สี่คืนห้าวัน ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติทุ่งสง ตอนที่ 1/2


เริมเรียนตีห้าครึ่ง เลิกเรียนสามทุ่ม มีที่ไหน มีที่นี่แหละครับ

จากการที่ผมได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร "การพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง" ที่ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติทุ่งสง รุ่นที่ 17 ระหว่างวันที่ 14-17 พฤษภาคม 2550  ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติทุ่งสง ตั้งอยู่ที่ 283 หมู่ 4 ต.นาโพธิ์ อ.ทุ่งสง จ. นครศรีธรรมราช มีเรื่องเล่าสู่กันฟัง

บ่ายวันที่ 13 เดินทางจากตรังด้วยมอเตอร์ไซด์ MTX คู่ชีพ ระยะทางจากบ้านถึงศูนย์ฯ ประมาณ 90 กิโลเมตร ด้วยเวลา ชั่วโมงกว่าๆ ก็เดินทางถึงศูนย์ฯ นัดเพื่อนเอาไว้เพื่อนผมเป็นลูกชายของผู้อำนวยการศูนย์ ก็เป็นเมื่อกับเม้งเช่นกันแต่เพื่อนติดงานมาหาผมที่ศูนย์ไม่ได้ พ่อของเพื่อนซึ่งเป็น ผอ.ศูนย์ฯ มารับไปนอนที่บ้าน คืนนี้ไม่ได้นอนที่ศูนย์เพราะยังไม่มีใครมา

วันที่ 14 เดินทางมาที่ศูนย์ฯ ตั้งแต่เช้า แต่จริงๆเริ่มการอบรมช่วงบ่าย เพราะต้องรอเพื่อนๆ เดินทางมาจากต่างจังหวัด ใกล้เที่ยงเพื่อนๆ ก็เดินทางมาพร้อมกันรับประทานอาหารเที่ยงเสร็จตอนบ่ายเข้าห้องอบรม แบ่งกลุ่มสี (ผู้เข้าอบรมประมาณ 30 คน) แนะนำวิทยากร  และการเริ่มงานอบรม ในการเกริ่น ด้วยอาจารย์สมคิด อินทนี นำสิ่งที่ผมจดมาได้ว่านิสัยคนไทยที่ต่างชาติเขามอง "ไร้วินัย ทำอะไรไม่เป็น ไม่เด่นอะไรซักอย่าง" เราต้องเปลี่ยนเป็น "วินัยเด่น เป็นงาน ชาญวิชา" จริงหรือเปล่าลองแลกเปลี่ยนกันนะครับ

อีกเรื่องคือ คุณเป็นคนประเภทไหน 

  • หัวไวใจสู้
  • รอดูทีท่า
  • เบิกตารอคอย
  • เหงาหงอยจับเจ่า
  • ไม่เอาไหนเลย

คุณเป็นคนประเภทไหนครับ

ต่อจากนั้นก็ ดต. นิรันดร์ พิมล ซึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ซึ่งอดีตเป็นตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ป่ามามากกว่าสามสิบปี ประสบการณ์ของท่านเพียบ เป็นนักพูดที่สุดยอด มาพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่เข้าใจได้ง่าย พูดถึง จุลินทรีย์ ปุ๋ย ส่วนใหญ่เป็นประสบการณ์ของท่านซึ่งน่าสนใจไม่น้อย อบรมเสร็จตอนหกโมงเย็นรับประทานอาหาร เข้าห้องเรียนอีกครั้งตอนหนึ่งทุ่ม ฟังเรื่อง เปิดสมองบ่งหนองความคิดโดย ปลัดเบิร์ด เพื่อนผมเองแหละจบรัฐศาสตร์ เป็น ปลัด อบต. เพื่อนเราเก่งจัง กลายเป็นวิทยากรไปแล้ว มันก็พูดเก่งนะพูดได้ 2 ชั่วโมงเลิก 3 ทุ่ม เลิกเรียนอาบน้ำนอน พรุ่งนี้ต้องเข้าห้องเรียนตีห้าครึ่ง นึกในใจ แปลกจังเข้าห้องเรียนตีห้าครึ่ง ไม่เป็นปัญหาสำหรับผมเพราะปกติผมตื่นกรีดยางตีสองตีสามอยู่แล้ว ผมนอนห้องควบคุมเสียงบนพื้นปูด้วยผ้าห่มรองนอนไม่มีเสื่อ สำหรับคนอื่นๆ นอนที่โรงนอนปูเสื่อ

วันที่ 15 ผมตื่นตีสี่ครึ่งอาบน้ำ แต่งตัวเสร็จ งานแรกที่ทำคือกวาดห้องเรียน  ตีห้าครึ่งเจ้าหน้าที่เปิดเพลงเรียกเข้าห้องเรียน เพื่อนมากันพร้อม เริ่มเรียน สอนโดย ดต. โชคชัยสมัครแก้ว อดีตตำรวจตระเวนชายแดนเช่นกัน แต่เป็น ตชด. ที่ไม่ได้อยู่ป่า เพราะอยู่โรงเรียน เป็นครู ตชด. นั่นเอง เรื่องที่เรียนคือ ธาตุอาหารของพืช ความรู้สึกเหมือนตอนเรียน ประถมมัธยมเลย เพราะลืมไปหมดแล้ว เลิกเรียนใกล้ๆแปดโมง เข้าแถวหน้าเสาธงเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ เชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา สวดมนต์ เหมือนตอนเป็นเด็กนักเรียนเลย อาหารมื้อเช้ารออยู่โรงครัวแล้ว เดินแถวไปทานกันได้เลย ลืมบอกไปว่าการทานข้าวต้อง ตักเอง ล้างจานเอง เก้าโมงเสียงเพลงเรียกเข้าห้องเรียนดังขึ้นอีกครั้ง เรื่องต่อไปคือเรื่อง การทำปุ๋ยโดย ดต.นิรันดร์ พิมล เล่าถึงการหมักจุลินทรีย์ ทำปุ๋ยน้ำ การทำปุ๋ยผง การทำปุ๋ยเม็ด การใส่ปุ๋ย  การแก้ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง รวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เช่น ยาเบาหวาน คาถาเรียกปลวก คาถากินบรเพ็ดให้หวาน  สำหรับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยใครสนใจถามผมเป็นการส่วนตัวนะครับ  ช่วงบ่ายดูการสาธิตการทำปุ๋ยแบบต่างๆ การเผาถ่านเพื่อเอาน้ำส้มควันไม้ รายละเอียดพวกนี้ค่อยมาเล่าให้ฟังนะครับ  หกโมงทานข้าวมือเย็น หนึ่งทุ่มเข้าห้องเรียน เรื่องที่จะเรียนคือ บัญชีครัวเรือน โดย คุณสมชาย ทองศรีนวล ผู้ช่วยหัวหน้าหน่วย ธ.ก.ส. อำเภอทุ่งใหญ่ สนจ. นครศรีธรรมราช ก็ได้ความรู้ดีครับเลิกเรียนสามทุ่มตามระเบียบ อาบน้ำนอน

#####

โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับยังไม่จบ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 98854เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2007 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แม้เข้ามาช้าไปหน่อย

แต่ได้แนวคิดดีๆ จาก ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ

ผมเคยไปเยื่ยมเยียน ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ของอาจารย์ยักษ์ครับ

ว่างๆ ผมอาจจะต้องไปแวะชม ที่นครศรีธรรมราชบ้าง เพราะผมบ้านอยู่นครฯ แต่มีโอกาสลงไม่บ่อยนักครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท