่าไง

เราว่าทาง logistics จะยาก แถมที่นี่ยังมีรื่องเงินค่าตรวจอีก  แต่ถ้าทำได้ก็จะได้รู้ว่า turning point มันอยู่ตรงไหน จะหาทางป้องกัน และรุกได้มากกว่าที่ทำอยู่ได้อย่างไร

เดี๋ยวขอไปคิดต่อแล้วจะมาเขียนใหม่ เพราะไม่เคยคิดเรื่องนี้มาก่อน!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มัทนา
เขียนเมื่อ

150408 | สัมมนากลางของคณะ บทพิสูจน์ว่าคนทำงานวิจัยเชิงปริมาณเมื่อให้เวลาและความเป็นมิตรต่อเขา เขาสามารถเข้าใจงานวิจัยเชิงคุณภาพได้ดีกว่าคนที่หัดทำวิจัยเชิงคุณภาพบางคนเสียอีก

ชอบช่วง Q&A ของ N's presentation มาก คน present ทำวิจัยระดับป.โทเชิงคุณภาพ คนฟัง 90% ทำวิจัยเป็นงานทดลองใน Lab แต่เนื่องจาก Michael และคณะได้นำงานวิจัยเชิงคุณภาพมา present ในสัมมนากลางนี้มาเป็นเวลาหลายปี คำถามที่ผู้ฟังถามจริงเหมาะสม ไม่มีคำถามเดิมๆที่ทำให้เกิด  conflict ระหว่างค่ายอีกต่อไป

โดยรวมแล้วคนถามถามได้ดีกว่าคนตอบ!

ตัวอย่างคำถามคือ

  • คุณสัมภาษณ์ 6 คนแล้วบอกว่าจะสัมภาษณ์ 8 คน คุณทราบได้อย่างไรว่าคุณจะหยุดที่คนที่ 8 ผมเข้าใจว่าคุณต้องสัมภาษณ์จนว่าจะถึงจุดอิ่มตัว จนกว่าจะไม่มีข้อมูลใหม่ๆเกิดขึ้นไม่ใช่หรือ ("Saturation")
  • อีกคนถามเรื่องการวิเคราะห์ ในเนื้อหาว่าเนี่ยะมีจุดน่าสนใจ ว่าคนจีนที่อพยพมาก ก็ยังใช้ยาแผนโบราณ แต่บางครั้งก็ไปหาหมอฟันสมัยใหม่ด้วย แล้วอะไรทำให้เค้าตัดสินใจไปทางไหน แล้ว pattern ของการตัดสินใจเป็นอย่างไร
  • แล้ว prof. อีกคนก็ขอตอบต่อจากคน present (ที่ตอบไม่ดี) เพราะเคยทำ systematic review เรื่องคล้ายกันมา มี evidene จาก database ว่าคนจีนที่นี่จะไปหาหมอในกรณีที่เจ็บ และ acute โดยเฉพาะถ้าลูกเด็กเล็กแดงปวดฟันจะไปทันที ถ้าเป็นตัวเองจะทนได้นิดหน่อย ในขณะที่ถ้าเป็นโรคที่ไม่เจ็บ จะไม่ไปหาหมอ จะใช้ยาแผนโบราณก่อนนานมากๆ และปล่อยให้เป็นมากเพราะไม่รู้เช่น เนื้องอก หรือ มะเร็งกรามช้าง

จะทำวิจัยเชิงคุณภาพทั้งที แต่ไม่สามารถหาข้อมูลหรือวิเคราะห์ได้ลึกพอ หรือ สู้งานวิจัยเชิงปริมาณไม่ได้ น่าจะคิดปรับปรุง

หวังว่าเพื่อนคนที่ present วันนี้จะได้ไปคิด และเข้าใจอะไรมากขึ้น เค้าเป็นนักศึกษา part-time ที่ไม่ค่อยมีเวลาศึกษาจริงจัง ทำคลินิกซะมาก น่าเห็นใจ แต่เราก็ช่วยเค้ามามากแล้ว ดีใจที่วันนี้ Prof. จาก Lab ต่างๆ มาฟัง present นี้ แล้วถามคำถามที่แสดงให้เห็นว่า "ถามเป็น"

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท