เมื่อสำนักหอสมุดไปถ่ายทำประเพณีรับขวัญแม่โพสพ (ข้าว) : บ้านไผ่ขอน้ำ อ.พรหมพิราม พิษณุโลก (3)


ตามความเชื่อว่าแม่โพสพมีพระคุณจึงต้องทำขวัญ

         ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (ข้าว)  ตามความเชื่อว่าแม่โพสพมีพระคุณจึงต้องทำขวัญเป็นการกล่าวขอขมาต่อต้นข้าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับข้าว ทั้งการเกิดเองตามธรรมชาติ (จากข้อสังเกตของมนุษย์ที่เกี่ยวข้อง : ผู้เขียนสรุปเอง) และจากการที่มนุษย์จะกระทำอะไรก็ตามกับต้นข้าว เช่น เกี่ยวข้าว) ที่บ้านไผ่ขอน้ำ มีประเพณีทำขวัญข้าว อยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ข้าวตั้งท้อง และช่วงข้าวพร้อมเกี่ยวโดยในแต่ละช่วงจะมีเครื่องเซ่นไม่เหมือนกัน ในภาพประกอบเป็นการทำขวัญข้าวก่อนการเก็บเกี่ยว

ทำขวัญข้าว

             เครื่องเซ่นของการทำขวัญข้าวตอนตั้งท้อง ด้วยความเชื่อที่ว่า แม่โพสพเป็นมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกัน (ตามคำบอกเล่าของน้านงค์) พอข้าวตั้งท้อง จึงเชื่อว่าจะอยากทานอาหารเหมือนคนท้อง สิ่งที่ขาดไม่ได้ในเครื่องเซ่นช่วงดังกล่าวจึงเป็นของรสเปรี้ยว อ้อย น้ำมะพร้าว นอกเหนือจากหมาก พลู ธงกระดาษสีต่างๆ ผ้าแดง ผ้าขาว ใส่ลงในชะลอมเล็กๆ ดังภาพข้างล่าง เส้นด้ายสีแดงและสีขาวเพื่อผูกเครื่องเซ่นเข้ากับต้นข้าว ดอกไม้ และด้วยความเชื่อว่าแม่โพสพเป็นผู้หญิง จึงต้องมีน้ำอบ น้ำหอมด้วย โดยคนที่ทำพิธีมักจะเป็นผู้หญิงเจ้าของที่นา แต่พิธีนี้ให้โอกาสผู้ชายทำได้แต่ไม่นิยม

เครื่องเซ่น

         หลังจากมัดโยงเครื่องเซ่นกับต้นข้าวด้วยด้ายสีแดงและขาวเข้าด้วยกันแล้ว ผู้ทำพิธีจะพรมน้ำหอมแป้งร่ำต้นข้าว จากนั้นจึงจุดธูปปักลงบนที่นาพร้อมกล่าวคำขอขมาต่างๆ แล้วแต่ที่จะนึกได้ ส่วนมากก็จะเป็นการบอกกล่าวถึงสิ่งที่กำลังจะทำ เช่น ขอให้มีรวงข้าวสวย มีข้าวเยอะๆ ให้ผลผลิตสูงๆ (ตอนตั้งท้อง) กำลังจะเก็บเกี่ยวแล้วนะ อย่าตกใจ (ตอนกำลังจะเกี่ยว) เมื่อพูดทุกอย่างที่อยากพูดจบก็ต้อง กู่ร้องให้แม่โพสพรับทราบเจตนาดังๆ

 กู่ร้องเพื่อให้แม่โพสพรับรู้

            สำหรับเครื่องเซ่น จะถูกทิ้งไว้ที่ที่นาเลย ไม่เก็บกลับบ้าน ถ้าเป็นการทำขวัญแม่โพสพตอนเกี่ยวข้าว หลังจากพิธีก็ทำการเก็บเกี่ยวข้าวได้เลย หลังจากนั้นก็เตรียมตัวทำพิธี รับขวัญแม่โพสพ (ซึ่งจะพูดถึงในตอนต่อๆ ไป) ในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปีต่อไป

หมายเหตุตบท้าย หนึ่ง  แม้ว่าการทำนาปัจจุบันของหมู่บ้านไผ่ขอน้ำจะทำได้ถึงปีละ 3 ครั้งแต่ประเพณียังคงต้องทำตามการปลูกข้าวตามฤดูกาลในอดีตเท่านั้น

หมายเหตุตบท้าย สอง ผู้ชายสามารถทำขวัญข้าวได้ แต่รับขวัญข้าวไม่ได้เด็ดขาด

 

 

หมายเลขบันทึก: 93222เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2007 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ประเพณีไทยอีกอย่างยังคงอยู่ เห็นแล้วอยากชมวีดิทัศน์ที่ไปถ่ายทำมาซะแล้ว
  • ภาพสวยมากๆเลย ทำยังไงจะได้ยลทั้งหมดละคะเนี่ย
  • ข่าวว่าวันนั้นอากาศร้อนน่าดู คนที่ออกไปนี่อึดน่าดูเลย เชียว
  • ยังไม่ถึงประเพณีที่จะไปถ่ายทำเลย นี่เป็นผลงานของวันที่ 24 ซึ่งยังไม่มีพิธีแห่ค่ะ
  • ภาพทั้งหมดนี้มาจากกล้อง 2 ตัวที่พี่รับผิดชอบ ส่วนที่สวยๆ อาจต้องขอดูจากตัวอื่นๆ ที่หลายๆ คนช่วยกันถ่ายทอดตามมุมมองของแต่ละคนค่ะ โดยเฉพาะของชัยพร ลงทุนแบกกล้องพร้อมขาตั้งกล้องส่วนตัวไปเองเลยทีเดียว แอบไปขอดูมาแล้วภาพใสปิ๊งเชียว
  • โห พะอาทิตย์ท่านใจกว้างไม่หวงแสงเอาซะเลยล่ะค่ะ หมดครีมกันแดดไปเยอะเหมือนกัน ดีนะที่ไม่ต้องใช้ยาดม ตามที่ถูกปรามาสไว้ 555 ภูมิใจที่สุดแล้ว

เก็บรายละเอียดได้ทุกอย่างเลย

เยี่ยมมาก ตอนแรกก้มหน้านึกว่ากลัวร้อน

แต่รู้อีกทีกำลังจดนี่เอง

  • แหมบางทีก็ต้องอาศัยสมุดโน้ตช่วยบ้างนะคะ จำได้แค่บางส่วนค่ะ
  • ถ้าคนที่ไปด้วยช่วยกันเติมในสิ่งที่อาจพลาดไปได้ด้วยน่าจะดีเนาะ

อยากได้พิธีการทำขวัญข้าวเป็นภาษาอังกฤษอ่ะค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ นะค่ะ กำลังหาข้อมูลเรื่องการทำขวัญข้าวพอดีเลยค่ะ ซาบซึ้ง ๆ :)

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เห็นภาพนี้แล้วนึกถึงโยมแม่และท้องนา

แม้ปัจจุบันโยมแม่จะไม่อยู่แล้วก็ตาม

ดิฉันทำงานอิสระเกี่ยวกับหนังสือค่ะ ขอความช่วยเหลือเรื่องรูป

เกี่ยวกับการทำขวัญ ด้วยดิฉันจะแจ้งที่มาของภาพให้ค่ะ ได้รับ

ข้อความนี้รบกวนคุณวันเพ็ญติดต่อกลับด้วยค่ะ

เรียน คุณอำไพวรรณ

ไม่รู้จะติดต่อกลับยังไงค่ะ และภาพที่ถ่ายเก็บไว้ที่สำนักหอสมุดพิษณุโลกหมดเลย ณ ปัจจุบันดิฉันทำงานอยู่ที่ มหาวิทยาลัย พะเยาค่ะ ถ้าต้องการภาพดิฉันจะลองติดต่อน้องเจ้าของโครงการดูว่าเขายังเก็บไว้อยู่หรือไม่ ติดต่อกลับมาอีกทีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท