สัมมนาจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนที่ลำปาง


เครือข่ายจัดการความรู้ 6 พื้นที่

หน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน ม.วลัยลักษณ์ โดยการสนับสนุนของสกว.และศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ(ศตจ.)ได้จัดสัมมนาเครือข่ายวิจัยจัดการความรู้ 6 พื้นที่คือเชียงใหม่ ลำปาง สมุทรปราการ ตราด นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 25-26 มิ.ย. 2548 ที่ลำปาง

กระบวนการสัมมนา แนวคิดในการออกแบบกระบวนการ ข้อคิดเห็น ข้อสรุปและเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมรวมอยู่ในบันทึกนี้ครับ

1) กำหนดการ (ข้อคิดเห็น1)

2)ข้อคิดเห็นของอ.วิจารณ์ พานิช (ข้อคิดเห็น2)

3)เบื้องหลังการออกแบบกระบวนการ (ข้อคิดเห็น3)

4)สรุปการสัมมนาโดยทีมประสานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมทำAAR (ข้อคิดเห็น4)

5)ข้อคิดเห็นจากอ.สุกัญญา สงขลา (ข้อคิดเห็น5)

6)ข้อคิดเห็นจากอ.ไพโรจน์ นครศรีธรรมราช (ข้อคิดเห็น6)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 948เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2005 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

โครงการสัมมนา "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน"

ครั้งที่ 3

----------------------------------------------------------------------------------------------

หน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประสานและสนับสนุนให้เกิดการสร้าง สังเคราะห์ เชื่อมโยง ถ่ายทอดและขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นใน ชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ทำให้การดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชนมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผลเชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยดำเนินการผ่าน

.งานวิจัยและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนระดับตำบลจำนวน 6 พื้นที่ทั่วประเทศ

๒.การเชื่อมโยงเครือข่ายและจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันบนฐานข้อมูลสารสนเทศและความรู้ของภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการนำความรู้ไปใช้งานอย่างหลากหลาย เอื้อให้เกิดความเข้มแข็งขึ้นในชุมชนและช่วยแก้ปัญหาความยากจน

วัตถุประสงค์ของสัมมนา

๑. เพื่อสร้างความเข้าใจและฝึกทักษะการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนให้กับ1)นักวิจัย 2)ผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้ (คุณอำนวย) และ3) ผู้จัดการความรู้ (คุณกิจ)

๒. เพื่อนำเสนอสถานะการณ์ของขบวนองค์กรการเงินชุมชนในพื้นที่ แนวคิดและแผนการดำเนินงานของแต่ละทีมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน

ผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 45 คน ประกอบด้วย

๑. ทีมงานจาก 7 พื้นที่ (เชียงใหม่ ลำปาง สมุทรปราการ ตราด สงขลา และนครศรีธรรมราช) ประกอบด้วยนักวิจัยจำนวน 14 คน คุณอำนวย และคุณกิจจำนวน 21 คน

๒. ภาคีจัดการความรู้เรื่ององค์กรการเงินชุมชนจำนวน 4 คน

๓. สกว. และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน

๔. ทีมประสานงานจากหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนจำนวน 3 คน

 

วันดำเนินการ

วันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2548

วันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2548

 

สถานที่ดำเนินงาน

ห้องประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จังหวัดลำปาง

 

หน่วยงานรับผิดชอบ

หน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

หน่วยงานสนับสนุน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)และศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ(ศตจ.)

กำหนดการสัมมนา "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน"

หน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ ภาคีพัฒนาและวิจัย

โดยการสนับสนุนของ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ

วันที่ 25 - 26 มิถุยายน 2548

ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จังหวัดลำปาง

 


 

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2548

สำหรับท่านที่ต้องเดินทางไกล สามารถเข้าพักได้ที่โรงแรมเอ็มอา อำเภอเมือง จังหวัดลำปางตั้งแต่วันที่ 24 ซึ่งเป็นที่พักแรมในการสัมมนาครั้งนี้

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2548

8.00 น. เดินทางไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 - 09.30 น. เปิดการประชุม ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสัมมนา

09.30 - 12.00 น. นำเสนอพื้นที่ศึกษาโดยทีมงานของแต่ละพื้นที่ ๆละ 30 นาที

(ปัจจัยภายใน) - สภาพชุมชน และสถานะการณ์องค์กรการเงินชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย (เป็นอย่างไรและจะศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องอะไร เพื่ออะไร?)

(ปัจจัยภายนอก) -ระบบสนับสนุน ทั้งนโยบายและกลไกสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน (เป็นอย่างไรและจะศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องอะไร เพื่ออะไร?)

(การจัดการความรู้) -โมเดลโมบายปลาตะเพียน ส่วนหัวปลา : กลุ่มองค์กรการเงินชุมชนเป้าหมายที่จะดำเนินการจัดการความรู้ เป้าหมายของการจัดการความรู้ในระดับเครือข่าย กลุ่ม และสมาชิก ?

ส่วนกลางลำตัว : กระบวนการจัดการเรียนรู้(แผนกิจกรรม)

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง

13.00 - 14.30 น. นำเสนอพื้นที่ศึกษาโดยทีมงานของแต่ละพื้นที่ ๆละ 30 นาที (ต่อ)

14.30 - 17.00 น. อบรมปฏิบัติการ "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน"

แยกเป็น 3 กลุ่ม ๆละ 3 วง (วงคุณวิจัย คุณอำนวย และคุณกิจ)

(1)สงขลา*ลำปาง ประยุกต์เครื่องมือธารปัญญา ระดมความเห็น"ความรู้และทักษะที่นำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้"

(2 ,3) เชียงใหม่* เป้าหมายคุณวิจัย : ตอบคำถาม/วัตถุประสงค์การวิจัย และรายงานการวิจัยที่มีคุณภาพ

สมุทรปราการ*ตราด เป้าหมายคุณอำนวย : จัดการเรียนรู้ที่เอื้อให้คุณกิจบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

*นครศรีธรรมราช เป้าหมายคุณกิจ : ดำเนินการให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้17.30 - 21.00 น.

ลงพื้นที่อำเภอเถิน ดูงานสวัสดิการวันละบาท

19.00 - 20.00 น. รับประทานอาหารเย็นในพื้นที่

21.00 น. เดินทางกลับที่พัก

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2548

08.00 น. เดินทางไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 - 12.00 น. อบรมปฏิบัติการ "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน" (ต่อ)

: สร้างตัวชี้วัด ประเมินความสามารถของตนเองและระดับที่คาดหวังว่าจะพัฒนาใน 1 ปี

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง

13.00 - 16.00 น. อบรมปฏิบัติการ "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน" (ต่อ)

: สุนทรียสนทนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์

16.00 - 17.30 น. หารือการจัดประชุมวิชาการ "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนครั้งที่ 1" ในเดือนกันยายน 2548

17.30 น. ปิดการประชุม แยกย้ายกันกลับโดยสวัสดิภาพ

***************************************************************************************

สคส. ได้รับหนังสือเชิญจากคุณภีม ภคเมธาวี ผู้ประสานงานหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้เข้าร่วมสัมมนาที่ลำปาง ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน ครั้งที่ 3” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนของเครือข่ายวิจัยแต่ละพื้นที่ การประชุมจัดระหว่างวันที่ 25 – 26 มิ.ย.48 ในช่วงเวลา 2 วันนี้ ผู้จัดการประชุมใช้เวลา 8.5 ชม. จัด “อบรมปฏิบัติการ การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรชุมชน” แยกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 วง (วงคุณวิจัย, คุณอำนวย, และคุณกิจ) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 45 คน โดยมี “หัวปลา” ของการอบรมแต่ละวงคือ · คุณวิจัย : วัตถุประสงค์ของการวิจัย · คุณอำนวย : การจัดการเรียนรู้ที่เอื้อให้คุณกิจบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ · คุณกิจ : บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การประชุมนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการแรกเป็นเรื่องของการจัดการความรู้คือ “เพื่อ สร้างความเข้าใจและฝึกทักษะการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนให้กับ 1) นักวิจัย 2) ผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้ (คุณอำนวย) และ 3) ผู้จัดการความรู้ (คุณกิจ) ผมพยายามอ่านจากเอกสารที่คุณภีมส่งไปให้ คิดว่าวิธีการที่คุณภีมจัดไม่เหมือนกับที่ สคส. ใช้ และเข้าใจว่าวิธีการของคุณภีมจะเน้นที่ “ความรู้ชัดแจ้ง” (Explicit Knowledge) มากกว่า “ความรู้ฝังลึก” (Tacit Knowledge) แต่ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้ เนื่องจากคุณภีมฉีกแนวปฏิบัติไปจาก สคส. ดังนั้นถ้าพบอะไรใหม่ ๆ ในวิธีการที่ฉีกแนวไปนี้ สคส. ก็อยากเรียนรู้จากประสบการณ์ของคุณภีมและคณะ เล่าประสบการณ์ให้ฟังกันบ้างนะครับ วิจารณ์ พานิช 14 มิ.ย.48

แนวคิดเบื้องหลังการออกแบบกระบวนการสัมมนา

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ข้อคิดเห็นครับ

ผมมีคำอธิบาย ขยายความกระบวนการที่ผมออกแบบไว้ดังนี้ครับ

คราวที่แล้วเครือข่ายจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนเชิญอ.ประพนธ์อบรมปฏิบัติการเครื่องมือ ธารปัญญากับนักวิจัยและคุณอำนวยโดยใช้เป้าหมายที่ต้องการบรรลุของคุณกิจเป็นประเด็นเดินเรื่อง

บางคนได้เอาเครื่องมือธารปัญญาไปทดลองใช้ในพื้นที่กับกลุ่มองค์กรการเงินชุมชนพบว่าค่อนข้างยาก

ผมได้ทดลองกับวงคุณอำนวยซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน 7-8หน่วยงานที่นครศรีธรรมราช โดยทำเป็นโครงการความร่วมมือ(ตอนนี้ผู้ว่าอนุมัติงบซีอีโอให้ดำเนินการขยายผลจาก 3 หมู่บ้านที่เราทำกันเองเป็น 3 ตำบลแล้วครับ)พบว่ากระบวนการค่อนข้างยุ่งยาก ผมจึงประยุกต์ เครื่องมือธารปัญญาใหม่ ดังนี้ครับ

กระบวนการจะเน้น

1)การสร้างพลังจินตนาการ(ส่วนใหญ่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันด้วยบรรยากาศที่ดีจะมีจินตนาการด้านบวกและ สร้างสรรค์)เพื่อกำหนดเป้าประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ (ทำส่วนหัวปลา)

จากนั้นใช้เครื่องมือจัดการเรียนรู้ ท่อนแรกของธารปัญญาโดยการ

2)ระดมความเห็น (ปลุกให้คิดเพื่อให้สมองตื่นตัว ว่องไว)จากประสบการณ์ในปัจจัย(ความสามารถ)ที่นำไปสู่ เป้าหมาย (ความเห็นก็คือความรู้จากประสบการณ์ -TK)

3)จากนั้นทำความเห็นให้ละเอียดขึ้นโดยกำหนดตัวชี้วัดในระดับต่าง ๆ (ย่อยความรู้-TKให้ละเอียดขึ้น)แล้วให้แต่ละคนประเมินตนเองและระดับที่ต้องการจะไปให้ถึง

ให้เวลาแต่ละคนอยู่กับตนเองเพื่อเชื่อมโยงภาพฝัน ปัจจัยและทักษะความรู้ของตนเอง

4)จบขั้นตอนที่ 2 แล้ว(ในวง-แต่ละคน-จะมีภาพฝันจากจินตนาการ เห็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จและเห็นตำแหน่ง-ประสบการณ์(ความรู้)-ของตนเอง

5)จากนั้นจะข้ามไปเรียนรู้จากกันและกันเลย (ไม่ทำแผนภูมิสายน้ำ ขั้นบันได) โดยใช้สุนทรียสนทนา (กระบวนการนี้จะไม่เน้นการคิด แต่เป็นการเปิดเผยตัวตน โดยเล่าประสบการณ์จากเรื่องที่ตนเองทำสำเร็จหรือภูมิใจ เล่าจากใจ ไม่ใช่ความคิด ซึ่งจะเชื่อมร้อยกับจินตนาการ(ความฝัน)และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(เหตุผล)โดยอัตโนมัติ

เชื่อม 3 พลังเข้าด้วยกัน

ในธรรมชาติของการเรียนรู้จะมีทั้งรับและให้โดยการฟังและนำไปเทียบเผชิญกับประสบการณ์ของ ตนเอง กระบวนการอบรมนี้เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการพบปะกันในวงสนทนา (ที่จริงมนุษย์ก็ แลกเปลี่ยนประสบการณ์-ความรู้-กันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่เล็งเป้าหมายเพื่อหวังผลเชิงประสิทธิภาพแบบธุรกิจ)

ผมในฐานะเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ก็จะจัดกลุ่มให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกันอย่างสอดคล้องที่สุดจากข้อมูลของผู้เข้าร่วมและเนื้อหาโครงการที่ผมมีอยู่ ในฐานะผู้ประสานงาน (ซึ่งท่อนแรกของการสัมมนา จะให้แต่ละทีมนำเสนอให้คนอื่นรับรู้ภาพรวมโดยสรุปของแต่ละพื้นที่ ให้ใกล้เคียงกับที่ผมรับรู้)

ถ้าเป็นการเรียนรู้จากงานก็ต้องไปดูของจริง ซึ่งการอบรมก็ออกแบบไว้ส่วนหนึ่งในตอนเย็น

และโดยที่กระบวนการเหล่านี้เป็นการฝึกทักษะ แต่แก่นของการจัดการเรียนรู้คือหัวใจที่เปิดรับซึ่งต้องสร้างมิตรภาพโดยบรรยากาศที่เป็นกันเองให้รู้สึกถึงความเป็นพวกพ้องในความสัมพันธ์แห่งมิตรเพื่อเกื้อหนุนกัน(เสริมพลัง)ไปสู่เป้าหมายที่ดีร่วมกัน เราจึงผนวกการดูงานกับการทานข้าวเย็นในชุมชนด้วย

ที่จริงตั้งใจเรียนเชิญอาจารย์ไปร่วมสังเกตการณ์ เพื่อจะได้ฟังเสียงสะท้อนของอาจารย์หลังจากจบกระบวนการแล้ว แต่อาจารย์ให้ข้อคิดเห็นก่อนก็เป็นประโยชน์ครับ อย่างน้อยก็ทำให้ผมเตรียมการมากขึ้น

ถ้าอาจารย์พอมีเวลาก็เรียนเชิญนะครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ข้อคิดเห็นครับ

ผมมีคำอธิบาย ขยายความกระบวนการที่ผมออกแบบไว้ดังนี้ครับ

คราวที่แล้วเครือข่ายจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนเชิญอ.ประพนธ์อบรมปฏิบัติการเครื่องมือ ธารปัญญากับนักวิจัยและคุณอำนวยโดยใช้เป้าหมายที่ต้องการบรรลุของคุณกิจเป็นประเด็นเดินเรื่อง

บางคนได้เอาเครื่องมือธารปัญญาไปทดลองใช้ในพื้นที่กับกลุ่มองค์กรการเงินชุมชนพบว่าค่อนข้างยาก

ผมได้ทดลองกับวงคุณอำนวยซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน 7-8หน่วยงานที่นครศรีธรรมราช โดยทำเป็นโครงการความร่วมมือ(ตอนนี้ผู้ว่าอนุมัติงบซีอีโอให้ดำเนินการขยายผลจาก 3 หมู่บ้านที่เราทำกันเองเป็น 3 ตำบลแล้วครับ)พบว่ากระบวนการค่อนข้างยุ่งยาก ผมจึงประยุกต์ เครื่องมือธารปัญญาใหม่ ดังนี้ครับ

กระบวนการจะเน้น

1)การสร้างพลังจินตนาการ(ส่วนใหญ่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันด้วยบรรยากาศที่ดีจะมีจินตนาการด้านบวกและ สร้างสรรค์)เพื่อกำหนดเป้าประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ (ทำส่วนหัวปลา)

จากนั้นใช้เครื่องมือจัดการเรียนรู้ ท่อนแรกของธารปัญญาโดยการ

2)ระดมความเห็น (ปลุกให้คิดเพื่อให้สมองตื่นตัว ว่องไว)จากประสบการณ์ในปัจจัย(ความสามารถ)ที่นำไปสู่ เป้าหมาย (ความเห็นก็คือความรู้จากประสบการณ์ -TK)

3)จากนั้นทำความเห็นให้ละเอียดขึ้นโดยกำหนดตัวชี้วัดในระดับต่าง ๆ (ย่อยความรู้-TKให้ละเอียดขึ้น)แล้วให้แต่ละคนประเมินตนเองและระดับที่ต้องการจะไปให้ถึง

ให้เวลาแต่ละคนอยู่กับตนเองเพื่อเชื่อมโยงภาพฝัน ปัจจัยและทักษะความรู้ของตนเอง

4)จบขั้นตอนที่ 2 แล้ว(ในวง-แต่ละคน-จะมีภาพฝันจากจินตนาการ เห็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จและเห็นตำแหน่ง-ประสบการณ์(ความรู้)-ของตนเอง

5)จากนั้นจะข้ามไปเรียนรู้จากกันและกันเลย (ไม่ทำแผนภูมิสายน้ำ ขั้นบันได) โดยใช้สุนทรียสนทนา (กระบวนการนี้จะไม่เน้นการคิด แต่เป็นการเปิดเผยตัวตน โดยเล่าประสบการณ์จากเรื่องที่ตนเองทำสำเร็จหรือภูมิใจ เล่าจากใจ ไม่ใช่ความคิด ซึ่งจะเชื่อมร้อยกับจินตนาการ(ความฝัน)และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(เหตุผล)โดยอัตโนมัติ

เชื่อม 3 พลังเข้าด้วยกัน

ในธรรมชาติของการเรียนรู้จะมีทั้งรับและให้โดยการฟังและนำไปเทียบเผชิญกับประสบการณ์ของ ตนเอง กระบวนการอบรมนี้เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการพบปะกันในวงสนทนา (ที่จริงมนุษย์ก็ แลกเปลี่ยนประสบการณ์-ความรู้-กันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่เล็งเป้าหมายเพื่อหวังผลเชิงประสิทธิภาพแบบธุรกิจ)

ผมในฐานะเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ก็จะจัดกลุ่มให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกันอย่างสอดคล้องที่สุดจากข้อมูลของผู้เข้าร่วมและเนื้อหาโครงการที่ผมมีอยู่ ในฐานะผู้ประสานงาน (ซึ่งท่อนแรกของการสัมมนา จะให้แต่ละทีมนำเสนอให้คนอื่นรับรู้ภาพรวมโดยสรุปของแต่ละพื้นที่ ให้ใกล้เคียงกับที่ผมรับรู้)

ถ้าเป็นการเรียนรู้จากงานก็ต้องไปดูของจริง ซึ่งการอบรมก็ออกแบบไว้ส่วนหนึ่งในตอนเย็น

และโดยที่กระบวนการเหล่านี้เป็นการฝึกทักษะ แต่แก่นของการจัดการเรียนรู้คือหัวใจที่เปิดรับซึ่งต้องสร้างมิตรภาพโดยบรรยากาศที่เป็นกันเองให้รู้สึกถึงความเป็นพวกพ้องในความสัมพันธ์แห่งมิตรเพื่อเกื้อหนุนกัน(เสริมพลัง)ไปสู่เป้าหมายที่ดีร่วมกัน เราจึงผนวกการดูงานกับการทานข้าวเย็นในชุมชนด้วย

ที่จริงตั้งใจเรียนเชิญอาจารย์ไปร่วมสังเกตการณ์ เพื่อจะได้ฟังเสียงสะท้อนของอาจารย์หลังจากจบกระบวนการแล้ว แต่อาจารย์ให้ข้อคิดเห็นก่อนก็เป็นประโยชน์ครับ อย่างน้อยก็ทำให้ผมเตรียมการมากขึ้น

ถ้าอาจารย์พอมีเวลาก็เรียนเชิญนะครับ

เครื่องมือ KM เมื่ออยู่ในมือผู้ใช้ต่างคนกัน ก็ต้องปรับให้เหมาะมือผู้ใช้นะครับ ปรับถูกหรือผิด ดูได้ที่ผลงานครับ ถ้าเกิดผลดีก็เป็นข้อพิสูจน์ว่าเราปรับถูกแล้ว
วิจารณ์ พานิช
๒๔ มิ.ย. ๔๘

ทีมประสานสรุปเพื่อให้แต่ละพื้นที่ทำAARส่งกลับมา

สรุปผลการสัมมนาที่ลำปางวันที่ 25-26 มิถุนายน 2548

บทเรียนของคุณวิจัยและคุณอำนวย (ทบทวนเพื่อเอาไปใช้กับคุณอำนวยที่เหลือและคุณกิจในพื้นที่)

1. กระบวนการอบรมและเนื้อหาที่ได้

    1. กระบวนการเริ่มจากให้ผู้เข้าประชุม(คุณวิจัยและคุณอำนวย)นำเสนอสภาพชุมชน กลุ่มเป้าหมายในแต่ละระดับ เป้าหมายในการจัดการความรู้ รวมทั้งแผนจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในพื้นที่ของตนเอง
    2. ระดมความเห็นความรู้ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ของคุณวิจัยและคุณอำนวยเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของคุณกิจบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
    3. ประเมินความรู้ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ของตนเองโดยสร้างตัวชี้วัด 5 ระดับ
    4. แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยการเล่าเรื่องจากสิ่งที่ตนเองทำซึ่งเป็นศาสตร์และศิลป์จนเกิดผลที่น่าพอใจ

2. ผลที่เกิดขึ้น

ขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาในแต่ละพื้นที่ช่วยสรุปบทเรียนใน 2 เรื่อง คือ

    1. กระบวนการอบรม
    2. เนื้อหาที่ได้

ทั้งวงคุณวิจัยและคุณอำนวย เพราะการสัมมนาครั้งนี้เปรียบเสมือนคุณวิจัยและคุณอำนวยให้ผมมาช่วยทำกระบวนการเป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่ของตนเอง จึงควรสรุปบทเรียนเพื่อประโยชน์ของแต่ละพื้นที่

เมื่อสรุปสิ่งที่ได้ใน 2 ประเด็นดังกล่าวแล้ว (ตอบโจทย์ที่ 1)

ขอให้ประเมินความรู้ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ของตนเองจากเนื้อหาที่สรุปไว้ในวันอบรมและใช้เนื้อหา ที่สรุปไว้ในเอกสารประกอบการพิจารณา (ตอบโจทย์ที่ 2)

ซึ่งจะเป็นความรู้ที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้ (และจะใช้เป็นข้อมูลในการเขียนรายงานวิจัยต่อไป)

(และจะใช้เป็นข้อมูลในการเขียนรายงานวิจัยต่อไป)

ขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาในแต่ละทีมร่วมกันถอดบทเรียนที่ลำปางตามประเด็นข้างต้น แล้วส่งมาที่หน่วยประสานงาน โดยทำความเข้าใจบทบาทต่าง ๆของการจัดการความรู้ คือ

    1. คุณเอื้อ (แกนนำคุณกิจที่ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยในวงเรียนรู้แต่ละระดับ)
    2. คุณอำนวย (ผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้)
    3. คุณกิจ (ผู้ปฏิบัติการเรียนรู้เพื่อทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้บรรลุผล - รู้เฉย ๆถือว่าล้มเหลว)
    4. คุณวิจัย (ผู้ออกแบบ ดำเนินการ และสรุปผลที่เกิดขึ้น)

ดังนั้น

1) การจัดทีมและสร้างความเข้าใจภายในทีมทั้งคุณวิจัยและคุณอำนวยเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก

(ถ้าคุณวิจัยไม่มีคุณอำนวยมาช่วย ก็ต้องรับหน้าที่เป็นคุณอำนวย จะลดบทบาทในส่วนนี้ได้ต้องหา คุณอำนวยจากหน่วยสนับสนุนและแกนนำเครือข่ายที่ชัดเจนและต่อเนื่องมาร่วมทีม)

2) การประสานสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับเป็นเรื่องสำคัญ

3) ความเข้าใจร่วมกันระหว่างทีมสนับสนุนคือคุณวิจัยและคุณอำนวยกับทีมจัดการความรู้(คุณกิจ) ในแต่ละระดับเป็นเรื่องสำคัญ

สุดท้ายคือ ความเข้าใจของชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความเสียดทานน้อยที่สุด

3. การเขียนรายงานวิจัย (ซึ่งเป็นเรื่องยาก และมักจะทำให้งานวิจัยล้มเหลว)

(ซึ่งเป็นเรื่องยาก และมักจะทำให้งานวิจัยล้มเหลว)

ถ้าทีมวิจัยและผู้เข้าร่วมสัมมนาร่วมกันถอดบทเรียนการสัมมนาที่ลำปางตามประเด็นข้างต้น และเขียนบันทึกไว้อย่างดี บันทึกนี้ก็จะเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดทำรายงานสรุปผลการวิจัยในตอนท้าย และหากมี กิจกรรมต่อเนื่องจากการสัมมนา(การทำความเข้าใจและจัดการเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมาย) ขอให้ทีมวิจัยวางแผนการทำกิจกรรมวิจัย (สัมภาษณ์ จัดประชุม ดูงาน เก็บข้อมูลจากเอกสาร สังเกตการณ์ในพื้นที่ ฯลฯ) และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ขอให้สรุปกระบวนการ เนื้อหาที่ได้ รวมทั้งข้อค้นพบอื่น ๆจัดแฟ้มไว้อย่างเป็นระบบทั้ง รายชื่อผู้เข้าประชุม รูปภาพประกอบ เป็นต้น การวางแผนจัดระบบข้อมูลทั้งข้อมูลดิบและการวิเคราะห์ที่ได้จากกิจกรรมวิจัยทุกขั้นตอน จะช่วยให้นักวิจัยเขียนรายงานวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ และปิดโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

ในช่วง 3 เดือนนับจากนี้ที่แต่ละทีมลงไปทำกิจกรรมจัดการความรู้และวิจัยในพื้นที่ ก็คือการสรุปประสบการณ์จากเวทีสัมมนาที่ลำปางนำสู่ภาคปฏิบัติ ความรู้ที่เกิดขึ้นจะนำมาแลกเปลี่ยนกันในเดือนกันยายนและสรุปต่อยอดขึ้นไปเรื่อย ๆทุก 3 เดือนจนจบโครงการ ซึ่งจะเป็นความรู้ร่วมกันของชุดโครงการนี้ที่มีฐานการเรียนรู้จากพื้นที่ผูกโยงกันมาทุกระดับ เพื่อช่วยกันยกปิรามิดที่หนักอึ้งด้วยการสร้างคนบนฐานความรู้ ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นสถาบันการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างมีพลัง จากความเข้มแข็งภายใน

(ทบทวนเพื่อเอาไปใช้กับคุณอำนวยที่เหลือและคุณกิจในพื้นที่)(และจะใช้เป็นข้อมูลในการเขียนรายงานวิจัยต่อไป) (ซึ่งเป็นเรื่องยาก และมักจะทำให้งานวิจัยล้มเหลว)
ธีระ วัชรปราณี ทีมตราด

ธีระ(ต๋อม) เมื่อ อ. 5 ก.ค. 02:15:21 2005 เขียนว่า:

สำหรับ จ.ตราด หลังจากกลับมาจากลำปาง ก็ลองกระบวนการสร้างตารางประเมินตนเองกับกลุ่มสัจจะฯ คนเข้าร่วมประมาณ 40 คน มาจาก 10 กลุ่ม ทำให้เราได้แง่คิดบางอย่าง ลองเล่าให้ฟังครับ

1 การกำหนดความอยาก เป็นส่วนของเป้าหมายที่เราอยากเป็น แบบนี้จะยากตรงที่เมื่อเราแบ่งกลุ่มย่อยไปคิด แล้วเราต้องทำให้เกิดการตกผลึกความหยากเป็น Key word สำคัญ วันนั้นเราได้ ว่า "เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ จัดสวัสดิการได้ดี"  จากนั้น เราก็ให้ลองคิดว่า การจะบรรลุได้นั้นต้องการปัจจัยอะไร ได้แก่ ความรู้ความสามารถอะไร ก็แบ่งกลุ่ม และสรุปออกมา ได้ 10 ข้อ เป็นปัจจัยที่เขาคิดว่าสำคัญ . เราพบว่า ชาวบ้านคิดถึงปัจจัยที่จำเป็นได้ แต่ต้องชี้แนะมากหน่อย ต้องตั้งประเด็นว่าเรื่อง "การบริหารเงินเหลือ" จำเป็นหรือไม่  คือคุณอำนวยควรต้องคุยกันมาก่อนว่าอะไรที่จำเป็น เผื่อชาวบ้านเขาคิดไม่ออก เราแนะก็จะได้ไปต่อได้

2. ขั้นการให้คะแนน เราประเมินว่าถ้าจะให้ชาวบ้านมาให้น้ำหนักและเงื่อนไขจาก 1-5 คงใช้เวลามาก และคิดยาก เราจึงลองให้เขาให้คะแนนแบบง่าย คือ ดูความรู้สึก 1-5 . ข้อคิดคือ คนที่มาจะคิดจากตัวเอง เขาจะไม่มองภาพรวมของกลุ่ม เช่น ความรู้เรื่องบัญชี  เขาให้คะแนน 5 เพราะคนที่มาเขาเก่งบัญชี  ก็ไม่เป็นไรนะครับ เราก็มาตั้งประเด็นคุยกันตอนสรุปว่า ใครควรไปเท่าไหร่ โดยต้องดูจากภาพรวม  .. อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่า ถ้าจะให้มีการจำแนะรายละเอียด 15 ไว้เป็นคร่าวๆ โดยคุณอำนวยอาจจะเป็นคนทำไว้ก่อน หรือช่วยทำ  หรือจะแบ่งกลุถ่มให้ไปคิดกลุ่มละข้อก็น่าจะได้อยู่

3. เราให้แต่ละกลุ่มกลับไปประเมินใหม่ โดยให้ไปทำในวันทำการกลุ่ม ขอให้สมาชิกมาร่วมด้วยอย่างน้อย 20-30 คน แกนที่มาเขาอยากให้คุณอำนวยลงไปด้วย ก็เข้าทางเราครับ การบ้านนนี้ให้เขาลองทำกันเองและเราเข้าไปช่วยส่วนหนึ่ง  วันที่ 1 จะมีเวทีวันแรก ครับ ทั้งหมดจะมี 10 เวที

4. เราถามเขาว่า วิธีนี้พอได้หรือไม่ ก็พอได้ครับ เราก็บอกว่า เรามีความรู้เรื่องนี้ไม่ดีพอ อยากจะรู้เพิ่ม เลยชวนเขาว่าจะมี work shop 2 วัน เชิญวิทยากรมาร่วมกัน เขาอยากได้ไหม .. ตกลงเขาก็พร้อมจะเข้าครับ เรื่องเชิญสัมมนานี่ จะว่ายากก็ยากนะครับ เพราะเราต้องเอาเขาออกชุมชน บางทีคนที่ไม่เคยออก ไม่อยากออก แต่เราก็จูงใจให้เขาออก  ตกลงจะเชิญอาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ไปทำกระบวนการให้ วันที่ 29-30 ส.ค. นี้ครับ

หวังว่าทุกคนสบายดีนะครับ

สุกัญญา โรจนาภิวัฒน์

สุกัญญา โรจนาภิวัฒน์ เมื่อ พฤ. 7 ก.ค. 08:44:49 2005 เขียนว่า:

การสัมมนาที่ลำปางตนเองได้เรียนรู้เเละมีข้อสรุปดังนี้

             1. การนำเสนอโครงการและการดูงานนั้นได้เรียนรู้การทำโครงการที่หลากหลายเเละได้ขอสรุปว่า

การออกเเบบโครงการต้องชัดเจนมิเช่นนั้นเวลาทำจริงจะหลงทางง่ายๆ 

             2. การเเบ่งกลุ่มย่อย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างตารางอิสรภาพ ของคุณอำนวย เเละคูณวิจัย พบว่ายังไม่ได้เนื้อหาเกี่ยวกับความรู้เเละทักษะที่สมบูรณ์  เเต่ได้เรียนรู้กระบวนการเเลกเปลื่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากกว่า

             ชอบมากสำหรับเเบบจำลองปลาว่ายนํา ของคุณภีม   ขออนุญาตินำไปใช้ต่อนะค่ะ 

ไพโรจน์ นวลนุ่ม ทีมนครศรีธรรมราช
ผมขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับการสัมมนาที่ลำปาง คงจะไม่ใช่ข้อสรุปจากการสัมมนาแต่เป็นความเห็นและข้อสังเกตบางประการครับ เผื่อมีประโยชน์สำหรับการสัมมนาครั้งต่อไป
1. ลักษณะการประชุมใหญ่ที่ลำปางโดยภาพรวมถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะทำให้แต่ละพื้นที่มีพลังที่จะไปขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่ตนต่อไป โดยเฉพาะเมื่อเห็นความเอาจริงเอาจังของแต่ละพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เก่าหรือใหม่ก็ทำให้รู้สึกว่าเรามีแนวร่วมเรามีเพื่อน ซึ่งสิ่งที่เขาพบกับสิ่งที่เราเจอในพื้นที่ไม่ได้แตกต่างกันเลย ในส่วนของชาวบ้าน รู้สึกว่าแต่ละพื้นที่จะสนิทสนมกันมากซึ่งเป็นข้อดีที่จะจูงใจให้เขาได้เร่งทำงาน
2. เห็นความตั้งใจของผู้จัดที่พยายามปรับรูปแบบการสัมมนาให้มีส่วนประกอบของขั้นตอนของการจัดการความรู้ผสมอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากและสามารถนำมาปรับใช้กับการลงพื้นที่ได้ แต่ขอเสนอเพิ่มเติมว่ากระบวนการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น(ในฐานะคุณอำนวย และคุณวิจัย)หากมีสรุปกระบวนการจัดการความรู้ที่แทรกอยู่ให้เป็นระบบทำให้ผู้เข้าร่วมรายใหม่ได้เข้าใจง่ายขึ้น
3. เห็นด้วยกับหลายคนที่ว่าหากเราได้มีเวลามากขึ้นที่จะเรียนรู้และเข้าใจของดีที่เป็นจุดเด่นของพื้นที่ที่เราไปเยี่ยมเยียน จะช่วยเปิดโลกทัศน์เราให้กว้างและสามารถเชื่อมโยงมาใช้ในพื้นที่เราได้ชัดเจนมากขึ้น แต่สำหรับพื้นที่ลำปางก็ถือว่าได้ประโยชน์มากนะครับ
4. การพูดคุยนอกรอบถือว่ามีประโยชน์มากเพราะแต่ละพื้นที่มีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน หากก่อนสัมมนาได้มีการสำรวจความต้องการของแต่ละพื้นที่ก่อนว่าอยากแลกเปลี่ยนกับพื้นที่ไหนเป็นพิเศษหรือไม่ แล้วจัดโอกาสให้ตามความเหมาะสม การสัมมนาก็จะสมบูรณ์และได้รับประโยชน์สูงสุด
ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท