^การทำจิตใจให้เป็นสุข^


* ในทุกๆวัน เราทุกคนจะต้องพบเจอกับเหตุการณ์และปัญหาต่างๆ ทั้งดี ไม่ดี มีความสุข ไม่มีความสุข หมดหวัง สิ้นหวัง หรือทำให้เรามีพลังที่จะสู้และเดินต่อไปข้างหน้า แต่ถ้าเราลองมาทำจิตใจให้เป็นสุข โดยที่เรามองทุกสิ่งทุกอย่างที่เราพบเจอและผ่านเข้ามาในชีวิตให้เป็นกลาง บางทีโลกใบนี้ก็อาจจะทำให้ชีวิตของเราดูมีสีสันมีชีวิตชีวาและมีความสุขมากกว่าเดิมก็เป็นได้ *

ผู้มีสุขภาพจิตดี จะสามารถจัดระเบียบชีวิตของตนได้เหมาะสม กับตัวเอง และสังคมทั่วไป ทำให้เกิดความพอใจในชีวิต สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เป็นคนรู้จักยอมรับความจริงของชีวิต รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง ปรับตัวให้เข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อมได้ป็นอย่างดี จึงมีโอกาสประสบความสำเร็จ ในชีวิตได้เป็นอย่างมาก

  • " ลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดี "
  • สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อม
  • มีความกระตือรือร้น ไม่เหนื่อยหน่าย หรือท้อแท้ใจ หรือหมดหวังในชีวิต
  • มีอารมณ์มั่นคง และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี
  • ไม่มีอารมณ์เครียดจนเกินไป มีอารมณ์ขัน
  • มีความรู้สึก และมองโลกในแง่ดีเสมอ
  • มีความตั้งใจในการทำงาน
  • รู้จักตนเอง และเข้าใจบุคคลอื่นได้ดี
  • มีความเชื่อตนเองอย่างมีเหตุผล
  • สามารถแสดงออกอย่างมีเหตุผล
  • มีความสามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว และถูกต้อง ไม่ผิดพลาด
  • มีความปรารถนา และยินดี เมื่อบุคคลอื่นมีความสุข ความสำเร็จ และมีความปรารถนาดี ในการป้องกันผู้อื่น ให้มีความปลอดภัยจากอันตราย หรือโรคภัยไข้เจ็บ
แนวทางในการทำจิตใจให้เป็นสุข

ในภาวะปกติ สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เราต้องบำรุงรักษาสุขภาพจิตให้เข้มแข็ง รู้จักควบคุมอารมณ์ และปรับตัวให้มีการแสดงออกที่เหมาะสม เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่น อย่างมีความสุข ด้วยการปฏิบัติดังนี้

  1. การยอมรับสภาพความเป็นจริงของตนเอง
    การยอมรับความจริงในรูปร่าง หน้าตา ความสามารถ ฐานะ ความเป็นอยู่ และความบกพร่องทางกาย เป็นการลดความวิตกกังวลให้น้อยลง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย และมีความเชื่อมั่นตนเอง กล้าที่จะเผชิญปัญหา และแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
  2. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
    คนเราควรจะมองโลกในแง่ดี รู้จักยิ้ม และมีอารมณ์ขันบ้าง ไม่เอาจริงเอาจังกับทุกสิ่งมากเกินไป และไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับเรื่องไร้สาระ ควรนึกเสมอว่าเมื่อเรายิ้ม คนอื่นก็จะยิ้มกับเรา แต่ถ้าเราร้องไห้ เราจะต้องร้องไห้คนเดียว
  3. ตั้งความหวังในชีวิตให้พอเหมาะ
    ทุกคนควรจะมีเป้าหมายในชีวิต การวางแผนชีวิตเป็นระยะๆ โดยตั้งเป้าหมายไว้นั้น เหมือนคนเรามีเข็มทิศที่จะพาให้ เราเดินทางไปได้ตามทิศที่ต้องการ แต่ถ้าตั้งความหวังของชีวิต หรือเป้าหมายที่สูงเกินความเป็นจริง ก็จะไปไม่ถึง หรือทำไม่ได้ ดังนั้น ควรตั้งความหวังในชีวิต ให้เหมาะสมกับความสามารถ กำลังกาย กำลังทรัพย์ของตนเอง
  4. พยายามปรับปรุงตนเองให้เข้ากับคนอื่นๆ ได้
    ตั้งแต่เกิดมา มนุษย์จำเป็นต้องปรับตัวตลอดเวลา เพื่อความอยู่รอด และความสุขในชีวิต ดังนั้น การปรับปรุงตนเองให้เข้ากับผู้อื่น ไม่ใช่เรื่องยาก ควรจะยึดหลัก "ทำตนให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี" เช่น มีน้ำใจโอบอ้อมอารี เสียสละ ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น พูดจาสุภาพเรียบร้อย เป็นต้น
  5. รู้จักระบายอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
    เมื่อมีความขัดแย้งขึ้นในใจ อย่าเก็บกดอารมณ์ไว้คนเดียว จะทำให้มีสุขภาพจิตไม่ดี ควรรู้จักระบายอารมณ์ออกในทางที่ถูกต้อง เช่น การพูดคุยปรึกษาหารือ กับผู้ที่เราไว้ใจ เมื่อเรามีปัญหา จะทำให้เราสบายใจขึ้น การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา การเล่นดนตรี หรือกิจกรรมที่ชอบ จะช่วยให้เพลิดเพลิน และลืมความทุกข์
  6. การทำจิตใจให้สงบ หรือสมาธิ
    การฝึกทำสมาธิ จะช่วยให้จิตใจสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ทำให้จิตใจมีความเข้มแข็ง สามารถที่จะแก้ปัญหา หรือทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี รู้จักใช้เหตุผล และเป็นคนสุขุมเยือกเย็น
  7. หลีกเลี่ยงสิ่งกระทบจิตใจ
    เราควรจะหลีกเลี่ยงบุคคลบางประเภท ที่จะกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ไม่ดี เช่น คนพาล คนชั่ว คนเหลวไหล บุคคลจำพวกนี้ จะสร้างปัญหาให้กับ คนทั่วไป ทำให้เกิดความโกรธ ความหลง ความวิตกกังวล ฯลฯ
หมายเลขบันทึก: 94025เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เอาธรรมะข่มใจไว้นะ (ถ้าทำได้)

พี่ยกให้เป็นผู้นำทางธรรมะนะจ๊ะ

ผ่านมาเห็นครับ  .....ขอแลกเปลี่ยนด้วยคนครับ .....ผมศึกษาธรรมอยู่บ้าง  ก็อยากจะแลกความรู้กัน เช่นคนเราเป็นสัตว์สังคม เพราะฉะนั้น อยู่กับมวลหมู่มิตรระวังคำพูด เป็นเรื่องจริงครับ

แต่การที่รู้จักระบายอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและ
การทำจิตใจให้สงบ หรือสมาธินั้น ขอแลกเปลี่ยนครับ ว่า ถ้าเราศึกษาพุทธศาสนา  พุทธศาสนาจะสอนให้เราประพฤติธรรม(กุศลกรรมบถ 10) และปฏิบัติธรรม (ทาน,ศีล และภาวนา) ทั้งหมดนี้ไม่ต้องไประบายอารมณ์กับใครครับ เมื่อเข้าใจก็ไม่ติดในอารมณ์ครับ  เพราะศาสนาพุทธสอนเรื่อง ทุกข์(เพื่อให้เข้าใจ และอดทนครับ) สอนเรื่องอนิจจัง (ไม่เที่ยงแท้แน่นอน) สอนเรื่องอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตนเราเขา)
แล้วการศึกษาธรรมต้องรู้เรื่องธรรมะ ทุกหมวด ครับตั้งแต่ หมวดสอง(ทุกะ)จนถึงปกิณกะ (โพธิปักเขยิกธรรม) แล้วปฏิบัติธรรม ต้องรู้จัก  สมถะกัมมฐาน (อุบายที่ทำให้ใจสงบ) และวิปัสสนากัมมฐาน (อุบายที่ทำให้เรืองปัญญา)  ถ้าอยากมีชีวิตที่ดี ประสบความสำเร็จ และแก้ปัญหาของชีวิตได้ทุกวัน คงต้องศึกษาและปฏิบัติในกัมมฐาน สองอย่างนี้ครับ

โดยส่วนตัวเป็นคนคิดมาก แต่ได้ลองฝึกจิตใจปล่อยวาง ใจเย็นขึ้น มองโลกในแง่ดีเข้าไว้ แรกๆจะดูขัดๆ แต่ได้ทำเรื่อยๆ จะทำให้เราคิดน้อยโดยอัตโนมัต โลกใบนี้มีสองด้าน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองศึกษาด้านไหนเป็นหลัก บางครั้งอาจรู้สึกไม่ดี ก็สู้ๆ ค่อยๆปรับ อย่าอยู่คนเดียวบ่อยๆ พยายามอยู่กับเพื่อน หาอะไรทำ อ่านหนังสือ อ่านเรื่องบทความที่ให้กำลังใจ ออกกำลังกายบ้าง ทำงานเยอะๆ เดียวก็ผ่านไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท