concept idear เศรษฐจริยธรรม


ธุรกิจที่กำเนิดเพื่อสังคม

จากบันทึก 80:20 เศรษฐ จริยธรรม และ economicmorality

หาน้อยนักที่จะมีธุรกิจที่กำเนิดเพื่อสังคม มีแต่ธุรกิจที่ทำเพื่อสังคมแบบบังหน้า หรือสร้างภาพ

หากสามารถรวมกลุ่มหรือก่อตั้งเป็นสมาคมจะเป็นการรวมพลังที่เป็นกลุ่มก้อนที่ยิ่งใหญ่

เท่าที่คลุกวงใน คลุกวงนอกอยู่กับการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ SMEs ที่เป็นนโยบายของรัฐบาล ในจำนวนผูประกอบการใหม่ 1 ห้องเรียน จะมีคนที่ต้องการทำธุรกิจที่ทำเพื่อสังคม ประมาณ 3-4 คน หากเราจัดให้มีพื้นที่ เช่นสมาคมที่รวบรวมกลุ่มธุรกิจสายพันธ์ใหม่เล่านี้ รวมถึงกำหนดเส้นทางหรือนโยบายให้ชัดเจน จะเป็นการดียิ่งที่จะแสดงให้สังคมเห็น และโน้มน้าวให้ผู้ประกอบการที่มีลักษณะความคิดเช่นเดียวกัน เข้าร่วมเป็นสมาคมหรือชมรม

และพลังเพื่อสังคมจะได้รวมกันเป็นเครือข่ายและกลุ่มก้อน เป็น D-economic

เศรษฐจริยธรรม แบ่งเป็น

1. กลุ่มผู้ประกอบการที่มีการบริจาคเพื่อสังคมและองค์กรสาธารณะประโยชน์ (อาจจะต้องมีสิทธิพิเศษทางภาษีที่พิเศษกว่าปกติเพื่อกระตุ้น)

2.กลุ่มผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคอย่างจริงจัง (ระหว่างให้ iso หรือกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่บังคับให้ทำ กับทำเองโดยความตั้งใจจะทำจากใจจริง อย่างไหนจะทำได้ดีกว่ากัน )

3. กลุ่มผู้ประกอบการที่มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจที่เด่นชัด มีกระบวนการด้านคุณธรรมที่เด่นชัดในการดำเนินธุรกิจ

4.กลุ่มผู้ประกอบการที่ดำเนินธรกิจด้านคุณธรรมโดยเฉพาะ เช่นผู้ผลิตสื่อคุณธรรม สื่อสีขาว ในด้านmultimedia มีนักศึกษาที่มีพลังด้านนี้เยอะมาก แค่อาจจะยังขาดเวที หรือกระบวนการทางธุรกิจที่เข้าไปสนับสนุนอย่างจริงจัง

ส่วนใหญ่ นักสร้างสรรค์หรือนักประดิษฐ์ จะไม่รวมนักธุรกิจอยู่ด้วยในคนเดียวกัน ---->สมองถูกออกแบบให้เป็นเช่นนั้น เพราะเดี่ยวจะรวยกันหมด :)

เราจะมีวิธีที่ทำให้ไอเดียร์นี้เป็นจริงได้อย่างไร ช่วยกันให้ความคิดเห็นและคำแนะนำด้วยครับ

 

หมายเลขบันทึก: 94881เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2007 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เห็นด้วยค่ะ เศรษฐจริยธรรม ธุรกิจที่กำเนิดเพื่อสังคม แต่ความเป็นไปได้นั้นมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละบุคคลด้วย คงต้องสร้างและปลูกจิตสำนึกให้กับมนุษย์ตั้งแต่เยาว์วัย

ขอบคุณค่ะ

thank na kub kun
P

ผมคิดว่านักธุรกิจส่วนใหญ่ต้องการทำเพื่อสังคมอยู่แล้วครับ เราแค่จัดพื้นที่ ที่ชัดเจนเช่นการรวมกลุ่มเป็นสมาคม รวมถึงอาจจะต้องมีการสร้างแรงจูงใจอื่นๆ ด้วยครับ เช่นสิทธิประโยชน์ดด้านภาษีอากร ครับ

แต่ที่แน่ๆนะครับ หากสามารถสร้างเป็นเครือข่าย ของนักธุรกิจที่ทำเพื่อสังคมได้ บางทีอาจจะไม่ต้องหาลูกค้าภายนอกก็ได้ครับ อาศัยการเชื่อมโยงของธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ภายในเครือข่ายเดียวกัน ก็สามารถทำธุรกิจได้ครับ 

ตัวอย่างเช่น นักศึกษาที่มีความสามารถทางการออกแบบและคอมพิวเตอร์ อาจจะจับมือกับบริษัท animation เพื่อผลิตผลงาน ด้านสื่อคุณธรรม หรือสื่อสีขาวออกมาก็ได้ครับ

หรือตัวอย่างเช่นน้องๆที่มีพรสวรรค์ด้านดนตรี  เช่น วงสุจริตไตรทวาร โรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม จ.สมุทรปราการ (ทดลองฟังเพลง แด่องค์ผู้เป็นศูนย์รวมดวงใจ ได้ที่ส่วนรายละเอียดบล็อก ด้านบนขวาของบันทึกครับ) เพลงของน้องๆ เพราะและมีความหมายดีมาก เพียงแต่ขาดช่องทางที่จะสื่อไปให้ถึงกลุ่มผู้ฟังเท่านั้นเองครับ

อาจารย์ด้านบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ หรือผู้ที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจช่วยแนะนำและให้ความรู้ด้วยครับ ^^

 

เป็นแนวคิดที่ดีครับ

แต่ขออนุญาติเพิ่มเติมวงกลมล้อมรอบกรอบไว้ทั้งหมดของ Concept ไว้ในทุกอณูว่า ทุกอณู ทุกย่างก้าว โดยเฉพาะพื้นฐานของคนจะต้องตั้งอยู่บนศีลธรรม

ศีลธรรมที่เรียนรู้จากปัญญา

ศีลธรรมที่เรียนรู้จากการปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานแห่งศีิ

ศีลธรรมที่เรียนรู้จากศีลอยู่บนจิตของผู้ฝึกแห่งสมาธิ

ปัญญาในคนที่เกิดจากศีลและสมาธินั้นจะทำให้เศรฐจริยธรรมเกิดขึ้นและจรรโลงสังคมโลกได้อย่างจีรังตลอดไป

เจริญพร 

อีกฐานะหนึ่งในอดีตนั้น

อาจารย์ทางด้านบริหารธุรกิจ อาจารย์ุทุกคนสอนได้หมดอยู่แล้ว ให้สอนอะไรก็สอนได้หมด เพราะสอนอย่างเดียวไม่ต้องทำ สอนอย่างเดียวโดยที่ไม่เคยทำ สอนแต่สิ่งที่เป็นปรัชญา สอนอย่างไรก็สอนได้

เนี่ยแหละปัญหา.....

ถ้าสอนแล้วนำความคิดนี้ไปใช้ทางธุรกิจคงเจ๊ง (ในทางกำไร)

ถ้าสอนแล้วนำความคิดนี้ไปใช้ในชีวิตจะมีแต่ความสุขในทุกลมหายใจ

ต้องให้อาจารย์สอนบริหารธุรกิจมาใช้ชีวิตปฏิบัติธรรมอยู่กับวัดซึ่งเป็นวัดที่แท้

แต่นั่นก็แหละ แต่เข้าวัดแล้วก็ไม่อยากออกไปสอนอะไรที่มันเป็นสิ่งที่สร้างบาปสร้างกรรมโดยเฉพาะสอนบริหารธุรกิจ สอนให้คนไปเอา เอาเปรียบ เอาเงิน เอากำไร

คนที่เข้าวัดก็ไม่อยากออกไปสอน

คนที่สอนอยู่ก็ไม่อยากเข้าวัด

้สิ่งที่น่าคิดและฝากโยมคิดก็คือ ต้องเสนอหนทางแห่งสมดุลเรื่องของบริหารธุรกิจบนพื้นฐานของจริยธรรมและศีลธรรม โดยเฉพาะสังคมปัจจุบันที่มีแต่ความแก่งแย่งชิงดี สังคมทุนนิยม สังคมแห่งการเอาเปรียบ สังคมนี้ให้ได้

เจริญพร 

มาเยี่ยม...

มุมคิดทางจริยธรรมกับวัตถุยังสวนทางกันอยู่นะครับผมว่า...คือผู้เดินทางธรรมก็ทิ้งห่างวัตถุไปเรื่อย ๆ ...

กราบนมัสการ P พระ ปภังกร ขนฺติวโร
และสวัสดีคุณอา P umi ครับ

การรักษาโรค บางอย่างต้องปลูกฝังภูมิคุ้มกัน บางอย่างต้องเยียวยา และบางอย่างต้องตัดทิ้งครับ

เศรษจริยธรรมเป็นการเยียวยาครับ เพราะคนป่วยเริ่มมีอาการไม่น่าไว้วางใจ อาจลุกลามเข้าขั้นวิกฤตได้

หากเราช่วยกันสร้างกระแสจิตอาสาเพื่อสังคมให้กับองกรค์ธุรกิจได้ จิตอาสาระดับบุคคลที่อยู่ภายใต้องกรค์นั้นก็จะตามมาด้วยครับ

ผมเห็นต่างแต่ไปในทางเดียวกันกับความเห็นของคุณอา umi นะครับ  ผู้เดินทางธรรมไม่ได้ทิ้งห่างวัตถุเลยครับ กลับสร้างวัตถุนิยมออกมาขนานใหญ่ เช่นกระแสจตุคามและการแข่งกันสร้างสวรรค์ชั้นฟ้า และวัตถุมหึมาชนิดต่างๆ 

    

ทำอย่างไรครับให้วัตถุเดินไปควบคู่กับจิตใจอันดีอย่างกลมกลืน
  • องกรค์การกุศลหลายองกรค์เริ่มขยับสู่ธุรกิจเพื่อสังคม
  • องกรค์ธุรกิจเอกชนบางแห่งเริ่มให้ความสนใจ

ธุรกิจเพือสังคม อาจเป็นคำตอบและจุดเปลี่ยนที่ว่า ทำอย่างไรให้จิตใจและวัตถุพัฒนาไปควบคูกัน.................... 

แต่จะมีใครสักกี่คนละ ที่เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ทั้งๆที่สิ่งนี้ สามารถพลิกเปลียนโลก......วัตถุนิยมได้  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท