เรื่องเล่า โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ


การเปลี่ยนแปลง abprerkm

ช่วงนี้จะขอเล่าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของครูและโรงเรียนเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ซึ่งมีผลโดยตรงกับโรงเรียน  ครุ ผู้เรียน ท่านผู้อำนวยการจึงเริ่มการจัดการความรู้ให้แก่ครุทั้งระบบจึงมีเรื่องเล่าจากทึมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เข้ารับการอบรมที่จังหวัดปทุมธานี มาเล่าให้ฟังกันหลายเรื่องทั่เดียว เริ่มเรื่องแรกเลยนะครับ

โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
โรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ จัดประชุมเพื่อพัฒนาบุคลากร เรื่อง ผู้นำการเปลี่ยนแปลง"  เมื่อวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2550 โดยท่านผู้อำนวยการ วิชัย ต.วัฒนผล บรรยาพิเศษ
 การบรรยาพิเศษ " ผู้นำการเปลี่ยนแปลง" โดยท่าน ผอ.วิชัย ต.วัฒนผล
" ความเป็นผู้นำ ผู้บริหารสว่นใหญ่ เป็นผู้รับมอบอำนาจการบริหาร คน เงินและงานเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นอำนาจตามกฏหมาย ได้รับการแต่งตั้ง   ผู้บริหารพยายามนำนักเรียนไปสู่สัมฤทธิ์ผลทางการ

ศึกษา (เก่ง) ควบคู่กับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (ดี) และต้องพยายามดำเนินการตามเป้าประสงค์ของผู้ปกครอง ที่ต้องการเพ่มมากขึ้น รวมทั้งต้องมีระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อรองรับการ

ประเมินจากภายนอก
ผู้บริหารจึงต้องมีวิสัยทัศน์ ชัดเจนในการนำโรงเรียนไปสู่คุณภาพ หรืออาจกล่าวได้ว่า ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงต้องชี้นำ หรือสื่อสาร และสร้างการรียนรู้งานร่วมกัน  ให้ผู้ปฏิบัติสามารถก้าวตาม

แนวคิด นโยบายของการบริหารองค์กร เพื่อลดช่องว่า ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติ
กระบวนทัศน์เชิงระบบ
  ในการบริหาร คน เงินและงาน ที่ผ่านมามการบริหารงานเป็นเส้นตรงกล่าวคือ เมื่อกำหนดนโยบายและแนวคิดอะไร ก็จะกำหนดกิจกรรมโดยมอบหมายให้คน หรือ คณะบุคคล รับผิดชอบ 

องค์กรจึงต้องแบ่งคน แย่งงานและแบ่งเงิน หรืออาจเรียนได้ว่า พัฒนาแบบแยกส่วน ซึ่งส่วนดี ก้คือมีผู้รับผิดชอบโดยตรง มีกิจกรรมมากมาย แต่ข้อเสียคือ ต้องใช้คนมาก และขาดความร่วมมือ

หรือขาดสังคมมิติที่ดีต่อกัน จึงมักได้ยินเสียบ่นว่าเหนื่อน ไม่ไหว ไม่ได้รับความร่วมมือ โดยคนที่ไม่ได้ปฏิบัติก็จะตอบว่า ก็ไม่ได้รับมอบหมายนี้
กระบวนทัศน์เชิงระบบ ที่เราพบเห็นคือ Input Process และ Output Process ที่สำคัญต้องบอกความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในองค์กร เช่น ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (งานนี้ของท่านรองดนัย,

รองสุธี ) ดูแลกิจกรรมเสริมและกิจกรรมนอกหลักสูตร (รองสุกิจ ) หรือกิจกรรมตามเทศกาล (รองสุริยะ) ที่ดูแลซึ่งภายใต้กรอบโครงสร้างที่มีรองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าสาย อันเป็นคน

ละกลุ่มกัน ดีว่าโรงเรียนเรารองผู้อำนวยการไม่แบ่งคนหรือแบ่งกลุ่ม หรือกล่าวว่า ถ้าบอกครุหรือบุคลากรให้รับฟังแต่คำสั่งของรองคนใดคนหนึ่งเฉพาะและไม่รับฟังฝ่ายบริหารอื่น อันเป็นการแบ่ง

คนแล้ว นั่นแสดงถึงความล้าหลัง  กระบวนทัศน์เชิงระบบเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันกระบวนการพัฒนองค์กร  ผู้นำและผู้ปฏิบัติต้องมีกระบวนทัศน์ในการบริหารงานโดยองค์รวม หรือต้องมอง

Concept ของงานให้ชัดเจน  เมื่อลงมือปฏิบัติแล้ว เวลานำมาประกอบรูปร่างจะสมบูรณ์เหมือนที่ร่วมกันกำหนดโครงสร้างหรือรูปแบบไว้หรือไม่
นวตกรรมการบริหาร
    ๑๐ ปี ที่ผ่านมาสมัยผมสอบผู้บริหาร สปช. เน้นนวัตกรรมการบริหารโดยใช้ทฤษฎิ์ของ Poscorb หลัก ๘ ประการในการบริหารงาน เริ่มตั้งแต่การวางแผน แต่ปัจจุบัน คงไม่เพียงพอต่อการ

พัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลง เฉพาะอย่างยิ่งการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  ปัจจุบัน การจัดการเชิงกลุบุทธ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่นการใช้ SWOT เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์องค์กร หรือการใช้ BLANCE SCORE CARD ช่วยให้เกิดยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติงาน แต่ปัจจุบัน

การนำการจัดการความรู้ ( KM ) มาใช้ในการตัดสินใจโดยให้สมาชิกมีส่วนร่วมมากที่สุด เฉพาะ การที่สมากในดงค์รทุกคนได้เล่าเรื่องที่ตนเองภาคภูมิใจ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือเป็นเรื่อง

เล่าที่เร้าพลังให้เกิดขึ้นในองค์กร อันเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่หใเกิดขึ้นได้แก่ การจัดการเชิงกลุยุทธ์ การจัดการคุณภาพ และการจัดการเรียนรู้
  การจัดการความรู้ (KM) เป็นกระบวนการที่นำสู่การปฏิบัติได้ในทุกกิจกรรม จึงเป็นเสมือนสายน้ำที่สามารถแทรกซึมได้ในทุกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน การสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึง

ประสงค์ รวมถึงการเข้าถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  การพัฒนาบุคลากรในวันนี้ของโรงเรียนอนุบาลฯ โดยรวมคือการเน้นให้ครูและบุคลากรทุกคนตระกนัดและเข้าใจถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการพัฒนาองค์กร เพื่อรองรับการ

กระจายอำนาจ ทั้ง ๔ งาน รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ที่จะให้เกิดขึ้นใน่วนของการเรียนรู้และสามารถบูรณาการแต่ละสาระการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในรูปแบบการเรียนรู้
 การอบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก สำนักงานเขตพ้นที่การศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต ๑ คณะนิเทศ  วิทยากรผู้ผ่านการอบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน  จึง

ขอบพระคุณมา ณ ที่นี้  และบัดนี้ได้เวลาสมควรแล้วกระผมขอเปิดการอบรม ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมครั้งนี้  คงสำเร็จตามเป้าประสงค์

ทุกประการ

การบรรยาย เรื่อง "ที่มาของการกระจายอำนาจ" โดย รอง ผอ.สุกิจ
เนื่องด้วย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  มาตราที่ ๓๙ ระบุให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา  โดยกระจายอำนาจทั้ง๔ ด้าน คอ
๑.ด้านวิชาการ
๒.ด้านงบประมาณ
๓.ด้านบุคลากร
๔.ด้านบริหารทั่วไป
   กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการอบรมผู้บริหาร ครู ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจโดยเริ่มกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เป็นต้นไป 

จากการกระจายอำนาจครั้งนี้จะทำให้สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล สามารถบริหารงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพแบเบ็ดเสร็จ  โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม (SBM) สำหรับผู้บริหารก็จะมี

การเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารงานทั้ง ๔ ด้าน ส่วนครูผู้สอนก็จะเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้เรียนอย่างยั่งยืนตลอดไป
   ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ  และเป้าหมายที่ชัดเจน

หมายเลขบันทึก: 99773เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2007 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ด.ญ.ณภัทร ธงทองทิพย์

ขอให้ร.ร.อนุบาลฯอยู่คู่จ.ฉะเชิงเทราตลอดไป

ในฐานะความเป็นครู จะดำรงคงไว้ซึ่ง ศักดิ์ศรีและเกยีรติภูมิของอนุบาลครับ

ด.ญ.ณภัทร ธงทองทิพย์

ดิฉันจะเป็นเด็กดีของร.ร.อนุบาลค่ะ ดิฉันสัญญาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท