ชุดภาพสังเวชนียสถาน(อินเดีย-เนปาล) ๒๖


สิ่งหนึ่งที่พวกเราน่าจะปลื้มใจให้มากในการไปนมัสการสังเวชนียสถานคือ การได้มีโอกาสทำบุญร่วมกับคนดีๆ จำนวนมาก...

Hiker

    ภาพที่ 1:      

ภาพพระแท่นวัชรอาสน์และต้นพระศรีมหาโพธิ์

กล่าวกันว่า แต่เดิมบริเวณนี้ไม่ได้กั้นรั้วไว้ ต่อมามีคนไปขุดดินรอบๆ ต้นโพธิ์ไป ทำให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ป่วยหนัก

สมมติฐานอื่นๆ คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์มีอายุมาก อาจจะติดเชื้อโรค หรือมีแมลงไปทำลาย

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ป่วยหนักมากประมาณปี 2546 ถึงขนาดไม่ผลิใบใหม่ จึงมีการขอให้ผู้เชี่ยวชาญโรคพืชเข้ามาดูแล และห้ามคนเข้าไปชั้นในพักหนึ่งทีเดียว

สมมติฐานอื่นๆ คือ อาจมีคนเทยาพิษ หรือสารเคมีที่มีอันตรายต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์

พระภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า ฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์กันที่ไว้ค่อนข้างแคบ และมีการปูหินอ่อนใกล้มากเกิน

เมื่อคนเดินประทักษิณ(เวียนขวา หรือเลี้ยวขวา)วันละเป็นพันเป็นหมื่นคน... แรงกระแทกที่ตกไปบนรากต้นโพธิ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีส่วนทำให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ชอกช้ำมากขึ้นเรื่อยๆ

ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม... ผู้เขียนขอเรียนเสนอว่า พวกเราไม่ควรไปขุดดินจากโคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพราะเสี่ยงต่อโทษฐานลักทรัพย์ของพระเจดีย์

นอกจากนั้น... การขุดดินจากโคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปยังทำให้รากต้นพระศรีมหาโพธิ์ชอกช้ำ

ตรงกันข้าม... พวกเราควรเตรียมทรายนิดหน่อย ประมาณสัก 2-3 ช้อนโต๊ะไปถวายพระมหาเจดีย์พุทธคยา

ทรายที่เตรียมไปควรล้างน้ำให้สะอาด นำไปตากแดดให้แห้งสนิท เพื่อฆ่าเชื้อโรค แล้วนำไปตั้งบนหิ้งพระ เช้า-เย็นก่อนไปสัก 1-2 เดือน

จากนั้นตากแดดให้แห้งสนิทซ้ำอีกครั้ง แล้วใส่ขวด นำไปถวายพระมหาเจดีย์พุทธคยา อย่าลืมเตรียมน้ำอบไทยไปด้วย

ถ้าพระท่านอนุญาตให้เราเข้าไปถวายที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้... นั่นดีที่สุด ถ้าถวายที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ไม่ได้ จะถวายไว้ด้านนอก... บริเวณที่เขาเกลี่ยทรายไว้ก็ได้

ไปถึงพระมหาเจดีย์แล้ว... อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรลืมคือ อย่าลืมขอขมาพระรัตนตรัย

ขอขมาพระพุทธเจ้า ขอขมาพระธรรม และขอขมาพระสงฆ์ที่พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พระพทธรูปด้านในพระวิหาร และขอขมา 4 ทิศ 8 ทิศรอบๆ พระมหาเจดีย์พุทธคยา

การขอขมาหรือขอโทษ... ยอมรับโทษโดยความเป็นโทษ เพื่อที่จะทำความสำรวมระวังต่อไปนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นความเจริญในพระธัมมวินัยนี้

การขอขมาเป็นเหตุให้โทษล่วงเกินที่มี ซึ่งอาจเป็นไปโดยตั้งใจ หรือเป็นไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทุเลาลง...

ก่อนเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน.... ขอเรียนเสนอให้ฝึกคิดบ่อยๆ ว่า จะทำความดีถวายเป็นพุทธบูชา แล้วจดไว้ทุกวัน

ตัวอย่างเช่น วันนี้บริจาคเลือด... ควรคิดอย่างนี้ว่า...

  • ขอถวายเลือดในกายนี้บูชาความตรัสรู้ดี และการบำเพ็ญพุทธกิจดีของพระพุทธเจ้า
  • ขอถวายเลือดในกายนี้บูชาความเป็นธรรมดี และเป็นเครื่องนำออกจากวัฏฏทุกข์ของพระธรรม
  • ขอถวายเลือดในกายนี้บูชาความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เป็นนาบุญอันเลิศ ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าของพระสงฆ์

เรามีบุญอะไรที่ประทับใจที่สุดในชีวิต... ให้ฝึกคิดถึงบ่อยๆ อย่างน้อยเช้า-เย็น และจดไว้ให้ดี

เมื่อไปถึงสังเวชนียสถานแล้ว... ให้หาโอกาสหลีกเร้น อยู่เงียบๆ สัก 2-3 นาที แล้วกล่าวถวายบุญที่ประทับใจที่สุดของเราเป็นเครื่องสักการะบูชาพระพุทธเจ้าให้ได้

 

การบูชาด้วยสิ่งของภายนอก เช่น ดอกไม้ ของหอม ฯลฯ ชื่อว่า อามิสบูชา (อามิส = วัตถุ หรือเหยื่อ) ดีมากแล้ว

การบูชาด้วยการทำความดีบูชา ชื่อว่า ปฏิบัติบูชา ยิ่งดีไปกว่านั้นอีก... ทางที่ดีคือ ไปทั้งที... ถวายให้ได้ทั้งอามิสบูชา และปฏิบัติบูชาเลย

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลด หรือชมภาพขนาดกลาง
  • [ Click - Click ]

    ภาพที่ 2:      

ภาพพระแท่นวัชรอาสน์และต้นพระศรีมหาโพธิ์ (เปลี่ยนมุมมองไปเล็กน้อย)

สิ่งหนึ่งที่พวกเราน่าจะปลื้มใจให้มากในการไปนมัสการสังเวชนียสถานคือ การได้มีโอกาสทำบุญร่วมกับคนดีๆ จำนวนมาก...

คนที่ได้ทำบุญร่วมกันนั้น... ถ้าบุญบารมีเต็มย่อมได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน

ถ้าบุญบารมียังไม่เต็ม ยังเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอยู่... ชาติใดได้มาพบกันก็ยังมีโอกาสได้เป็นญาติสนิทมิตรสหายกัน ได้เกื้อกูลได้อนุเคราะห์กัน ช่วยเหลือกัน

การเป็นพันธมิตร หรือเป็นญาติสนิทมิตรสหายกับคนดีนั้น... ดีกว่าการเดินทางในสังสารวัฏฏ์แบบ "โดดเดี่ยว เดียวดาย" และช่วยให้สังสารวัฏฏ์ "เบา" ไปเยอะทีเดียว

เวลาเดินทางไปสังเวชนียสถานจึงควรมองคนรอบๆ ตัวเรา โดยเฉพาะควรมองท่านที่เดินไปด้วยกันว่า เป็นสหายธรรม หรือเป็น "นาบุญ" เท่าที่จะทำได้

เวลาเห็นใครทำบุญอะไรรอบๆ ตัวควรรีบไหว้ และอนุโมทนา... "สาธุ สาธุ สาธุ" ทันที

การอนุโมทนานี่ก็เป็นบุญของเรา... เป็นบุญสายทานคือ อนุโมทนามัย

    ภาพที่ 3:      

ภาพพระแท่นวัชรอาสน์และต้นพระศรีมหาโพธิ์ (เปลี่ยนมุมมองไปเล็กน้อย)

    ภาพที่ 4:       

ภาพพระแท่นวัชรอาสน์และต้นพระศรีมหาโพธิ์ (เปลี่ยนมุมมองไปเล็กน้อย)

พระมหาเจดีย์พุทธคยาเปิดตั้งแต่ 4.30 น. จนถึง 21.00 น.

ท่านผู้อ่านบางท่านอาจสงสัยว่า คณะกรรมการดูแลพระมหาเจดีย์พุทธคยาอนุญาตให้นั่ง(หรือนอน)ปฏิบัติธรรมค้างคืนได้หรือไม่

คำตอบคือ ได้ครับ ถ้าบริจาคให้สำนักงานคณะกรรมการฯ ที่ด้านหน้าพระมหาเจดีย์ ค่าบริจาคไม่มากเลย เพียง 100 รูปี หรือประมาณ 90 บาทเท่าน้นเอง

ช่วงที่คณะกรรมการฯ ไม่อนุญาตให้พักแรมค้างคืนได้แก่ เดือนธันวาคมถึงมกราคม เพราะช่วงนั้นหนาวมาก และมีน้ำค้างเย็นยะเยือกตกลงมาประปราย

ถ้าตั้งใจจะไปพักค้างแรม... เรียนเสนอให้เตรียมกลด และเชือกไป ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร แวะวัดป่าพุทธคยาใกล้ๆ กัน และขอยืมกลดได้...

ขอยืมแล้วอย่าลืมถวายค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟให้ทางวัดบ้าง วิธีถวายที่ถูกตามพระวินัยคือ ให้กล่าวกับพระว่า "ขอถวายสิ่งที่สมควรแก่สมณบริโภคเป็นมูลค่า.... บาท ท่านต้องการสิ่งใด โปรดเรียกจากกัปปิยะ หรือไวยาวัจจกร (คนทำงานวัด)

ทางปฏิบัติง่ายๆ คือ ฝากสตางค์ไว้ที่แม่ชี ขอให้คุณแม่ชีจัดหาของที่สมควรให้พระ เพราะตามพระวินัยบัญญัติ... พระพุทธเจ้าไม่ได้อนุญาตให้ถวายเงินพระ

การทำอะไรให้ถูกต้องตามพระวินัยนับว่า เป็นทานด้วย และเป็นศีลด้วย... ซึ่งจะมีผลมาก มีอานิสงส์(กำไร)มากกว่าทานทั่วไป

เพราะการเคารพพระวินัยเป็นศีล เป็นการรักษาอายุของพระศาสนา และโดยทั่วไป... ศีลส่วนใหญ่มีผล และมีอานิสงส์มากกว่าทานครับ

  • โปรดคลิกที่นี่ ถ้าท่านต้องการดาวน์โหลด หรือชมภาพขนาดใหญ่กว่านี้
  • [ Click - Click ]

    แนะนำให้อ่าน:              

  • ทำบุญอะไร ถึงได้งาม(หล่อหรือสวย)
  • [ Click - Click ]

    เรียนเชิญดาวน์โหลด:     

  • บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า มูลนิธิรักษ์ธรรม
  • [ Click - Click ]
  • พระปริตรธรรม วัดท่ามะโอ ลำปาง
  • [ Click - Click ]

    แหล่งที่มา:                 

  • ขอกราบขอบพระคุณ > วัดไทยพุทธคยา วัดไทยสารนาถ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ วัดไทยลุมพินี.
  • ขอกราบขอบพระคุณ > ท่านพระอาจารย์เศรษฐกิจ.
  • ขอขอบพระคุณ > คุณชลลดา
  • ขอขอบพระคุณ > เอ็น ซี ทัวร์. โทรศัพท์ 0-2252-1040.
  • ขอขอบพระคุณ > คุณปู... นักศึกษามหาวิทยาลัยมคธ รัฐพิหาร อินเดีย.
  • ขอขอบพระคุณ > คณะครูบาอาจารย์ โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร.
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี IT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ IT + พต.ศรัณย์ มกรพฤฒิพงษ์ โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 1 พฤษภาคม 2550. 
หมายเลขบันทึก: 93757เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2007 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท