HA_KM 2005 Summary
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (HA_KM)
ได้จัดขึ้น 4 ครั้ง (ในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๔๘ )
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ :
1)
สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างโรงพยาบาล
ทีมที่ปรึกษา และทีมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพของจังหวัด
(QRT)
2)
เพื่อสร้างความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
กระตุ้นให้โรงพยาบาลกลุ่ม เป้าหมาย
วางแผนและกำหนดจุดเน้นในการพัฒนาคุณได้อย่างเหมาะสม
3)
เพื่อประเมินความสำเร็จของโรงพยาบาลกลุ่มเป้าหมายตามแนวทางในบันไดขั้นที่1สู่
HA
4)
เพื่อสนับสนุนให้โรงพยาบาลที่ปฏิบัติตามแนวทางในบันไดขั้นที่ 1
แล้ว สามารถพัฒนาต่อเชื่อมไปสู่บันไดขั้นที่ 2 ได้
5)
เพื่อสนับสนุนให้โรงพยาบาลที่มีความพร้อมเข้าสู่กระบวนการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน
HA
สรุป
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ได้ดังนี้
1)
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลครั้งที่ 1 ( HA_KM 19
hospital 1/2548 ) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2548 ณ ห้องประชุมSMEs
ชั้น 6 อาคารศูนย์วิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ที่ปรึกษาโรงพยาบาล
โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ และ ตัวแทนสาธารณสุขจังหวัด จำนวน
48 คน กิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย
การให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ (KM)
การแบ่งปันความรู้ด้วยการนำเสนอ Best
Practiceของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการและการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
ผลการประเมินจากผู้เข้าร่วมประชุมพบว่า
ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับในการประชุมครั้งนี้ว่าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน
และได้รับตัวอย่างการพัฒนาด้านคุณภาพจากการนำเสนอ
ผู้เข้าร่วมประชุมมีแผนในการนำสิ่งที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้ไปใช้มากที่สุด
คือการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโรงพยาบาล
สิ่งที่ต้องการให้ทางสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
หรือ ศูนย์ความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ศูนย์บริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่นต้องช่วยเหลือหรือเพิ่มเติมมากสุด
คือ การให้ข้อแนะนำปรึกษา การเข้าตรวจเยี่ยม
และศึกษาดูงานโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพ
2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลครั้งที่ 2
( HA_KM 19 hospital 2/2548 ) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2548 ณ
ห้องประชุมSMEs ชั้น 6 อาคารศูนย์วิชาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ที่ปรึกษาโรงพยาบาล
โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ และ ตัวแทนสาธารณสุขจังหวัด จำนวน
46 คน กิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย
การแบ่งปันความรู้ด้วยการนำเสนอ Best
Practiceของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการโดยครั้งนี้ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ผลการประเมินจากผู้เข้าร่วมประชุมพบว่า
ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับในการประชุมครั้งนี้ว่าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน
และได้เห็นการพัฒนาด้านคุณภาพของโรงพยาบาลต่าง ๆ
รวมถึงแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
ผู้เข้าร่วมประชุมมีแผนในการนำสิ่งที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้ไปใช้มากที่สุด
คือการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโรงพยาบาล
สิ่งที่ต้องการให้ทางสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
หรือ ศูนย์ความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ศูนย์บริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่นต้องช่วยเหลือหรือเพิ่มเติมมากสุด
คือ การจัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะนี้อีก
การเยี่ยมให้ข้อแนะนำของที่ปรึกษา และให้HACC
เป็นศูนย์กลางการประสานงานด้านคุณภาพโรงพยาบาล
3)
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลครั้งที่ 3 ( HA_KM 19
hospital 2/2548 ) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2548 ณ
ห้องประชุมSMEs ชั้น 6 อาคารศูนย์วิชาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 43 คน
ส่วนใหญ่คือผู้รับผิดชอบด้านคุณภาพโรงพยาบาล 37
คน ตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
4 คน และผู้บริหารโรงพยาบาล 2 คน กิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย
การแนะนำเครื่องมือ 20
กิจกรรมที่บูรณาการใช้ในทุกหน่วยงานของบันไดขั้นที่ 1
และสร้างตารางติดตามงานบันไดขั้นที่ 1, 2 และ3
โดยผู้เข้าร่วมประชุมมีความคาดหวังว่าจะได้รับความรู้
แนวคิดประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
ผลการประเมินตนเองตามเครื่องมือพัฒนาคุณภาพ 20 กิจกรรม
(หัวหน้าพาทำและหัวหน้าพาทบทวน ) พบว่าอยู่ในระดับ 1 – 4
ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้เข้าร่วมประชุมพบว่า
ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับในการประชุมครั้งนี้ว่าได้แลกเปลี่ยนรู้ระหว่างเครือข่ายโรงพยาบาล
ได้รับความรู้และแนวทางการปรับปรุงหน่วยงาน
และมีแผนในการนำสิ่งที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้ไปใช้
คือการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
สิ่งที่ต้องการให้ทางสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล หรือ
ศูนย์ความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ศูนย์บริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่นต้องช่วยเหลือหรือเพิ่มเติมมากสุด คือ
การจัดกิจกรรมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ใช้ระยะเวลาในการอบรมมากขึ้น(ทั้งวัน)
และให้ที่ปรึกษาเยี่ยมให้คำปรึกษาบ่อย
4)
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลครั้งที่ 4 ( HA_KM 19
hospital 2/2548 ) เมื่อ วันที่ 22 กันยายน 2548 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น
5 อาคารศูนย์วิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 95 คน
ส่วนใหญ่เป็นผู้รับผิดชอบด้านคุณภาพโรงพยาบาล 77 คน
ตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 2 คน ที่ปรึกษาโรงพยาบาล 16 คน
ในจำนวนนี้มี สสจ.ที่เป็นที่ปรึกษาจำนวน 6 คน
กิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ
การลดอุบัติการและการป้องกันความเสี่ยงสู่โรงพยาบาลคุณภาพ
โดยวิทยากรจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
อาจารย์ผ่องพรรณ
ธนา
โดยผู้เข้าร่วมประชุมมีความคาดหวังว่าจะได้รับความรู้
แนวคิดประสบการณ์ต่างๆ ในการจัดการความเสี่ยง
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปพัฒนาโรงพยาบาล/หน่วยงานของตน
ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้เข้าร่วมประชุมพบว่า
ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับในการประชุมครั้งนี้ว่าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างโรงพยาบาลเครือข่าย
ได้รับความรู้
แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะนำกลับไปวางแผนในการพัฒนาระบบความเสี่ยงของโรงพยาบาลต่อไป
สิ่งที่ต้องการให้ทางสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
หรือ ศูนย์ความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ศูนย์บริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้องช่วยเหลือหรือเพิ่มเติมมากที่สุด คือ
จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ช่วยเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ
และเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลความรู้
สิ่งที่ควรปรับปรุงในครั้งต่อไป
คือ การประสานงานควรมีการแจ้งกำหนดการล่วงหน้า
และน่าจะมีเอกสารประกอบการประชุม
(สรุป โดย คุณ พิชชา ถนอมเสียง ผู้ประสานงาน
HACC:KKU,HA_KM)
JJ