ประเด็นข่าว: สงครามการค้ากับจริยธรรมธุรกิจ


Cola War เป็นกรณีศึกษาที่คู่แข่งทางการค้าปฏิบัติต่อกันเป็นเหมือนคู่อาฆาต สงครามนี้มีความรุนแรงมาตั้งแต่ปี 1934 เมื่อโคคา-โคล่าซึ่งเป็นเจ้าตลาดในเวลานั้น ได้พบกับคู่แข่งรายใหม่คือเป็ปซี่โคล่า

กลยุทธ์ของเป็ปซี่คือตัดราคาดื้อๆ ตลาดในเวลานั้นเป็นตลาดของน้ำอัดลมขนาด 6 ออนซ์ครึ่ง เป็ปซี่ซึ่งเกิดใหม่ อยู่ดีๆ ก็ขายน้ำอัดลมขนาด 12 ออนซ์ พร้อมกับแคมเปญการขาย

    Pepsi-Cola hits the spot.
    Twelve full ounces, that’s a lot.
    Twice as much for a nickel too.
    Pepsi-Cola is the drink for you!

แล้วสงครามการค้าก็เริ่มขึ้น... เราเห็น product variation แบบต่างๆ ในรูปแบบของ packaging และรสชาติ ช่วงหลังๆ เราเห็น Music Marketing, Football Marketing, สงครามของ Premium, สงครามการชิงโชค ฯลฯ

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาลสหรัฐตัดสินจำคุกอดีตพนักงานของบริษัทโคคา-โคล่า เมื่อเธอนำความลับเรื่อง "สูตรหัวน้ำเชื้อ" ไปขายให้คู่แข่งคือเป็ปซี่ แต่แทนที่เป็ปซี่จะซื้อ กลับติดต่อคู่แข่งเพื่อแจ้งเรื่องนี้ และได้ร่วมกับ FBI ทำการล่อซื้อ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมในที่สุด 

เมื่อพิจารณาเรื่องนี้แล้ว ผมรู้สึกดีว่ายังมีบางคนเห็นว่าผลประโยชน์ไม่ได้อยู่เหนือความถูกต้อง และจริยธรรมธุรกิจมีจริง

ช่างต่างกับท่าทีของรัฐบาลพุ่มไม้ ต่อกรณีที่ประเทศสารขัณฑ์ประกาศใช้ Compulsory License ยาตามกติกา WTO เสียเหลือเกิน 

หมายเลขบันทึก: 98883เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณ Conductor

ชอบใจเป็นที่สุดกับข้อความนี้

ช่างต่างกับท่าทีของรัฐบาลพุ่มไม้ ต่อกรณีที่ประเทศสารขัณฑ์ประกาศใช้ Compulsory License ยาตามกติกา WTO เสียเหลือเกิน 

คุณหมอมงคลท่านโดดเดี่ยวเหลือเกินค่ะ ( ถ้าเอาฐานะของรัฐมนตรีว่า )....ทั้งๆที่สิ่งที่ท่านทำคือเพื่อผู้ป่วยไทย !

ขอบคุณมากค่ะที่เอาเรื่องดีๆมาให้ได้คิดพร้อมรอยยิ้มในวันนี้

P

สวัสดีค่ะ

จะมาตั้งแต่เมื่อคืน web site นี้เข้าไม่ได้เลยค่ะ เลยไปนอนเลย

เรื่องนี้ ถูกต้องมากๆที่Coloaทำดีๆอย่างนี้ พนักงานคนนั้น ใช้ไม่ได้ ไม่ค่อยเคยเห็นแบบนี้เท่าไรนะคะ ไร้จรรยาบรรณมากๆ ถ้าเขามาทำกับPepsiได้ เขาก็ทำกับCokeได้ การแข่งขันทางธุรกิจ เป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ใช่ทำแบบนี้

Pepsi กับ Coke ก็น่าจะอยู่ในสมาคมทางอุตสาหกรรมสมาคมเดียวกันด้วย

 ตามประสบการณ์ของดิฉัน เราเคยมีสัญญาให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับสูตรการผสมเมล็ดพันธ์ของเราว่า ห้าม ไปทำงานกับบริษัทคู่แข่ง 3 ปีค่ะ เพราะเราเชื่อว่า ภายใน 3 ปี เราจะสามารถ ปรับปรุงพันธ์ใหม่ได้แล้วค่ะ ก็ไม่เคยมีปัญหาค่ะ

ดิฉัน เคยมี ความไม่สบายใจเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมบ้างนิดหน่อย แต่ก้ไม่มากนักค่ะ

http://gotoknow.org/blog/goodliving/93742

ขอบคุณความคิดเห็นของนักคิดทั้งสองท่านครับ

ถ้าไม่มีกติกา ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นการแข่งขันด้วยซ้ำไป เช่นถ้าจะเล่นฟุตบอลกัน แล้วปล่อยให้นำขวานลงไปใช้เป็นอุปกรณ์การเล่นด้วยได้ ก็ไม่ใช่ฟุตบอลแล้วใช่ไหมครับ; ส่วนการแข่งขันที่มีกติกาแต่ไม่มีจริยธรรม กลับเป็นความป่าเถื่อนของผู้เล่น;  ถ้าไม่มีจริยธรรมและละเมิดกติกาด้วย บางทีเรียกว่า "เล่นการเมือง" ครับ ;-)

ข้อมูลเฉพาะกาล: เมื่อคืนผมมีโอกาสคุยกับ อ.ธวัชชัยครับ มีการบำรุงรักษาระบบ เพื่อย้ายฐานข้อมูล จึงจำเป็นต้องปิดระบบชั่วคราวระหว่าง 0:15 - 1:30น.ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท