80/20 เศรษฐจริยธรรม


80/20 เศรษฐจริยธรรมกับความพอเพียง

80 / 20
   "หลักการพาเรโต" ตั้งขึ้นในปี 1895 ชื่อนี้ตั้งขึ้นตามชื่อผู้สร้างกฎ ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยน ชื่อ "วิลเฟรโด พาเรโต "

 

 .

กฎดังกล่าวอธิบายถึงสิ่งที่สำคัญหรือมีประโยชน์จะมีอยู่เป็นจำนวนที่น้อยกว่าสิ่งที่ไม่สำคัญหรือไม่มีประโยชน์ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่า (Vital few and trivial many) ในอัตราส่วน 20 ต่อ 80 หรือที่เรียกกันว่ากฎ 80/20 ของพาเรโตนั่นเอง

1.ความหมายของกฎ 80/20

 

กฎ 80/20 หมายความว่า สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นกฏที่แสดงถึงความไม่สมดุล ที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน และในระดับมหาภาค เช่น ....

  • เสื้อผ้าทั้งหมดของเรา จะมีตัวเก่งที่เราสวมใส่ประจำอยู่เพียงไม่กี่ตัวหรือเพียง20เปอร์เซนต์เท่านั้นเอง (แล้วจะซื้อเก็บไว้ให้ล้นตู้ทำไม?)
  • หากคุณครูให้จับกลุ่มกันทำรายงานจำนวน 10 คน จะมีเพียง 2-3คนเท่านั้นที่เป็นแกนนำในการทำงานเกือบทั้งหมด ที่เหลือจะช่วยกันทำงานเล็กๆน้อยๆเท่านั้น
  • หากเราจะอ่านหนังสือสอบ จะมีเนื้อหาเพียง 20เปอร์เซนต์ในเล่มเท่านั้นที่ออกข้อสอบ แต่ประเด็นสำคัญคือ เนื้อหาส่วนนี้อยู่ที่ไหนของเนื้อหาทั้งหมดภายในเล่ม
  • หากเราเป็นเจ้าของร้านสะดวกซื้อ จะพบว่า รายได้กว่า 80เปอร์เซนต์ จะมาจากรายการสินค้าเพียง 20เปอร์เซนต์จากรายการสิ้นค้าทั้งหมดในร้าน ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่ารายการสิ้นค้าที่ให้รายได้น้อยนั้นไม่มีความสำคัญ ในทางกลับกัน รายการสินค้าที่หลากหลายจะทำให้ขายสินค้าได้ 
  • ดังนั้นเราจึงสามารถใช้กฎ 80/20 นี้อธิบายได้ในแทบจะทุกสิ่ง

2.การนำกฎ 80/20ไปใช้ในการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หากเราพบว่า สิ่งไหนให้ประโยชน์สูง ก็ควรเน้นส่งเสริมสิ่งนั้น หรือในทางตรงกันข้ามกันให้เพิ่มประสิทธิผล ของสิ่งจำนวนมากที่เหลือให้ขยายรากฐานกว้างขึ้น เช่นการมุ่งเน้นส่งเสริมเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็ง

3.การนำกฎ 80/20ไปใช้อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม 

  • คนรวยจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ของคนทั้งประเทศและมีทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดGDP รวมกันคิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินหรือรายได้มวลรวมประชาชาติของคนทั้งประเทศ....
  • แต่ ถ้าเรายึดหลักเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว(ไม่มีคุณธรรม,จริยธรรม) ไปให้ความสำคัญและสนับสนุนธุรกิจของคนรวยเพียงอย่างเดียว ผลลัพธ์ จะออกมาเป็นตัวอย่างและบทเรียนอย่างที่เราเคยเห็นในวิกฤติเศรฐกิจฟองสบู่แตก ความเสียหายมากกว่า 80เปอร์เซนต์ จึงมีสาเหตุมาจากสาเหตุจากกลุ่ม 20 เปอร์เซนต์เท่านั้น
  • รายได้ส่วนใหญ่ 80เปอร์เซ็นต์มาจากลูกค้าประจำ และอีก 20เปอร์เซ็นต์ มาจากลูกค้าใหม่ ซึ่งเราจะให้ความสนใจกับลูกค้าเก่า หรือลูกค้าใหม่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ดังนั้นเราต้องรักษาลูกค้าประจำ และทำให้ลูกค้าใหม่กลายเป็นลูกค้าประจำให้ได้ ฝรั่งจึงคิด CRM (customer relationship management)ขึ้นมา ซึ่งจริงๆแล้วสิ่งนี้มีอยู่แล้ว คือน้ำใจเอื้อเฟ้อแบ่งปันที่มีระหว่างกัน การพูดทักทายสาระทุกข์สุขดิบ หรือสามารถทำได้ง่ายๆด้วยรอยยิ้ม ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยไหนๆแล้ว แค่ฝร่งเขาเอามาประยุกต์ทำขึ้นเป็นระบบเท่านั้นเอง 
  • ลูกค้าเพียง 20 เปอร์เซ็นต์จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมทั้งหมด ส่วนลูกค้าอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้กับบริษัท หลายรายที่จ่ายเงินช้า,ประวัติการชำระเงินไม่ดี,มีเรื่องบ่นหรือต่อว่าอยู่ตลอด รวมไปจนถึงหลายรายที่เป็นหนี้สงสัยจะสูญ ฯลฯ ทำให้บริษัทมีรายได้เพียงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หากไม่มีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียวแล้ว การไม่ให้ความสำคัญต่อลูกค้ากลุ่มนี้หรือลูกค้าที่ก่อปัญหาเหล่านี้ อาจทำให้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององกรค์ได้เลยทีเดียว โดยมีตัวอย่างให้เห็นได้จาก กรณีทุบรถยนต์ เป็นต้น
  • 80 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายมาจาก 20 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานขายที่มีประสิทธิภาพ หรือในทางกลับกัน พนักงาน 80เปอร์เซ็นต์สร้างผลผลิตให้บริษัทได้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ หากไม่ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน แต่กลับให้พนักงานส่วนนี้ออกจากงาน ความเสียหายที่ไม่คาดคิดจะส่งผลต่อองค์กร มากกว่า 80เปอร์เซนต์แน่นอน

4.การนำกฎ 80/20ไปใช้ในการบริหารชีวิตและเวลา

หากทำบัญชีรายจ่ายส่วนตัวของเรา จะพบว่า รายจ่ายส่วนใหญ่ 80เปอร์เซนต์ จะอยู่ในกลุ่มรายการข้อรายจ่ายเพียง 20เปอร์เซนต์ ของรายการทั้งหมด  กลุ่มรายการเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นรายการที่รับประทานไม่ได้ หากรับประทานไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกาย เช่น รายการของ  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์,บุหรี่,ค่าเติมเงินมือถือสำหรับคุยไร้สาระ ค่าเสื้อผ้าแฟร์ชั่น และค่าเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่คนส่วนใหญ่หลงคิดไปว่า ใช้เงินสำหรับซื้อความสุข ซึ่งความสุขที่ได้ซื้อมานั้น จะสุขแบบชั่วครั้งชั่วคราว สุกๆดิบๆ ไม่สุขจริง และเมื่อหมดสุข ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้อหาความสุขใหม่เปรียบได้กับการเป็นทาสของกิเลสตัณหา มีความสุขจอมปลอมเป็นสารเสพติด บังคับให้ผู้เสพต้องดิ้นรนไขว่คว้าเงินตราไปซื้อหาอย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้นหากควบคุมรายการรายจ่ายจำนวน 20เปอร์เซนต์นี้ได้ ด้วยการชนะใจตนเอง  จะทำให้ลดรายจ่ายส่วนมากที่มีปริมาณถึง 80เปอร์เซนต์

เราควรให้ความสำคัญของการใช้เวลาในการทำงานประจำวันของเราว่า เวลา80เปอร์เซนต์ที่คุณใช้ไป ให้คุณค่าหรือผลงาน 20เปอร์เซนต์ที่มีคุณภาพที่สุดออกมาหรือยัง  งานแต่ละอย่างอาจใช้เวลาเท่ากันในการทำให้สำเร็จ แต่จะมีอยู่ 1 - 2 งาน เท่านั้น ที่จะให้คุณค่ามากเป็น 5 เท่า หรือ 10 เท่าของงานอื่น

หากคุณเป็นคนผลัดวันประกันพรุ่งในงาน 1-2 ชิ้นนั้น คุณก็จะกลายเป็นคนที่ยุ่งตลอดวัน โดยทำงานได้สำเร็จน้อยมาก คุณกำลังทำงานที่มีคุณค่าต่ำ และผัดวันประกันพรุ่งในงานสำคัญอยู่หรือเปล่า ใช่แล้ว.....งานสำคัญของคุณคือ การสะสมทรัพย์ภายใน หาใช่ทรัพย์ภายนอกไม่ 

5.กฎ 80/20เศรษฐจริยธรรม

ทุกคนก็รู้อยู่แก่ใจว่า ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย ทรัพย์สินเงินทองทั้งหลาย ตายไปก็เอาไม่ได้ มีเพียงความดีความชั่ว หรือที่เรียกว่ากรรมเท่านั้นที่ติดตัวไป แต่เรากลับใช้เวลาทั้งชีวิตของเรามากกว่า 80 เปอร์เซนต์ไปทุ่มเทให้กับสมบัตินอกตัว โลภในสิ่งที่ว่างเปล่า ดิ้นรนไข่วคว้าอากาศธาตุ กิเลสตัณหาและวัตถุนิยมเข้าครอบงำจิตใจ สังคมเราบ้านเมืองเราจึงเข้าขั้นวิกฤติอย่างที่เห็น

เรามาประยุกต์กฎ 80/20 แล้วนำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ขึ้นดีไหม

5.1 หลักการของเศรษฐจริยธรรม

80เปอร์เซนต์ ของกำไรทั้งหมด จะถูกนำไปใช้เพื่อสังคมและส่วนรวม 20เปอร์เซนต์ ของกำไรที่เหลือจึงค่อยเป็นรางวัลให้กับตนเอง

80เปอร์เซนต์ จะแบ่งเป็น 40+40 40แรก เพื่อการลงทุนเพิ่มในกิจการหรือธุรกิจ 40 ที่เหลือ หากเป็นธุรกิจ SME 15เปอร์เซนต์จะเป็นภาษีที่ต้องจ่าย ที่เหลืออีก 25เปอร์เซนต์ จะเป็นเงินบริจาคเพื่อการกุศลและสาธารณะประโยชน์

  • 80 = 40+(25+15) [ลงทุนในกิจการ+(ตอบแทนสังคม+เสียภาษี)] 
  • 20 = ส่วนตัว (เข้ากับหลักการเศรษฐกิจพอเพียง)
  • ส่วนของ 40เปอร์เซนต์ที่เป็นการลงทุนในกิจการหรือองกรค์ เปรียบเสมือนการทำเพื่อสังคมและส่วนรวมทางอ้อมอย่างหนึ่ง เพราะภายในองกรค์ต้องมีผู้คนมากมาย คอยผลักดันให้มีการทำงาน เป็นสหสังคมย่อย ในสังคมใหญ่เลยทีเดียว หากลงทุนเพิ่ม สัดส่วนของกำไรและส่วนของ 40เปอร์เซนต์ที่ต้องเสียภาษี และเงินบริจาคเพื่อการกุศลและสาธารณะประโยชน์ก็จะเพิ่มตามด้วย
  • หากภายใน 1เดือน ธุรกิจของเรามีกำไร 1 แสนบาท เราก็จะได้ใช้เพื่อส่วนตัว 2หมื่นบาท และเพื่อการลงทุนเพิ่ม หรือปรับปรุงพัฒนากิจการ 4หมื่นบาท ส่วน 4หมื่นบาทที่เหลือ จะเป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย และตอบแทนกลับคืนสู่สังคม

สัดส่วน 80/20 นี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจส่วนบุคคลที่ขึ้นอยู่ว่าจะเต็มใจและพอใจในการบริหารจัดการส่วนของการตอบแทนสังคมมากหรือน้อยเท่าใด อย่างน้อยที่สุดเราก็จะมีนักธุรกิจสายพันธ์ใหม่ที่ไม่ได้ทำเพื่อสังคมเพื่อภาพลักษณ์ขององกรค์แบบบังหน้าเท่านั้น แต่เป็นธุรกิจที่ตั้งใจเกิดเพื่อสังคมโดยแท้

5.2 การประยุกต์ใช้เศรษฐจริยธรรม กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง คือการนำหลักธรรมะข้อ เดินสายกลาง มาประยุกต์ใช้กับชีวิต ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามาถ ทรงนำธรรมะมาประยุกต์ใช้ได้อย่างลงตัวกับการดำเนินเศรษฐกิจ ทรงเป็นแบบอย่างของพ่อที่ดีให้กับลูกของพระองค์ทั้งประเทศ

พอเพียร พอเพียง พอดี คือหลักธรรมข้อ เดินสายกลาง เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วด้วยปัญญา ผสมผสาน พัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตน ใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นแก่การดำรงค์ชีวิต ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณา ไม่เป็นทาสทางวัตถุ ไม่ตามกระแส ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ไม่ประมาท ไม่สร้างหนี้สิน สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ เป็นการพัฒนาแล้วที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

หากธุรกิจทุกๆธุรกิจของคนในชาติ ไม่ว่าจะเป็น SMEs หรือธุรกิจขนาดใหญ่ ประยุกต์ใช้กฏ 80/20 ตามเศรษฐศาสตร์จริยธรรมนี้แล้ว แม้นักธุรกิจไทยจำนวนเพียงไม่ถึง 20เปอร์เซนต์ต่างมีจิตสำนึกที่จะใช้หลักเศรษฐจริยธรรมนี้ ประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรืองแบบก้าวกระโดดมากกว่า 80เปอร์เซนต์แน่นอน ชาติไทย จะกลายเป็นประเทศที่มี GHP(Gross Happiness Product)และ GNP(Gross National Happiness) ความสุขมวลรวมประชาชาติสูงที่สุด และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งด้านจิตใจและวัตถุที่แท้จริง

แนวความคิดเศรษฐจริยธรรมนี้ แม้จะไม่มีใครเห็นด้วยหรือปฏิบัติตามเลย แต่ที่แน่ๆคือ ผู้เขียนขอสัญญาว่าจะเป็นนักธุรกิจที่ทำตามแนวความคิดนี้อย่างแน่นอน

 

6.ตัวอย่างของเศรษฐจริยธรรม

 

.

.

คนที่รวยที่สุดในโลกอย่างบิลเกต Bill Gate แห่งไมโครซอฟท์ นอกจากเงินทุกเหรียญจะได้มาอย่างบริสุทธิ์ และเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ในแต่ละปีเขายังบริจาคช่วยสังคม อย่างไม่ขาดสาย  ล่าสุดยังประกาศว่าจะเพิ่มเงินบริจาคผ่านมูลนิธิตัวเองจากเดิมปีละ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 900 ล้านเหรียญ หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 3 เท่าตัว

ที่สำคัญ เขายังออกมาประกาศไว้ว่า หากเขาเสียชีวิต ทรัพย์สินเกือบทั้งหมดของเขา จะถูกนำไปบริจาค เพื่องมูลนิธิและการกุศล เหลือเงินเพียงนิดหน่อยพอสมฐานะเท่านั้นที่ให้กับทายาท นี่คือเศรษฐจริยธรรมที่แท้จริง....

.

 

.

คนรวยที่รวยเป็นอันดับ1และ2 ของโลกต่างใจตรงกันที่จะกระทำสิ่งนี้ที่สำคัญคือไม่ได้กระทำเพียงเพราะต้องการสร้างภาพแต่เป็นการกระทำที่ออกมาจากใจจริงๆ

น่าแปลกใจไหมว่า..คนจนที่บ้าหอบเศษเงินจำนวนไม่ถึงแสนล้าน ตะลอนไปรอบโลก ชนิดที่ไม่มีแผ่นดินให้เหยียบ ทำไมจึงไม่ยอมปล่อย ไม่ยอมวางของหนักๆ บาปหนักๆกันเสียที

ธุรกิจระบบทุนนิยมจะเข้าครอบงำทุกองกรค์ในชาติไม่เว้นแม้แต่องค์กรทางศาสนา ดังนั้น"เศรษฐจริยธรรม"เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างขึ้นมา หากปล่อยให้เรื่องคุณธรรม กลายเป็น คุณ-นะ-ทำ ผมไม่ทำ แล้ว เกรงว่า อีกไม่นานวิกฤติคุณธรรม จะต้องกลายเป็นวิกฤติโลก
หมายเลขบันทึก: 92765เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2007 05:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท