ก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของ KM ประเทศไทย


         ค่ำวันที่ 22 เม.ย.50  ผมเปิด อี-เมล์   ได้รับ อี-เมล์ จาก ศ. ดร. ชัชนาถ  เทพธรานนท์  รอง ผอ.สวทช.  และ ศ. ดร. ยอดหทัย  เทพธรานนท์   ประธานคณะกรรมการบริหาร บวท.   ส่ง อี-เมล์ ของ ศ. ดร. ประมวล  ตั้งบริบูรณ์รัตน์ ที่แสดงว่าทีมงานของ บวท. และ สวทช. ที่จัดการประชุมปฏิบัติการ "ครูวิทย์ในดวงใจที่สร้างสรรค์การสอบให้เด็กรักวิทยาศาสตร์"  โครงการเครือข่ายนวัตกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียน   ประสบความสำเร็จอย่างงดงามมาก

          เป็นการนำเอา KM เป็นเครื่องมือ ลปรร. เคล็ดลับในการสอนวิทยาศาสตร์ระดับโรงเรียน   ให้เด็กเกิดการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ (scientific thinking)  ที่ผลสำเร็จของเวทีแลกเปลี่ยนนี้ทำให้ ศ. ดร. ประมวล ออกอาการเหมือนกินยาอีเข้าไป   ศ. ดร. ชัชนาถใช้คำว่าอาการ ecstasy

         และ ศ. ดร. ยอดหทัย บอกว่ารู้แล้ว ว่าหลังเกษียณอายุงานจริง ๆ จะไปทำอะไร

         แม้เมื่อคืนที่ผ่านมา  ผมจะนอนไม่ค่อยหลับเพราะอากาศร้อน   แต่ผมก็มีความสุขมากเพราะ
1. KM ได้เข้าสู่วงการศึกษาอีกประตูหนึ่ง   คือประตูการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
2. KM ได้เข้าสู่นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศจำนวนหนึ่งที่มาเป็นวิทยากรของการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้   ผมหวังว่าท่านเหล่านี้จะนำเทคนิค KM ไปใช้ในการทำงานที่หลากหลายต่อไป
3. KM แนว สคส. ได้เข้าสู่ สวทช. ผ่านสมาชิกของ สวทช. ที่มาร่วมการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้   หวังว่าองค์กรใหญ่อย่าง สวทช. จะได้ใช้เทคนิคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ไปใช้ในการสร้างความสำเร็จขององค์กร   และจะช่วยเผยแพร่เทคนิคนี้ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่อไป

วิจารณ์  พานิช
 23 เม.ย.50

หมายเลขบันทึก: 92133เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กราบเรียนท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ที่นับถือ

 ตามมาเรียนรู้ครับ ดีใจครับ KM เข้าหลายช่องทาง

 เช้านี้ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการ ลปรร เรื่องงานเวชระเบียน ท่านคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และ ผอ.รพ. มหาวิทยาลัยนเรศวร ศ.ดร.นพ.ศุภสิทธิ์ กำลังบรรยายนำเรื่อง DRG ครับ

     ท่านอาจารย์ครับ

        ตามมาเรียนรู้การใช้ เคเอ็ม ครับ

อุดมศิลป์ ปิ่นสุข

เมื่อวานนี้ 23 เมษายน 2550

ผมนำ"การเล่าเร้าพลัง"ไปใช้กับเยาวชนที่เข้าค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (JSTP) รุ่นที่ 10 สาขาฟิสิกส์ มีทั้งหมด 8 คน ขนาดกำลังดี ให้เยาวชนเล่าเรื่องที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในชีวิต และสามารถ สะกัด ปัจจัยแห่งความสำเร็จของแต่ละคนออกมาเป็นแผนภาพซึ่งเด็กๆ สามารถนำไปใช้ต่อในชีวิตได้ครับ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของพวกเขาคือ

1.ความรัก

2.มุ่งมั่น เอาชนะอุปสรรค

3.พ่อแม่เอาใจใส่

4.เขาแคร์คนที่อยู่เบื้องหลัง (พ่อ แม่ ครู เพื่อน)

5.ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ไม่ท้อถอย

6.ต้องการเอาชนะความกลัว

7.การฝึกฝน

8.มีแรงบันดาลใจ

ขอร่วมแสดงความยินดี กับก้าวกระโดดครั้งนี้ด้วยค่ะ

เพราะรอมานานมากแล้วค่ะ

                             ด้วยความเคารพ

                                         หมอหลอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท