Learning Styles (3) ผลการใช้ และ ปัญหา


ก็นำมาใช้กับตนเองก็ได้ครับ ทฤษฎีอะไรก็ตามที่นำมาใช้แล้ว มีขั้นตอนศึกษาตนเอง น่าจะมีอะไรดี ไม่มากก็น้อยนะครับ

Learning Styles in Medical Education

เนื่องจากหน่วยกิจการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. (อ.อานนท์ วิทยานนท์ และ อ.จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์ เป็นรองคณบดี & ผช.คณบดี ตามลำดับ) ได้พิจารณานำเอา learning styles มา applied ใช้ประกอบในการเรียนการสอน คิดว่ามีประเด็นน่าสนใจดังต่อไปนี้

  1. ความเข้าใจของนักศึกษา
  2. ความพึงพอใจของนักศึกษา
  3. ความรู้สึกของอาจารย์
  4. สัมฤทธิผล

1. ความเข้าใจของนักศึกษา

ยังมีนักศึกษาบางส่วนเข้าใจคลาดเคลื่อนในบางประเด็น และอาจจะทำให้เกิดปัญหา ได้แก่

  • คิดว่าเรื่องนี้เป็น personality หรือ อะไรบางอย่างที่คงทนถาวร ทำให้เกิดความทุกข์ในลักษณะที่ตนไม่ถนัด และบางคนรู้สึกตนยังไม่ได้พัฒนาเต็มที่ในเรื่องที่ควรจะถนัดและเกิดท้อแท้
  • ไม่เข้าใจว่าเรื่องนี้สามารถมีผสมผสานกันก็ได้ มีคนที่เป็นทั้งแบบ biphasic หรือสองลักษณะผสม หรือ triphasic หรือสามลักษณะผสมก็ยังมี
  • ไม่สามารถนำไป applied ได้ในชีวิตจริง ตามทฤาฎี น่าจะเกิดในพวก concrete แต่อาจจะเกิดกับใครก็ได้ ประเด็นนี้อยากจะโทษการเรียนแบบโรงเรียนแบบเก่า ที่เต็มไปด้วยกรอบ และไม่สามารถทนต่อการจินตนาการนอกกรอบนั้นได้

แต่บางคนที่เข้าใจและนำไปใช้ได้ดีก็มี

  • สามารถปรับตัวได้ดีขึ้นในการทำงานกลุ่ม
  • สามารถมองเห็นมุมมองของเพื่อนที่ตอนแรกเราไม่เข้าใจ และบางครั้งก็ไม่ approve
  • เข้าใจอาจารย์มากขึ้น เพราะ facilitator ก็เป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในกระบวนการกลุ่มเช่นกัน
  • บางคน apply ใช้ได้ไปถึงกับสถานการณ์ของคนไข้ (เป็น dream results ที่เราคาดหวังเลยทีเดียว) มีความเข้าใจใน autonomy มากยิ่งขึ้น
  • เรียน PBL อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (ใน domain ของกระบวนการกลุ่มเท่านั้น ส่วนผลการเรียนรวม ไม่ได้วิเคราะห์)

2. ความพึงพอใจของนักศึกษา

มีทั้งสองรูปแบบ

  • เรียนสนุกขึ้น เครียดน้อยลง
  • รู้จักตนเองมากขึ้น และเริ่ม "ไว้วางใจ" ใน styles ของตนเอง
  • ไว้ใจและเข้าใจใน styles ของเพื่อนๆแต่ละคน และเริ่มแบ่งงานกันตามความถนัดมากขึ้น
  • ไม่รู้เรื่องเลย ไม่ทราบว่าเรียนไปทำไม และใช้อย่างไร รู้สึกเสียเวลา
  • เข้าใจแต่นำมาใช้ไม่เป็น ปัญหายังเหมือนเดิม
  • รู้สึกอาจารย์บางท่านก็ไม่ได้ใช้ learning styles มาช่วย และขาดความเข้าใจใน styles ของนักศึกษา

3. ความรู้สึกของอาจารย์

มีทั้งแบบที่ผ่านการอบรมและเข้าใจเรื่อง learning style แล้ว ไปจนถึงอาจจะไม่เคยได้ยินคำๆนี้มาก่อนเลย

  • Empathy เด็กในกลุ่มมากขึ้น
  • ไม่สามารถ empathy เด็กได้
  • respect ใน autonomy ของเด็กมากขึ้น
  • มี autonomy เดียวที่จะใช้ในกล่มคือ my autonomy!!
  • หักคะแนนเด็กน้อยลง เม่อทราบว่า CR ทำงานอย่างไร และ AR เป้นคนยังไง

4. สัมฤทธิ์ผล

ยังไม่ settle

ที่น่าสนใจคือผลระยะยาว ที่เด็กนักศึกษาอาจจะจดจำนำไปใช้ในการเรียน หรือการทำงานของตน  อย่างน้อยที่สุด ถ้านักศึกษาคนไหนพอจะจำได้ว่า ตนเอง เคยแตกต่าง กับเพื่อนขนาดไหน และเราใช้กลไกอะไรเข้ามาช่วยเพื่อให้ survive เหตุการณ์ต่างๆเหล่านั้น บางคนอาจจะพบว่า learning styles ของตนเองเปลี่ยนไปก็มี

การเปลี่ยนแปลง learning styles ไม่แปลก เพราะเรื่องนี้ไมได้ฝังลึกแบบ psychological personality เช่น ตอนผมเด็กๆนี่ พิจารณาจากความขี้แย อ่านหนังสือดูหนังดูละคร เป็นต้องร้องห่มร้องไห้ สงสารนางเอก (ซึ่งคนอะไรมันจะมีชะตากรรมรันทดขนาดนั้น คนที่ "มัน และสนุกที่สุด" ของหนังไทย น่าจะเป็นทีมตัวร้าย ส่วนตัวดีนั้นกว่าจะสุขได้ก็ตอนท้ายๆเรื่องเท่านั้นเอง) น่าจะเป็น AR แต่แล้วระบบการศึกษาในประเทศไทยตอนนั้น จะรุ่งเรื่อง ไม่รุ่งริ่ง ก็ต้องมี CS อยู่แน่นอน ทำตรงนี้ ในเวลาเท่านี้ ไม่ต้องคิดมาก จดอย่างเดียว ก็เติบโตมาแบบ CS และประสบความสำเร็จพอประมาณ

กาลเวลาคล้อยเคลื่อนไป และได้ไปสนใจวรรณกรรม และศาสนา ปรัชญามากขึ้น จนติดกับดัก อ่านไม่ลืมหูลืมตา จาก CS strong ค่อยๆ shift เป็น AS จนกลายเป็น severe AS (14 of 15 full scores) จากการทำงานเรื่องผู้ป่วยระยะสุดท้าย เรื่อง health promotion และเรื่อง evidence-based medicine และ Medical Ethics ตอนนี้ก็มองย้อนหลังไป พบเห็นตัวเองที่เปลี่ยนแปลงแล้วเปลี่ยนแปลงอีก เริ่มใจเย็นลง ให้อภัยมากขึ้น ปล่อยปละละเลยอะไรๆไปมากขึ้น

ก็นำมาใช้กับตนเองก็ได้ครับ ทฤษฎีอะไรก็ตามที่นำมาใช้แล้ว มีขั้นตอนศึกษาตนเอง น่าจะมีอะไรดี ไม่มากก็น้อยนะครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #learning styles#problems#results
หมายเลขบันทึก: 90377เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2007 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยมากๆกับข้อความสุดท้ายของข้อเขียนชิ้นนี้

"ก็นำมาใช้กับตนเองก็ได้ครับ ทฤษฎีอะไรก็ตามที่นำมาใช้แล้ว มีขั้นตอนศึกษาตนเอง น่าจะมีอะไรดี ไม่มากก็น้อยนะครับ"

วันก่อนเพิ่งอ่านบทความหนึ่ง  บอกว่า  แค่"มี"(ความรู้)ยังไม่พอ  แต่ต้อง"เป็น"ให้ได้ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท