คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ - คดียุบพรรคไทยรักไทย


รายละเอียด เนื้อหาคำวินิจฉัย คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 3 - 5 / 2550 คดีคำสั่งยุบพรรคไทยรักไทย

นำเสนอรายละเอียด

ฐานข้อมูล และเนื้อหาคำวินิจฉัย คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

30 พฤษภาคม 2550

 

คำวินิจฉัยที่ 3 - 5 / 2550

http://files.thaiday.com/download/trt_party.pdf

เรื่องพิจารณาที่ 20 / 2549

เรื่องพิจารณาที่ 21 / 2549

เรื่องพิจารณาที่ 22 / 2549

 

อัยการสูงสุดยื่นคำร้องรวมสามคำร้อง ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2549

ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย เนื่องจากความปรากฎต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองทั้งสามกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541

หมายเลขบันทึก: 99772เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2007 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
สรุปคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ คดียุบพรรคไทยรักไทย และ 2 พรรคเล็ก
 

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ได้ขึ้นนั่งบัลลังก์เพื่อพิจารณาคำร้อง “ยุบพรรคไทยรักไทย” พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย โดยเฉพาะพรรคไทยรักไทย ถูกอัยการสูงสุดร้องในข้อหาว่าจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง

  พร้อมระบุความผิดให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 66(1) ที่ระบุว่า เป็นการกระทำการอันมีลักษณะเป็นการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ (2) เป็นการกระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามมาตรา 66 (1) และ (3) ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง

        ศาลรัฐธรรมนูญได้เริ่มอ่านคำร้องรายละเอียดของคดีที่ให้ยุบ 3 พรรคดังกล่าว พร้อมทั้งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องทั้ง 3 พรรค โดยตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดียุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และและพรรคแผ่นดินไทย โดยได้พิจารณาประเด็นโดยสรุปดังนี้

 ตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่

 คำวินิจฉัย : ตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจ โดยอ้างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 มาตรา 35 วรรค 1 และวรรค 4 คำโต้แย้งฟังไม่ขึ้น

 การร้องเรียนของนายสุเทพชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะไม่ได้ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง จึงไม่ถือเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย และนายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจสอบสวนกรณีหรือไม่ เนื่องจากไม่ได้เห็นการกระทำผิดด้วยตัวเอง

 คำวินิจฉัย : ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการลงสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น และไม่ว่านายทะเบียนนักการเมืองจะเห็นเอง หรือผู้ใดแจ้งถึงการกระทำผิด ก็มีอำนาจในการสอบสวนทั้งนั้น คำโต้แย้งจึงฟังไม่ขึ้น

 การสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะไม่เคยเรียกผู้ถูกร้องไปชี้แจงเลย
 คำวินิจฉัย : เป็นไปตามระเบียบและวิธีการ คำร้องฟังไม่ขึ้น
 ผู้ถูกร้องกระทำการดังต่อไปนี้หรือไม่

 1.พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล ร่วมกับนายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย และนายสุขสันต์ ชัยเทศ ผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคพัฒนาชาติไทย แก้ไขฐานข้อมูลกลางของสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยหรือไม่ และ พล.อ.ธรรมรักษ์ กับนายพงษ์ศักดิ์ ร่วมกันให้เงินพรรคพัฒนาชาติไทย หรือไม่

 ศาลวินิฉัยว่า มีเหตุผลฟังได้ว่า พล.อ.ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ ได้ร่วมกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลจริง และทั้ง พล.อ.ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ ให้เงินสนับสนุนพรรคแผ่นดินไทยเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งจริง

 2.นายบุนทวีศักดิ์ ออกหนังสือรับรองคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นเท็จจริงหรือไม่
 ศาลวินิจฉัยว่า จริง เป็นการออกทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่ครบ จึงถือเป็นการออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จ

 3.พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต หรือ “เสธ.ไอซ์” เลขานุการ รมว.กลาโหม(ในขณะนั้น) ให้เงินพรรคจ้างแผ่นดินไทย และผู้สมัครพรรคแผ่นดินไทย ให้ลงสมัครเลือกตั้งจริงหรือไม่

 ศาลวินิจฉัยว่า จากการให้ปากคำของพยาน ทั้งนางฐัตติมา ภาวะลี ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคแผ่นดินไทย ที่กลับคำให้การว่าสุเทพหักขังหน่วงเหนี่ยว รวมถึงผู้สมัครของพรรคแผ่นดินไทย เชื่อได้ว่าเสธ.ไอซ์ได้ให้เงินจริง แม้จะมีการกลับคำให้การในภายหลัง และผู้สมัครเห็นเสธ.ไอซ์ และ พล.ท.ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ อดีตผู้ช่วยฝ่ายเสนาธิการ(เสธ.) ประจำ รมว.กลาโหม ที่ที่ทำการพรรคแผ่นดินไทย

 ส่วนที่นางฐัตติมา กลับคำให้การ อ้างว่าถูกนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ข่มขู่จะดำเนินคดีปลอมแปลงเอกสารนั้น นางฐัตติมายืนยันมาตลอดว่าไม่เคยปลอมแปลงเอกสาร จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ฟังไม่ขึ้น และไม่น่าเชื่อว่าถ้านางฐัตติมา ได้รับเงินจากสุเทพแล้วจริง จะกล้ากลับคำให้การ

 นอกจากนี้ทั้งพล.ท.ผดุงศักดิ์ และพล.อ.ไตรรงค์ เป็นนายทหารนอกราชการ จึงไม่ผลประโยชน์ ในทางการเมือง จึงเชื่อได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นไปตามคำสั่งของ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเห็นว่า การที่พรรคไทยรักไทยสนับสนุนให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้งย่อมฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และการที่พรรคไทยรักไทยจ้างบุคคลอื่นลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองอื่น ถือได้ว่าเป็นการกระทำให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน

 นอกจากนี้การกระทำของ พล.อ.ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ เนื่องจากมีตำแหน่งใหญ่โตในพรรค จึงมีผลผูกพันกับพรรคไทยรักไทย การกระทำดังกล่าวเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และเป็นปกรักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย

 ส่วนพรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทยนั้น การที่รับเงินจากพรรคไทยรักไทยเพื่อจัดหาผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง และการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคในฐานข้อมูลของกกต. จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งยังเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย

 ดังนั้น คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงเห็นว่า มีเหตุอันควร.....
 “ยุบพรรคไทยรักไทย”
 พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย

 ส่วนประเด็นการตัดสิทธิ์การเลือกตั้งนั้น ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ว่ากรรมการบริหารพรรคลาออกไปแล้วก็ไม่มีผลหลีกเลี่ยงความผิด หรือเลี่ยงการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง และเนื่องจากพฤติกรรมความผิดร้ายแรง จึง “เพิกถอนสิทธิ์” การเมืองของ “กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย” ผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวน 111 คน ส่วนพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 19 คน ผู้ถูกร้องที่ 3 ตัดสิทธิ์การเมือง 3 คน

อ้างอิงจาก

หนังสือพิมพ์แนวหน้า

http://www.naewna.com/news.asp?ID=61921

ท่องเวบไปพบ mindmap ที่สรุปคำวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทยครับ

ที่มา http://www.oknation.net/blog/myplanet/2007/05/31/entry-2

(คลิกโหลดภาพใหญ่ไปดูได้นะครับ)

 

 

  • ขอบคุณมากครับ คุณ
  • นายบอน!-กาฬสินธุ์
  • สำหรับการสร้างฐานข้อมูล
  • ในการลำดับ คำกล่าวว่า - คำวินิจฉัย
  • ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณครับ มีประโยชน์มาก
  • สวัสดีครับ คุณอภิดล
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับคำกล่าว
  • เพียงแค่เข้ามาร่วมสื่อสารข้อมูล ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ร่วมกันครับ
  • สื่อสารกันด้วยเหตุผล แนวคิด และความเข้าใจ
  • แม้จะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ก็ควรพูดคุยบอกกล่าว ด้วยทักษะของการสื่อสาร โดยหลีกเลี่ยงอคติ หรือใช้อารมณ์ความรู้สึก จนกระทั่งหลงลืมที่จะพูดคุยกัน
  • ยินดีมากครับ
  • ขอบคุณเช่นเดียวกันครับ
  • ขอบคุณครับ
  • เห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ
  • และมีท่าทีที่ชัดเจน ในด้านเหตุผลของการแสดงออกทางการเมือง
  • เป็นแถลงการณ์ที่น่าสนใจ จึงนำมาบอกกล่าว

 

  • แถลงการณ์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส)
    กรณี การยุบพรรคไทยรักไทย กับ การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพประชาชน
    เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาจากแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มล้างระบอบทักษิณ ได้ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย และ ตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 111 คน  เป็นเวลา 5 ปีนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความถดถอยของการพัฒนาประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภา  เพราะชะตากรรมของ พรรคการเมือง นักการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองและพลเมืองไทยถูกกำหนด ตัดสิน และ ควบคุม โดยกลไก ซึ่งมาจากการรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ
    คปส เห็นด้วยว่า ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลที่ผ่านมานั้นบริหารงานผิดพลาดร้ายแรงเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวมและจำเป็นอย่างยิ่งที่สาธารณชนและกลไกต่างๆ จะต้องเคลื่อนไหวตรวจสอบรัฐบาลบนพื้นฐานของกระบวนการประชาธิปไตยจนถึงที่สุด แต่ คปส ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการใดๆ ของคณะรัฐประหารรวมทั้งกลไกต่างๆ ที่ได้ทำการลิดรอนสิทธิทางการเมืองของประชาชนด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
    ดังนั้น การยุบพรรคการเมืองและตัดสิทธิทางการเมืองของนักการเมืองด้วยองค์คณะซึ่งมาจากกระบวนการที่ล้มรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถสร้างความชอบธรรม และ การยอมรับร่วมกันของคนส่วนใหญ่ในสังคมได้  ความแตกต่างทางความคิด และ ความขัดแย้งทางการเมืองจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม   ดังนั้นการที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รัฐบาล ทหาร ตำรวจ รวมถึงสื่อมวลชนและนักวิชาการบางส่วน เรียกร้องให้ทุกฝ่ายสงบนิ่งและยุติความเคลื่อนไหวทางการเมือง จึงเป็นสิ่งที่ขัดต่อความเป็นจริงและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    เพราะ สิทธิทางการเมือง ในการแสดงออกทางความคิดที่แตกต่าง เพื่อต่อต้านคัดค้าน ผ่านการชุมนุม เดินขบวนโดยสงบ หรือผ่านสื่อสารมวลชนใดๆ ถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน  เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของประชาชนทุกครั้ง อาทิการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ผ่านมาเป็นต้น
    เมื่อการแสดงออกผ่านพรรคการเมืองและการต่อสู้ในระบบรัฐสภาของผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยได้ถูกยุติลง จึงเป็นธรรมดาที่จะมีการเคลื่อนไหวภายนอกรัฐสภา บนท้องถนน บนสื่อออนไลน์ หรือ สื่ออื่นใดก็ตามจะเข้มข้นยิ่งขึ้นเพื่อทดแทนสิทธิทางการเมืองที่สูญเสียไป
    การควบคุมห้ามปรามการแสดงออกดังกล่าวที่มีต่อพลเมือง สะท้อนถึงหวาดกลัวของอำนาจรัฐ  เนื่องเพราะรู้ตัวดีว่าอำนาจที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันนั้นขาดความชอบธรรมในตัวเอง  ท้ายที่สุดความพยายามในการใช้อำนาจปิดกั้นความคิดเห็นที่แตกต่างจะไม่สามารถนำไปสู่ความสมานฉันท์ในสังคมไทยได้เลย ซ้ำร้ายจะทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น ให้สังคมตกอยู่ท่ามกลางความกลัวและความเกลียดชัง
    ไม่ว่าเราจะเห็นด้วย หรือ เห็นต่างกับ พรรคไทยรักไทย แต่พรรคการเมือง และ นักการเมือง คือ ตัวแทนของประชาชน ตามระบอบประชาธิปไตย สมาชิก 14 ล้าน 4 แสน ของพรรคไทยรักไทยนั้นมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และมีสิทธิพลเมืองเช่นเดียวกัน   สังคมไทยต้องเปิดกว้าง ด้วยการเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่นเดียวกับการปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง
    คปส เห็นว่า แม้เราจะต่อต้านการบริหารประเทศของรัฐบาลทักษิณ แต่เราต้องเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง และ ยอมรับการเคลื่อนไหวแสดงออกของผู้สนับสนุนรัฐบาลทักษิณอย่างถึงที่สุด บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า สิทธิเสรีภาพคือพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยที่ยืนอยู่บนความเสมอภาคของพลเมือง 
    คปส ขอเรียกร้องให้ สื่อสารมวลชน ที่กล่าวหา ใส่ร้าย ป้ายสี ผู้สนับสนุน พรรคไทยรักไทย หรือ กลุ่มคนที่ต้านการรัฐประหาร ว่าเป็นบุคคลที่ไม่หวังดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์นั้น ได้โปรดใช้ดุลยพินิจทบทวนการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้การทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชนนำไปสู่ชนวนของความรุนแรงและสร้างอคติความเกลียดชังระหว่างประชาชน ดังเช่นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
    ท้ายนี้ คปส  เรียกร้องให้รัฐยุติการปิดกั้นการเคลื่อนไหวทางการเมือง การชุมนุมโดยสงบ การปิดกั้นสื่อ เช่น เวบไซต์ วิทยุชุมชน สถานีโทรทัศน์ หรือ การแสดงออกอื่นใดของกลุ่มประชาชนที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง และต้องคืนอำนาจอธิปไตยและการเลือกตั้งให้กับประชาชนโดยทันที
               
                                                                                                                   
                                                                                    คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ
                                                                                    1 มิถุนายน 2550
    Statement of The Campaign for Popular Media Reform (CPMR)
     The case of Thai Rak Thai Dissolution
    and the Obstruction of the People’s Rights and Liberty
    On 30 May 2007, the Constitution Tribunal, appointed by the military council after the coup to overthrow the Thaksin’s administration on 19 September 2006, decided to dissolve the Thai Rak Thai party and withdraw the voting rights of its 111 executive committee members for 5 years including former Prime Minister Thanksin Shinawatra. This decision shows the recession of democracy development and the parliamentary system since the fate of political parties, politicians, political party members and Thai citizen is defined, decided and controlled by a mechanism from the coup overthrowing the constitution.    
    The CPMR agrees that former Prime Minister Thaksin Shinawatra and his cabinet of the former government had made serious mistakes in their administration by putting their private interests above the public interest, but it is crucial for the public and other mechanisms to check the government to the end using a democratic process. However, the CPMR does not agree with any actions of the coup council and their mechanisms which deprive the people of their political rights by undemocratic means.     
    Therefore, the party dissolution and the withdrawing of politicians’ political rights by a body emerging from a process which overthrew the constitution do not create legitimacy and seek accordance with the majorities. Differences in opinions and political conflict will be increased severely. Thus, the demand from the Council for National Security, the government, the military, the police, mass media and some scholars that every group should remain calm and end their political movements is unrealistic and contrary to the people’s rights and liberty.     
    It is because the political right to express different opinions, to resist and oppose through peaceful demonstration, or by any mass media, is the fundamental human right of all people, the same as the people’s movement similar to the former demonstration of the People’s Alliance for Democracy. 
     As the expression of the Thai Rak Thai’s supporters through the political party and struggle in the parliamentary system was terminated, it is not unusual that movements outside the parliament, on the streets, in online media, or other media, have became stronger in order to make up for these lost political rights.    
    Such prohibition of expression towards the citizens indicates fear by the state authorities since they are aware that their existing power lacks legitimacy. Finally, the effort to obstruct different opinions by using power would never lead to unanimity in Thai society. Even worse, tension is increased making society fearful and engendering hatred.     
    Whether we agree with the Thai Rak Thai party or not, political parties and politicians are still the representatives of the people in a democracy. 14.4 million members of the Thai Rak Thai also have their human dignity and civil rights. Thai society must be open by respecting others’ rights and liberty as well as protecting their own.     
    In the opinion of the CPMR, although we are against the Thaksin administration, we have to respect different opinions and accept the expression of the Thaksin administration’s supporters to the last, based on the belief that the people’s rights and liberty are the foundation of a democratic society arising from the equality of its citizens.     
    The CPMR requests the mass media, that accused and slandered Thai Rak Thai’s supporters or the groups opposing the coup of having bad intentions towards the country, the religion and the monarchy, to reconsider very carefully their expressed opinions in order to prevent them from triggering violence and hatred amongst the people by doing their proper duty as in the incident of 6 October 1976.     
    Finally, the CPMR demands the state should cease obstructing political movements, peaceful demonstrations, and the media, such as websites, community radio, television stations, or other expressions of people with different political views. Instead, the state must immediately return sovereignty and the right for an election to the people.   
                 
                                                                                                                   
                                                                                    Campaign for Popular Media Reform  
                                                                                                                    1 June 2007
                                                                                    [email protected]



    คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส)
    409 ซอย รัชดา 14 ห้วยขวาง กรุงเทพ 10320
    โทรศัพท์ และ โทรสาร 02-6910574
    www.media4democracy.com

    Campaign for Popular Media Reform (CPMR)
    409 Soi Ratchada 14, Huay kwang, Bangkok 10320 Thailand
    Tel& Fax +662-6910574


    ประชาธิปไตย สู่เสรีสื่อ เสรีประชาชน
    Democracy for FreeMedia FreePeople

ข้อมูลในบล็อก คุณ Kati ดีเหลือเกิน

 ด้วยการให้เกียรติ พร้อมฟัง และยอมรับความขัดแย้ง

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับ
    P
  • ขอบคุณมากครับ ยินดีอย่างยิ่ง สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทั้งที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
  • อย่างน้อย ผมก็เชื่อว่า ความพยายามในการพูดคุยกัน น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในสังคมไทย
  • ความพยายาม ยอมรับความขัดแย้ง ก็เป็นเช่นที่กล่าวไว้ครับ ถือว่าเป็นประโยคที่เป็นทางออกจริงๆครับ
  • การให้เกียรติ พร้อมฟัง และยอมรับความขัดแย้ง
  • ถือเป็นเรื่องพื้นฐาน และเป็นจุดเบื้องต้นมากๆครับ
  • แต่ทำยากที่สุด
  • ต้องพยายามให้เกิดขึ้นครับ
  • ช่วยกัน และพยายามสร้างกัน ให้เป็นวัฒนธรรมของสังคมไทยให้ได้
  • ไม่พึงพอใจ ก็อย่าพึงด่าทอ
  • พยายามให้นั่งลงพูดกันด้วยเหตุผล อาจจะมีความรู้สึกบ้าง แต่ก็ต้องพยายามรับฟัง พยายามเรียบเรียงปัญหาที่ไม่พึงใจ
  • ให้ออกมาเป็นเหตุผล ในการที่จะหาทางออกร่วมกัน
  • พูดง่ายจริงๆครับ แต่ทำยากมากๆครับ
  • ได้แต่พยายาม และคาดหวัง ว่าจะเป็นทางออกในสังคมไทย
  • ขอบคุณเช่นเดียวกันครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ประชาธิปัตย์พ้นผิด

 

  • สวัสดีครับ คุณนพดล ลือบุญ
  • ไม่ทราบ และไม่แน่ใจ เหมือนกัน ในนัยยะของการพ้นผิด - โดยเฉพาะในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์
  • ประชาธิปัตย์พ้นผิด
  • ประเด็นคำกล่าว ทั้งน่าสนใจ และน่าหวาดกลัว เหมือนกันนะครับ
  • เพราะไม่มีการอธิบายเนื้อหา ไม่มีการพ่วงท้าย ไม่มีการระบุว่า พ้นผิดในกรณีใด
  • นำเสนอนะครับ ในส่วนของกรณีดังกล่าว
  • วาทกรรม ในสังคมไทย โดยเฉพาะคำไทย ที่สั้น ห้วน และกระชับ อาจต้องอธิบายให้ครอบคลุม รัดกุม รอบด้าน ครับ
  • ถ้ากล่าว ว่าพ้นผิด ในข้อกล่าวอ้าง และคำร้องของอัยการสูงสุด เพื่อให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
  • อันนี้ รับรองตามที่ระบุ ในประโยคดังกล่าวครับ
  • ทั้งเนื้อหา พยาน หลักฐาน คำซักค้าน คำเบิกความ ตามที่อ้างอิง ในคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ
  • แต่ถ้าเป็นประเด็นอื่น อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ
  • ขอบคุณมากครับ คุณนพดล สำหรับการเยี่ยมเยือน และความคิดเห็น
  • ขอบคุณครับ

ทำไมศาลต่างๆไม่หันมามองถึงประชาชนบ้างล่ะค่ะ ตำรวจที่คอยวางอำนาจกับประชาชน เช่น เรื่อง ยาบ้า ในคดี ยาเสพติด ในเมื่อที่ผู้ต้องได้พ้นโทษแล้วแต่ตำรวจก็ได้ออกหมายค้นบ้านแล้วมีการบอกว่าจะหาผลงานโดยใช้ยาบ้ายัด มันใช่เรื่องป่าวค่ะที่ต้องโดนอย่างนี้ ที่หนูนำเรื่องมาเล่านี้ เพราะหนูอย่างรู้ว่าตำรวจที่อยู่เรือนจำนครราชสีมาหรือศาลจังหวัดนครราชสีมา ต้องทำอย่างนี้ หนูอยากรู้ว่าตำรวจมีหัวใจบ้างป่าวค่ะ ถ้าครอบครัวของคุนโดนอย่างนี้ตำรวจจะเสียใจป่าวค่ะ หนูขอบอกว่าถ้ามันเป็นอย่างนี้หนูจะต้องชำระด้วยตัวหนูเอง

ถึงแม้ว่าหนูจะเป็นเด็กเพียงอายุ13แต่หนูก็มีหัวใจ หนูว่าสุนัขมันยังดีกว่าตำรวจอีก( สุนัขมันยังซื่อสัตย์ หนูเกียจตำรวจ)

สรุปคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ คดียุบพรรคไทยรักไทย และ 2 พรรคเล็ก
 

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ได้ขึ้นนั่งบัลลังก์เพื่อพิจารณาคำร้อง “ยุบพรรคไทยรักไทย” พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย โดยเฉพาะพรรคไทยรักไทย ถูกอัยการสูงสุดร้องในข้อหาว่าจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง

  พร้อมระบุความผิดให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 66(1) ที่ระบุว่า เป็นการกระทำการอันมีลักษณะเป็นการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ (2) เป็นการกระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามมาตรา 66 (1) และ (3) ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง

        ศาลรัฐธรรมนูญได้เริ่มอ่านคำร้องรายละเอียดของคดีที่ให้ยุบ 3 พรรคดังกล่าว พร้อมทั้งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องทั้ง 3 พรรค โดยตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดียุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และและพรรคแผ่นดินไทย โดยได้พิจารณาประเด็นโดยสรุปดังนี้

 ตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่

 คำวินิจฉัย : ตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจ โดยอ้างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 มาตรา 35 วรรค 1 และวรรค 4 คำโต้แย้งฟังไม่ขึ้น

 การร้องเรียนของนายสุเทพชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะไม่ได้ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง จึงไม่ถือเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย และนายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจสอบสวนกรณีหรือไม่ เนื่องจากไม่ได้เห็นการกระทำผิดด้วยตัวเอง

 คำวินิจฉัย : ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการลงสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น และไม่ว่านายทะเบียนนักการเมืองจะเห็นเอง หรือผู้ใดแจ้งถึงการกระทำผิด ก็มีอำนาจในการสอบสวนทั้งนั้น คำโต้แย้งจึงฟังไม่ขึ้น

 การสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะไม่เคยเรียกผู้ถูกร้องไปชี้แจงเลย
 คำวินิจฉัย : เป็นไปตามระเบียบและวิธีการ คำร้องฟังไม่ขึ้น
 ผู้ถูกร้องกระทำการดังต่อไปนี้หรือไม่

 1.พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล ร่วมกับนายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย และนายสุขสันต์ ชัยเทศ ผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคพัฒนาชาติไทย แก้ไขฐานข้อมูลกลางของสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยหรือไม่ และ พล.อ.ธรรมรักษ์ กับนายพงษ์ศักดิ์ ร่วมกันให้เงินพรรคพัฒนาชาติไทย หรือไม่

 ศาลวินิฉัยว่า มีเหตุผลฟังได้ว่า พล.อ.ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ ได้ร่วมกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลจริง และทั้ง พล.อ.ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ ให้เงินสนับสนุนพรรคแผ่นดินไทยเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งจริง

 2.นายบุนทวีศักดิ์ ออกหนังสือรับรองคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นเท็จจริงหรือไม่
 ศาลวินิจฉัยว่า จริง เป็นการออกทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่ครบ จึงถือเป็นการออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จ

 3.พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต หรือ “เสธ.ไอซ์” เลขานุการ รมว.กลาโหม(ในขณะนั้น) ให้เงินพรรคจ้างแผ่นดินไทย และผู้สมัครพรรคแผ่นดินไทย ให้ลงสมัครเลือกตั้งจริงหรือไม่

 ศาลวินิจฉัยว่า จากการให้ปากคำของพยาน ทั้งนางฐัตติมา ภาวะลี ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคแผ่นดินไทย ที่กลับคำให้การว่าสุเทพหักขังหน่วงเหนี่ยว รวมถึงผู้สมัครของพรรคแผ่นดินไทย เชื่อได้ว่าเสธ.ไอซ์ได้ให้เงินจริง แม้จะมีการกลับคำให้การในภายหลัง และผู้สมัครเห็นเสธ.ไอซ์ และ พล.ท.ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ อดีตผู้ช่วยฝ่ายเสนาธิการ(เสธ.) ประจำ รมว.กลาโหม ที่ที่ทำการพรรคแผ่นดินไทย

 ส่วนที่นางฐัตติมา กลับคำให้การ อ้างว่าถูกนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ข่มขู่จะดำเนินคดีปลอมแปลงเอกสารนั้น นางฐัตติมายืนยันมาตลอดว่าไม่เคยปลอมแปลงเอกสาร จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ฟังไม่ขึ้น และไม่น่าเชื่อว่าถ้านางฐัตติมา ได้รับเงินจากสุเทพแล้วจริง จะกล้ากลับคำให้การ

 นอกจากนี้ทั้งพล.ท.ผดุงศักดิ์ และพล.อ.ไตรรงค์ เป็นนายทหารนอกราชการ จึงไม่ผลประโยชน์ ในทางการเมือง จึงเชื่อได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นไปตามคำสั่งของ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเห็นว่า การที่พรรคไทยรักไทยสนับสนุนให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้งย่อมฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และการที่พรรคไทยรักไทยจ้างบุคคลอื่นลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองอื่น ถือได้ว่าเป็นการกระทำให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน

 นอกจากนี้การกระทำของ พล.อ.ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ เนื่องจากมีตำแหน่งใหญ่โตในพรรค จึงมีผลผูกพันกับพรรคไทยรักไทย การกระทำดังกล่าวเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และเป็นปกรักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย

 ส่วนพรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทยนั้น การที่รับเงินจากพรรคไทยรักไทยเพื่อจัดหาผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง และการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคในฐานข้อมูลของกกต. จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งยังเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย

 ดังนั้น คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงเห็นว่า มีเหตุอันควร.....
 “ยุบพรรคไทยรักไทย”
 พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย

 ส่วนประเด็นการตัดสิทธิ์การเลือกตั้งนั้น ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ว่ากรรมการบริหารพรรคลาออกไปแล้วก็ไม่มีผลหลีกเลี่ยงความผิด หรือเลี่ยงการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง และเนื่องจากพฤติกรรมความผิดร้ายแรง จึง “เพิกถอนสิทธิ์” การเมืองของ “กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย” ผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวน 111 คน ส่วนพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 19 คน ผู้ถูกร้องที่ 3 ตัดสิทธิ์การเมือง 3 คน

อ้างอิงจาก

หนังสือพิมพ์แนวหน้า

http://www.naewna.com/news.asp?ID=61921

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท