การส่งเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด


ยางวง ยืดเหยียด ออกกำลังกายในห้องผ่าตัด

การส่งเสริมสุขภาพในเจ้าหน้าที่                กระแสสังคมในการสร้างสุขภาพกำลังมาแรงประกอบกับการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลได้ผนวกงานส่งเสริมสุขภาพมาไว้ด้วยกัน  ฉะนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้งานส่งเสริมสุขภาพสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม   การที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งได้ขึ้นชื่อว่า   ผู้ให้บริการ  ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี  ต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีก่อนที่จะให้บริการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการได้   ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเราจะดูแลในเรื่องอาหารการกินเป็นอย่างดีอยู่แล้ว   อบายมุขก็ไม่มี   เหล้า  บุหรี่ก็ไม่ข้องเกี่ยว  แต่การที่ไปออกกำลังกายนั้นมันยากยิ่งสำหรับพวกเราโดยเฉพาะพยาบาลที่ต้องขึ้นเวรบ่าย  ดึก  หรือชีวิตนี้มีแต่งาน  คำอ้างที่จะไม่ออกกำลังกายที่จะได้ยินติดหูอยู่เป็นประจำก็คือ  ไม่มีเวลา  งานยุ่ง  งานเยอะ ฯลฯ  ที่พูดได้เต็มปากก็เพราะว่าตัวเองก็เคยอ้าง ( เป็นบางครั้งนะ )  งานประจำของพยาบาลที่บอกว่าขึ้นเวรบ่าย  ดึก  นั้นที่จริงถ้าเรามีความตั้งใจและตระหนักในการออกกำลังกายแล้วสิ่งนี้ก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป  อย่างเช่นงานห้องผ่าตัด   การที่จะไปออกกำลังกายในช่วงเวลาที่โรงพยาบาลจัดไว้ให้คือ  บ่าย  3  โมงของวัน  พุธและศุกร์  แทบจะเป็นไปไม่ไดเลย   เจ้าหน้าที่เราก็มีตั้งหลายคน  เราจะทำอย่างไรให้พวกเราชาว  OR  ได้ออกกำลังกาย   การบอกให้ไปออกกำลังกายโดยลำพังหลังออกเวรแล้วก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในสำหรับคนที่ไม่ชอบ   เพราะเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการนอนเพื่อเอาแรงไว้ต่อสู้กับงานในวันรุ่งขึ้น  เอาไว้ต่อสู้เมื่อยู่เวร  On  call   เพราะหมอชอบมา  Set  ผ่าตัดหลังจากที่ปิดคลินิกแล้ว   ก็ประมาณ  3  ทุ่ม  4  ทุ่ม   กว่าจะเสร็จก็ปาเข้าไปเกือบครึ่งคืน    เอ........ จะทำอย่างไรดีนะ?   ก็เลยส่งทีมไปขอคำปรึกษาจากงานออกกำลังกายเพื่อขอวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมและสามารถดัดแปลงให้ใช้ได้กับบริบทของห้องผ่าตัดซึ่งจะมีผ่าตัดเมื่อไรก็ไม่รู้   สถานที่ก็คับแคบ   งานออกกำลังกายก็เลยคำแนะนำให้ใช้ยางวงมาใช้ประกอบกับท่ายืดเหยียด    ซึ่งสามารถทำได้ดีกับการออกกำลังกายในร่มที่ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก   บางคนอาจจะสงสัย   เอ.....ยางวงใช้ออกกำลังกายได้อย่างไรนะ   เอายางวงมาถักก่อนค่ะ   ถักให้มีความยาวประมาณ  1  วา  เท่ากับความยาวของแขนเรา  2  ข้างนั่นแหละ   และการถักยางวงเพื่อให้มีความแข็งแรงเหมาะสมกับคนห้องผ่าตัดที่แข็งแรงอยู่แล้วก็ใช้ยางวงทีละ  810  เส้น   แล้วนำท่ายืดเหยียดประมาณ   10  ท่ามาประกอบกับการออกแรงยืดยางวง   ในช่วงแรกที่ผู้นำออกกำลังกายของห้องผ่าตัดนำมาเผยแพร่   ไม่ค่อยมีใครสนใจ   ไม่ชอบ   ตามประสาคนที่ชอบอ้าง   แต่การใช้กลุ่มซึ่งส่วนใหญ่ชอบที่จะออกกำลังกายและดูแลสุขภาพได้ดีอยู่แล้ว   ทำให้ทุกคนหันมาออกกำลังกาย  ออกมาหยิบยางวงยืดเหยียด   โดยใช้เวลาว่างหลังเสร็จสิ้นผ่าตัด   อาจจะเป็นช่วงบ่าย  3  โมง  หรือบ่าย  3  ครึ่ง  หลังจากนำวิธีการออกกำลังกายแบบนี้มาใช้แล้วหลายคนบอกว่าสนุกดี   ได้ทำพร้อม ๆ   กัน  คนที่ไม่เคยออกกำลังกายก็ออกมายืดเหยียดยางวง   ซึ่งการทำแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาน  30  นาที   อาการปวดขา  ปวดเมื่อยจากการยืนผ่าตัดมาทั้งวันก็หมดไป   แต่ขอเตือนสำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกาย   ในช่วงแรกอย่าโหมออกแรงดึงมากอาจจะทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ   แค่นี้ก็ได้เหงื่อ   สดชื่น   สดใส   ก่อนออกเวรไปปฏิบัติภารกิจงานประจำที่ยิ่งใหญ่ที่บ้าน   และเป็นผู้ให้บริการที่มีสุขภาพดี   สมกับคำว่า ผู้นำด้านสุขภาพ   

หมายเลขบันทึก: 97062เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ดีใจด้วยนะคะกับโครงการออกกำลังกาย
  • ขอให้แข็งแรงนะคะ
แล้วระหว่างหมอผ่าตัด เราออกกำลังกายไปด้วยได้ไหม
หมอก้อง.....  แค่ส่งเครื่องมือกับช่วยผ่าตัดแบบไม่ต้องให้หมอหงุดหงิด    แค่นี้ก็ทำยากแล้ว   ยังจะหาเรื่องมาออกกำลังกายตอนที่กำลังผ่าตัดอีกเห็นทีจะไม่รอด  ^ -  ^

สวัสดีค่ะ

เป็นสิ่งที่ดีมากๆเลย ค่ะ

อยากรู้เรื่อง ความพร้อมของพยาบาล ของห้องผ่าตัดหน่ะครับ

คือ หมอที่ รพ. อยากทราบว่า พยาบาลจะต้อง ฟิตร่างกายแค่ไหน (หมอบ่นว่า พยาบาล เหนื่อยง่าย)

ปล. รบกวนช่วยตอบทางเมล์นะครับ ขอบคุณครับ

ดีจังเลยค่ะ ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสกลนครก็เริ่มแล้ว ทำโยคะ เป็นอย่างไรจะเล่าให้ฟังต่อ

จาก เฉพาะทางรุ่น 4 จ้า

ตอนนี้ที่ ร.พ.พะเยากำลังฮิต คือ ฮูลาฮุก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท