KM กับโครงการสร้างเสริมสุขภาพ


KM กับโครงการสร้างเสริมสุขภาพ

         สคส. ถูกตั้งคำถาม (และเราเองก็ตั้งคำถามถามตัวเองด้วย) ว่า สคส. ได้รับเงินสนับสนุนจาก สสส. โดยที่ สสส. คาดหวังว่าการดำเนินงานของ สคส. จะมีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพ   แล้วความคาดหวังนี้เป็นจริงหรือไม่

        การประชุมเชิงปฏิบัติการ "การบูรณาการยุทธศาสตร์และแผนหลัก สสส." เมื่อวันที่ 29 พ.ย.48   ช่วยให้คำตอบครับ

        3 ใน 6 โครงการที่มานำเสนอในการประชุมมีความสัมพันธ์เชิงร่วมมือกับ สคส. เพื่อนำ KM ไปใช้เป็นเครื่องมือ  ได้แก่
     1. แผนงานการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี   ดำเนินการโดย มสช.
     2. สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้   ม.สงขลานครินทร์
     3. พัฒนาเครือข่ายสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  โดยสมาคมหมออนามัย
อีก 2 แผนงานมีความต้องการใช้ KM ในต่างรูปแบบ   ซึ่ง สคส. จะร่วมมือได้ในโอกาสต่อไป
     4. แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ   ต้องการทำ KM แบบเน้น IT   ผมได้แนะนำให้ร่วมมือกับทีมวิจัย data mining ที่คณะวิศวฯ, มก.
     5. สร้างพยาบาลชุมชน  โดยชุมชน  เพื่อชุมชน   ใช้ KM เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ   โดยเรียกชื่อวิธีการว่า action learningสรุปว่า สคส. พัฒนาเครื่องมือ KM ให้ทีมงานสร้างเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมที่แตกต่างหลากหลายนำไปใช้   กล่าวคือผลงานของ สคส. มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพทางอ้อม

         กิจกรรมโรงเรียนชาวนา  สุพรรณบุรี,   โรงเรียนชาวนานครสวรรค์,  เครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ จ.พิจิตร   เหล่านี้ทำให้สุขภาพของชาวบ้านที่เข้าร่วมขบวนการมีสุขภาพดีขึ้นทันตา   อย่างนี้น่าจะถือว่าเป็นผลสร้างเสริมสุขภาพโดยตรง   และการที่คนเหล่านี้ผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรไร้สารพิษ   ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องบริโภคสารพิษ   รวมทั้งทำให้สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ   น่าจะถือว่ามีผลสร้างเสริมสุขภาพของคนในวงกว้างโดยอ้อมได้นะครับ

วิจารณ์  พานิช
 29 พ.ย.48

หมายเลขบันทึก: 9125เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2005 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนท่านอาจารย์หมอวิจารณ์

ผมขออนุญาติเสนอว่าเทคโนโลยีที่จะเป็นประโยชน์สำหรับ "แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ" ที่ใช้ได้เลยน่าจะเป็น solution ที่ใช้ FeedSpring กับ PlanetMatter ครับ

FeedSpring-PlanetMatter Solution ของ สคส. ตอนนี้ยังไม่มีหน่วยงานไหนนำไป implement อย่างเต็มที่ (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรายังไม่ได้เขียนเอกสารอธิบายวิธีการใช้ solution นี้อย่างละเอียดด้วย) แต่ solution นี้ของเราออกแบบโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อสร้าง "ระบบข้อมูลข่าวสาร" นี่เลยครับ

ปัญหาใหญ่มากของระบบข้อมูลข่าวสาร คือ ข้อมูลที่จัดเก็บแบบซ้ำซ้อน ไม่ถูกต้อง และ ไม่ update คะ

หากมองในทางด้านเทคโนโลยีแล้ว ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ด้วยการใช้ มาตราฐานของการเขียนและส่งข้อมูล คะ หรือที่เรียกว่า RSS Feed (Really Simple Syndication) เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากต้นกำเนิดเพียงจุดเดียว นอกจากนี้ ก็ยังเป็นการช่วยเรื่องของ Information presentation ที่เป็นมาตราฐานเดียวกัน ทำให้ลด Learning curve คะ

ดิฉันก็ได้ร่วมเข้าประชุมกับ สสส.เหมือนกันค่ะ ความคาดหวังของสสส.ทีจะบูรณาการในแผนต่างๆ ซึ่งตัวเองมองว่า เราบูรณาการกันอย่างเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น KM กับ HA ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าบูรณาการ ผสมผสาน เพราะแยกกันไม่ออกเลยค่ะ คนที่ทำคุณภาพก็ใช้ KM เป็นเครื่องมือ เช่นการทำเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพกับการพัฒนาคุณภาพรพ.ที่พรพ.ทำอยู่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท