พัฒนาตนเอง (17) : สื่อความหมายที่เปิดเผย


พื้นฐานขององค์การทั่วไปแล้ว วัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ก็คือ การสื่อความหมาย บุคลากรทุกคนต้องการสื่อความหมาย ไม่ว่าจะเป็น การพูด การฟัง การเขียน การเข้าถึงแหล่งข่าวสารข้อมูล จากการสื่อสารด้วยวิธีที่ทันสมัยจากเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทุกคนจึงมุ่งไปที่ความเปิดเผย เรียกว่า เป็นการสื่อความหมายที่เปิดเผย ด้วยเหตุนี้เอง เขาจึงต้องพัฒนาการสื่อความหมายที่ชัดเจน มีคุณค่า โดยคำนึงถึงความเชื่อและเป้าหมายขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งชี้นำทางพฤติกรรมของบุคลากรทุกคน เพื่อให้เชื่อมต่อกับค่านิยมของแผนก/ฝ่าย และเชื่อมต่อไปยังค่านิยมขององค์กร ตามลำดับ

หมายเลขบันทึก: 91384เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2007 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เข้ามาเยี่ยมครับ

กะว่าเขียนครบ 100 บันทึก เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง สามารถรวบรวมเป็น พ็อกเก็ตบุ๊กได้เลยนะครับ

สำหรับผมแล้วการเปิดเผย การสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานเรา (stakeholder) ถือเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญ เพราะนั้นถือเป็นการทำคำรับรองอีกช่องทางหนึ่งครับ

โดยเฉพาะงานของผม QA นี้ถือเป็นกฏ ระเบียบที่ออกมาให้ต้องปฏิบัติเช่น สถาบันต้องจัดทำรายงานการประเมินตนเองและเผยแพร่ต่อสาธารณะชน, ต้องเผยแพร่ผลการประเมินต่อสาธารณะชน, ต้องเผยแพร่แผนพัฒนาคุณภาพต่อสาธารณะชน เป็นต้นครับ

ไม่รู้ที่กล่าวมาจะตรงประเด็นบันทึกนี้หรือเปล่าครับ

กัมปนาท

เห็นด้วยคะสำหรับการพัฒนาตนเองด้วยการบันทึกนอกจากเปิดเผยตัวตนแล้วยังแสดงถึงความจริงใจด้วยเพราะเวทีแห่งนี้เป็นเวทีสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จริง ๆ

ขอบคุณ...

P

ที่มาต่อยอดความรู้สู่การประกันคุณภาพ ครับ

ขอบคุณ... "คำอ้อย" ที่ชี้ให้กระจ่างแจ่มแจ้งแห่งการ...สื่อความหมายที่เปิดเผยและต้องจริงใจ

-_-

  • แวะมาให้กำลังใจครับ
  • Blog to Book
  • ขอให้รักษาการมีบันทึกทุกวันต่อไปทุก ๆ เดือนนะครับ

ขอบคุณ...หัวปลา

P

...ยังไม่รู้จะได้สักกี่น้ำ...ครับ ความพยายาม..เป็นการ..พัฒนาตนเอง อีกแบบครับ

ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท