BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ประมาท


ประมาท

คำนี้มีใช้ทั่วไปในภาษาไทย ซึ่งคนไทยทั่วไป แม้จะอ่านหนังสือไม่ออกก็จะเข้าใจความหมายของคำนี้...

ประมาท มีความหมายยักย้ายไปตามสำนวนไทยได้หลากหลาย เช่น  เมา มัวเมา เมามัว หลงไหล เผลอเรอ เลิ่นเล่อ พลั่งพลาด ... ประมาณนี้...

ประมาท เขียนตามนี้ น่าจะเป็นการเขียนล้อสันสกฤต... ถ้าเขียนตามบาลีก็จะได้ว่า ปมาโท หรือ ปมาท ....

ป + มท = ปมาท

เป็น อุปสัคนำหน้ารากศัพท์ว่า มท ....โดย แปลว่า ทั่ว ... ส่วน มท แปลว่า เมา มัวเมา... ดังนั้น ปมาท จึงแปลโดยพยัญชนะได้ว่า มัวเมาทั่ว ... แต่ เนื่องจาก ป. อุปสัคตัวนี้ ทำหน้าที่คล้อยตามความหมายของรากศัพท์ เพื่อทำให้ความหมายหนักแน่นขึ้นเท่านั้น ดังนั้น คำนี้ เมื่อแปลโดยอรรถก็มักจะแปลกันแต่เพียงว่า มัวเมา .....

....

ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา คำว่า ประมาท จัดเป็นเจตสิกฝ่ายอกุศล ซึ่งตรงข้ามกับเจตสิกฝ่ายกุศล คือ สติ ... ซึ่งนัยคำสอนจะมีประเด็นที่เกี่ยวกับความประมาทอยู่มากมาย เช่น

คุณสมบัติของพระอรหันต์อย่างหนึ่งที่มีการอธิบายไว้ก็คือ ผู้มีสติสมบูรณ์... นั่นคือ พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากความประมาทมัวเมาโดยประการทั้งปวง...

.......

บรรดาอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมประชุมลงสู่ ความประมาท... ต่างจากบรรดากุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมประชุมลงสู่ ความไม่ประมาท ...

ประเด็นนี้มีข้อเปรียบเทียบไว้ว่า รอยเท้าสัตว์ต่างๆ ย่อมรวมลงสู่รอยเท้าแห่งช้างฉันใด.... อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมประชุมลงสู่ ความประมาท และกุศลธรรมทั้งหลายย่อมประชุมลงสู่ ความไม่ประมาท ฉันนั้น ...

.......

ปมาโท มจฺจุโน ปทํ ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย

ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย ได้ยศแล้วไม่พึงประมาท

อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท

อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

.....ฯลฯ.....

อนึ่ง สาเหตุที่ผู้เขียนได้นำคำนี้มาเสนอ เพราะความเห็นของคุณโยมอาจารย์กมลวัลย์ ในปรัชญามงคลสูตร ๒๐ : ตัวแทนทางศีลธรรม ซึ่งท่านได้เมตตาท้วงติงไว้เล็กน้อย... ทำให้ผู้เขียนพลอยได้ประเด็นเรื่องนี้มาเล่า...

จึงขออนุโมทนาไว้ในที่นี้อีกครั้ง  

คำสำคัญ (Tags): #ประมาท
หมายเลขบันทึก: 92686เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2007 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 05:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กราบนมัสการหลวงพี่BM.chaiwut  

สาธุค่ะ พระคุณเจ้า ดิฉันขอกราบขอบพระคุณที่ได้ให้เครดิตดิฉันเป็นต้นเรื่องในการเขียนเรื่องนี้ ดิฉันว่าดิฉันเองก็จะได้รับประโยชน์จากการอ่านเรื่องนี้เช่นกัน

ขณะนี้ดิฉันมีภาระหน้าที่ในการงานมากขึ้น สวมหัวโขนและหมวกอยู่หลายใบ ดังนั้นคำสอนที่ว่า

ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย ได้ยศแล้วไม่พึงประมาท

จึงเป็นคำสอนเตือนใจที่ดีอย่างยิ่งในขณะนี้ ว่าต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เจริญสติอยู่เสมอค่ะ

กราบขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท