BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

วิรัติ


วัรัติ

สืบเนื่องจากบันทึกเรื่อง ปรัชญามงคลสูตร ๒๑ : ตัวแทนทางศีลธรรม (ต่อ) ซึ่งผู้เขียนได้อธิบาย วิรัติ ๓ นัย... ก็นึกได้ว่า คำนี้มีใช้เป็นชื่อของคนไทยทั่วไป ดังนั้น จึงจะนำมาเล่าในโอกาสนี้...

วิรัติ นอกจากแปลว่า เว้น งดเว้น แล้ว.... ก็อาจแปลว่า ผ่องแผ้ว สดใส  ก็ได้

.............

วิรัติ ในความหมายว่า งดเว้น มาจากรากศัพท์ว่า รมะ ...โดยมี วิ เป็นอุปสัคนำหน้า ส่วน ติ เป็นเพียงปัจจัยเติมข้างท้าย

วิ + รมะ (ลบที่สุดรากศัพท์คือ ม. ม้า จึงคงเหลือแต่ ร.เรือ) + ติ = วิรติ

วิ ในที่นี้บ่งความหมายว่า ต่าง

รมะ แปลว่า ยินดี

ดังนั้น จึงได้ความหมายว่า ต่างจากความยินดี ซึ่งโปราณาจารย์ของไทยค้นหาคำไทยแท้มาใช้แทน โดยเลือกคำว่า เว้น หรือ งดเว้น

ตามนัยนี้ วิรัติ เมื่อเป็นชื่อคนก็อาจแปลให้ได้ใจความว่า ผู้มีเจตนางดเว้นจากบาป

..........

วิรัต ในความหมายว่า ผ่องแผ้ว สดใส ... มาจากรากศัพท์ว่า รชะ ... โดยมี วิ เป็นอุปสัคนำหน้า และ ติ เป็นเพียงปัจจัยเติมข้างท้าย

วิ + รชะ ( ลบ ช.ช้าง คงเหลือแต่ ร.เรือ) + ติ = วิรติ

วิ ในที่นี้บ่งความหมายว่า ต่าง

รชะ แปลว่า ย้อม

ดังนั้น จึงได้ความหมายว่า ต่างจากการย้อม ซึ่งโปราณาจารย์ไทยค้นหาคำไทยแท้มาใช้แทน โดยเลือกคำว่า ผ่องแผ้ว สดใส

ตามนัยนี้ วิรัติ เมื่อเป็นชื่อคนก็อาจแปลได้ว่า ผู้ผ่องแผ้ว สดใส ไม่หม่นหมอง ...ประมาณนี้

........

ตั้งแต่ผู้เขียนแรกเรียนบาลี รู้สำนึกได้ถึงความพยายามและอุดสาหะของโปราณาจารย์ไทยที่ค้นหาคำไทยแท้มาใช้แทนคำเหล่านี้...

อีกอย่างหนึ่ง การที่คำเหล่านี้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าต้องแปลอย่างนี้ นั่นคือ หลักฐานเชิงประจักษ์ว่าภาษาบาลีซึ่งเป็นเครื่องมือนำพาพระพุทธศาสนาดำรงอยู่คู่กับภาษาไทยมานานแล้ว... 

คำสำคัญ (Tags): #วิรัติ
หมายเลขบันทึก: 93938เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2007 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กราบหลวงพี่ครับ ผมคนหนึ่งที่มีเจตนางดเว้นจากบาป แต่ทำไมบาปมันมาบังคับใจเราให้ลุ่มหลง ไปในทางที่ผิดทั้งๆที่รู้ว่าผิดบางครั้งยังต้องทำ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสตรี หนีไม่พ้น ยิ่งหนียิ่งใกล้

ขอธรรมะ เป็นเครื่องช่วยให้พ้นจากกรรมตัวนี้ด้วยเถิด สาธุ

P

มีชาดกบางเรื่องเล่าว่า...

ฤาษีพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญฌานอยู่ในป่า มีฤทธิ์เหาะเหิรเดินอากาศได้ เบื่อที่จะเสพผล หมาก รากไม้ หรือใบไม้ในป่า จึงเข้าเมืองเพื่อหารสเปรี้ยว รสเค็ม ฉันบ้าง.... ภายหลังก็เป็นชู้กับพระมเหสี ด้วยเศษบ่วงกรรมนี้ จึงต้องไปตกนรก....

พระโพธิสัตว์ คือ ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย....

อย่าคิดว่าเรื่องนี้ จริง หรือ ไม่จริง เพราะไม่สามารถพิสูจน์เชิงประจักษ์ได้.... แต่สามารถใช้เป็นเครื่องสะท้อนถึงความเป็นคนธรรมดาประสาเราได้...

เจริญพร

 

สาธุครับ

ชอบเรื่องแบบนี้มาก วันหลังรบกวนหลวงพี่ดหลดใว้เยอะๆนะครับ

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

ตามมาอ่านค่ะ ขอบคุณที่ให้ความรู้ดี ๆ ค่ะ

พระคุณเจ้าแสดงข้อนี้ได้น่าชื่นชมมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท