มหัศจรรย์สังสรรค์สนทนา (12): ต่อเนื่องเชื่อมโยง (INTERCONNECTEDNESS)


ต่อเนื่องเชื่อมโยง

(INTERCONNECTEDNESS)

บทความนี้จะเป็นความพยายามเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน

ประสบการณ์ อ่าน เขียน แปล กระบวนทัศน์ใหม่ (13)

Learning Styles, Learning Styles (2) วิธีใช้, Learning Styles (3) ผลการใช้ และ ปัญหา

มหัศจรรย์สังสรรค์สนทนา (10): VOICE DIALOGUE

บันทึกที่ 100 มหัศจรรย์สังสรรค์สนทนา (11): ผู้นำสี่ทิศ

ที่จริงอยากจะรวม Enneagram มาด้วย แต่คิดไปคิดมา อย่าเลย เพราะยังไม่มีประสบการณ์การนำเอามาใช้จริงๆ เลยมาลงเอยที่ learning styles, voice dialogue และ ผู้นำสี่ทิศ เท่านั้น

มีคำถามมาจาก ตอนแรกสุดที่ผมเคยจะใช้ short-cut ทำแต่ voice dialogue เพื่อเป็น mini-workshop และง่ายดี ปรากฏว่าทำไปทำมาแค่ 3-4 รอบก็พบว่า การจะทำ voice dialogue ให้ดีนั้น ผู้เข้าร่วมจะต้อง share concept ของ subpersonalities และ ego ก่อน เป็นพื้นฐานสำคัญ หรืออย่างน้อยก็ไม่ต่อต้าน มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นอุปสรรค ไม่เพียงต่อตนเอง แต่อาจจะถึงขนาดต่อกลุ่มได้ เพราะจะมี "side-talk" เกิดขึ้นได้ขณะที่ dynamic group กำลังดำเนินอยู่

ก็พบว่าประสบการณ์ตอนทำ Learning styles ให้นักศึกษาแพทย์ปี 1, 2, 3 ดูจะตรงดีกับการนำเข้า และการทำผู้นำสี่ทิศก็คล้ายๆกัน (พี่วิธานอาจจะจำได้ว่าผมอดรนทนมิได้ ต้องพูดเปรียบเทียบ learning styles กับผู้นำสี่ทิศขึ้นมาที่สวนสายน้ำครั้งนั้น) และข้อสำคัญ นัยแห่ง "หลุมพราง" ก็คล้ายๆกันด้วย

ตอนทำ learning styles เสร็จใหม่ๆ ผลเกือบร้อยทั้งร้อยก็คือมีคนประหลาดใจที่ category ที่จัด มันจะพยากรณ์อุปนิสัย ความชอบ//ม่ชอบ ความถนัด/ไม่ถนัด ทุกข์/สุข ในที่ทำงานได้เยอะ และตรงขนาดนั้น และเราก็หวังผลอันนี้ไปให้คนที่ทราบ learning style ของตนเอง สามารถ appreciate ความสามารถ ความถนัดของคนอื่น แต่หลุมพรางก็คือ กลายเป็นว่าบุคลิกบางอย่างที่ style เราไม่ตรง เราก็จะ automatic คิดว่า เราจะ ไม่มีวันทำอย่างนั้นได้ มันไม่ใช่เราหรอกที่จะทำอะไรแบบนั้นได้ ผมเคยได้ยินมีคนพูดถึง Enneagram แบบนี้เหมือนกันว่า เธอเป็นลักษณ์โน้น ฉันเป็นลักษณ์นี้ เหมือนยายก้อยเลย แต่ฉันเกลียดตาตุ้มจังเลย พวกลักษณ์นี้เป็นแบบนี้ทุกคนเลย ฯลฯ

สำหรับ voice dialogue concept แบบนี้ก็เท่ากับเราแอบ "ตีกรอบ" ว่าเราจะเป็นอย่างไร จะใช้เครื่องมืออย่างไร ไว้ก่อนนั่นเอง ยิ่งถ้าเราเผลอเอาใช้ตัดสินความ "เหมาะสม" ในการทำงานอย่างไม่ระมัดระวังให้ดีแล้ว เราจะสร้างกลุ่มที่เรา "เกลียด ชอบ เฉยๆ" ออกมามากมายหลายแบบ เพื่อนำมาปรับเข้ากับระบบใหม่

ตอนที่เราได้ทำ Learning Styles ก็เหมือนกัน นักศึกษาบางคนก็จะตื่นเต้นยินดที่ได้ "รู้ style" ของตนเอง และได้รู้ของเพื่อนๆ เดิมเรามีวัตถุประสงค์จะได้ให้เข้าใจตนเองดีขึ้น และสามารถเข้าใจเพื่อนๆได้มากขึ้น การทำงานเป็นทีมจะได้มี conflictน้อยลง พึ่งพาอาศัยกันมากขึ้นอย่างเนียน แต่ไปๆมาๆกลายเป็นการ labelling โดยไม่ตั้งใจ เช่น "เธอนี่พวก AR (Abstract random) อย่าเป็นประธานเลยเนอะ เดี๋ยวออกนอกเรื่อง ให้ยายเก๋ CS เป็นดีกว่า" หรือ "นี่เธอ ตาหนุ่มหยุด discuss ได้แล้วย่ะ รู้แล้วว่าเป็น AS" หรือบางคนพอเป็น CR ก็จะมีเพื่อนแห่กันถามให้สรุป กลายเป็นแรงกดดันมาลงที่คนๆเดียว "อะไรกัน ก็เธอ CR เธอต้องสรุปได้สิ มัน type เธอนะยะ"

หรือในผู้นำสี่ทิศก็อาจจะออกมาแบบนี้ "เอ่อ.... พี่เป็นหนูนะ อย่าให้พี่เป็นเลยหัวหน้าทีมอะไรเนี่ย น้องก็รู้ว่าพี่ชอบอยู่ในรู" หรือ "ฉันเป็นหนู ฉัน emotional งั้น... ร้องไห้ดีกว่า!! " สำหรับทิศอื่นก็มีได้นะครับ อย่าพึ่งดีใจ เช่น "เอ้า...กระทิงมาแล้ว เปิดทางหน่อยๆ เปิดทางหน่อย ขอพื้นที่หน่อย อะไรนะ? จะขอพื้นที่หน่อย? ที่ฉันกระทิงนะเฟ้ย จะขอพื้นที่ไปขอจากหนูโน่น" หรืออย่างอินทรีย์ก็มี เช่น "เอ้า มีใครฟังไม่เข้าใจบ้าง ยกมือขึ้น อ๋อมีแค่สามสี่คน ไปถามจากคนที่เข้าใจก็แล้วกัน อาตมาจะบินไปล่ะ" หรือตรงกันข้าม "ฉันเป็นหมีๆ ฉัน "ต้องทำตาม protocolๆ"

ใน voice dialogue จะเป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมแบบข้างบน จางลงไปบ้าง โดยการที่เราพัฒนา Aware Ego เพื่อที่เราสามารถ "ฟัง" บุคลิกด้านอื่นๆของเรา ที่มีอยู่ในตัวเรา แต่เราเผอิญ disowned ไปนานแล้ว ขึ้นมาใหม่

เพราะบางทีพอเราอยู่คนเดียว เราก็มาสะท้อนตนเองว่า เอ... ทำไมเราไม่ค่อยมีแรงบันดาลใจ ไม่ค่อยกล้า ไม่กล้าพูด ไม่กล้าทำ ไม่ชอบโน่น ไม่ชอบนี่ ฯลฯ บางทีการไม่กล้า การไม่ชอบ อาจจะช่วยให้เราอยู่ในบริบทที่ ปลอดภัย อบอุ่น มั่นคง และมี certainty อยู่ระดับหนึ่ง แต่ถ้าการไม่กล้านี้กลายเป็นว่าเรา "ทิ้งไพ่" ที่เราน่าจะสามารถเล่นได้ เมื่อโอกาส เวลา และสถานที่ที่เหมาะสม ก็จะเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย บางครั้ง subpersonalities traits เหล่านี้ก็อยากจะตะโกนออกมาให้เราทราบอยู่เนืองๆว่า "ฉันพร้อมแล้ว ฉันพร้อมแล้ว" หรือแม้กระทั่งออกมาในความฝัน ในตอนที่เรา relax ผ่อนคลาย เปิดอิสระให้แก่ตนเอง แต่ระดับความรู้สติของเราจะต้องเปิดรับด้วย พร้อมที่จะเชิ้อเชิญ disowned selves เหล่านี้กลับเข้ามาหาเราใหม่ กลับเข้ามาเพื่อจะ Embrace Ourselves ใหม่ เราก็จะเป็นคนที่เต็มขึ้น และ mature พอที่จะกล่าทำอะไรที่ตอนเด็กๆ ตอนที่เรา disown พฤติกรรมมากมายทิ้งไปนั้น เราสามารถทำได้ในตอนนี้ โดยมีสติ มีปัญญา มีความสามารถทางร่างกาย ความรับผิดชอบมากขึ้น ก็จะเป็นการสานความทะเยอทะยาน ความก้าวไปข้างหน้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ดังนั้น หนูก็สามารถร้องเรียกหาพื้นที่ได้ กระทิงก็อาจจะถอยมาให้พื้นที่คนอื่นได้ หมีก็อาจจะออกมานอกถ้ำ หาสิ่งใหม่ๆทำ อินทรีย์ก็ลงมาคลุกคลีชีวิต สัมผัสงานปฏิบัติได้ โดยไม่ได้เป็นการสูญเสียลักษณะของตนแต่อย่างใด ขอเพียงเราตั้งใจจะนำเอามา "เสริม" ให้กับของที่เรามีอยู่ ขอเพียงเราสามารถ "ฟัง" เสียงอีกด้านหนึ่งของตัวเราได้ เราก็จะเดินไปอย่างไม่เอียง เพราะใช้สมดุลของธาตุทั้งสี่ เมื่อร้อนก็ใช้น้ำ เมื่อช้าก็ใช้ไฟ เมื่อตันก็ลองบินดู เมื่อจะทำงานให้ลุล่วงก็ลงมือทำ ทั้งสี่ธาตุนั้นเอื้อหนุนจุนเจือกันอย่างดี

AR ก็สามารถพูดเป็นลำดับได้เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร AS ก็สามารถให้พื้นที่เพื่อนๆพูดบ้าง CS ก็อาจจะยอม late ยอมพูด คิด ทำ อะไรที่ดูเหมือนนอกเรื่องได้ CR ก็น่าสนใจที่จะลองอธิบายที่มา ความเป็นมาของกระบวนคิดของตนเองออกมา เราจะได้มี full potential ของคนในตัวเราคนเดียวได้ ยกระดับได้อีกขั้นหนึ่ง

นพลักษณ์ทั้งเก้าก็มีการประสานเชื่อมโยง มีสี มี shade มีเงา มีสะท้อนของลักษณ์ต่างๆ บางอย่างที่เรา disowned ไปแล้ว ถ้าเราเห็นว่าดี ก็อาจจะลองหยิบกลับมาเติม ก็ได้

จะดีหรือไม่?

หมายเลขบันทึก: 92986เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2007 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Phoenix.....

เพิ่งเข้ามาอ่านคืนนี้เอง....

ลองเปิดดูอ่านบันทึกเก่าคร่าวๆ...

อาจารย์หมอ.. น่าจะเป็นครูสอนปรัชญา... 

เจริญพร

นมัสการครับ หลวงพี่

สอนหนังสือบางทีก็เหมือนสอนปรัชญาครับ ขอบพระคุณมาก และยินดีที่มาเยี่ยมชมครับ

สวัสดีค่ะ

 

ชอบคำว่า awareness of ego ค่ะ เพราะว่าตอนนี้ จ้อง พิจารณา ไตร่ตรองตัวเองว่า เรามีอยู่หรือไม่

เวลาสนทนา เรามัก เห็นตัวเองในคนอื่น และเห็นคนอื่นในตัวเรา ...แล้วเราอาจจะเห็น ego ของเรา ก็ได้ค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ สำหรับเรื่องราวดี 

 

 

 

สวัสดีค่ะคุณหมอสกล ( P Phoenix )

คุณหมอถามเป็นประโยคสุดท้ายว่า "จะดีหรือไม่"

ดิฉันว่าดีค่ะ เพราะดิฉันคิดว่าการที่คนเรามี learning styles ที่ชัดเจน และรู้ว่าเราเป็นคนประเภทใด ก็จะทำให้เราหาสิ่งที่เหมาะกับเราทำได้ และน่าจะได้ผลดี เพราะเราเข้าใจ traits ของตัวเอง แต่ก็อย่างที่คุณหมอว่าไว้ การทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดการปิดกั้น ดังนั้น ดิฉันคิดว่าควรต้องรู้ว่าตัวเองเป็นคนลักษณะอย่างไร ถนัดอะไร แต่ต้องไม่คิดปิดกั้นตัวเองว่าทำอย่างอื่นที่ไม่ถนัดไม่ได้ค่ะ ควรจะทดลองทำเมื่อมีโอกาส และเมื่อการทดลองทำนั้นๆ ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายหรือระดับของผลกระทบไม่มากถ้าทำไม่สำเร็จหรือสำเร็จช้าค่ะ

อาจารย์กมลวัลย์ P ครับ

แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียวครับ ที่เราจะหลุดจาก "เทปม้วนเก่า" ของเราได้ เพราะบางที เทปม้วนเก่าของเรา ถึงจะเก่า แต่ก็เล่นได้ดี๊ดีมั่กมาก มาหลายปีดีดัก

เอาเป็นว่าไม่ลืมว่าเรายังมีโอกาสเลือกซื้อเทป (หรือเดี๋ยวนี้คงจะเป็น CD หรือ MP3, IPOD, IPOD nano แล้ว) แบบอื่นๆบ้าง แค่นั้นเราก็จะได้ explore ศักยภาพที่แท้จริงของเราได้ทั้งหมด เป็นครั้งเป็นคราวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท