การวัดผลการจัดการความรู้ (๔)


CSF for KM by Prof.Dr.Michael Chung จาก California State University

การวัดผลการจัดการความรู้ (๔)
         ข้อคิดเห็นจากคำบรรยาย ของ ศาตราจารย์ H. Michael Chung จาก Center for Information Strategies andTechnologies (CIST)
         California State University, Long Beach ในประเด็นที่เป็นส่วนสำคัญที่ให้การนำการจัดการความรู้เข้าใช้ในองค์กรจะมีส่วนสำเร็จหรือไม่ ขึ้นกับปัจจัยที่สำคัญ เรียงตามลำดับขั้น คือ
       

         ๑. ภาวะผู้นำและการสนับสนุนอย่างจริงจัง และ จริงใจ
         ๒. วัฒนธรรมขององค์กร
         ๓. การกำหนดยุทธศาสตร์ในการนำการจัดการความรู้ เข้ามาเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กรที่ได้กำหนดไว้
         ๔. การสนับสนุนทรัพยากรให้สามารถดำเนินการการจัดการความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยอาจสร้างแรงจูงใจให้หากเกิดการพัฒนาการโดยนำการจัดการความรู้เข้ามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา คน งาน หรือ สนับสนุนให้องค์บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
         ๕. การสร้างเวทีให้เกิดการ สื่อสาร แลก เปลี่ยน เรียน รู้ ของบุคลากรในหน่วยงานนั้นๆ
         ๖. การฝึกอบรมสร้างความเข้าใจในเรื่องการจัดการความรู้ ในประเด็นที่เป็นเครื่องมือที่ช่วสนับสนุนเพื่อองค์กรบรรลุเป้าหมายได้สมบูรณืยิ่งขึ้น
         ๗. การจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ และ การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้บูรณาการกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ การให้ผลตอบแทนแก่ผู้ที่ตั้งใจพัฒนางานประจำให้สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร
         ๘. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาเป็นตัวช่วยโดยเฉพาะการสื่อสารอย่างทั่งถึงในองต์กร เช่น e-mail หรือ การติดต่อด้วย MSN
         ๙. การสร้างเครื่องมือ หรือ สร้างแรงจูงใจให้ผู้บริหารทุกระดับและบุคลากรเข้าใจถึงการนำ การจัดการความรู้ เข้ามาบูรณาการกับการพัฒนาในทุกๆด้าน
         ๑๐. การสนับสนุนด้านโครงสร้างขององค์กร เช่นการลดลำดับขั้นของการทำงานจากการสั่งการมาเป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีม หรือ สนัสนุนให้มีการสร้างเครือข่าย
         ๑๑. การวัดผลสัมฤทธิ์ที่สะท้อนถึงผลสำเร็จขององค์กรในภาพรวม มากกว่าดูผลสำเร็จของบุคคล หรือ หน่วยงานย่อย
JJ,Jogyakarta,Indonesia
        

        

หมายเลขบันทึก: 9123เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2005 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พัชรี เจียรนัยกูร

ขอแสดงความเห็นด้วยคน

 กำลังติดตามเก็บเกี่ยวความรู้เรื่อง KM  และการประเมินซึ่งอ.จิตเจริญไปประชุมที่ อินโด อยา่งใกล้ชิด  เนื่องจากท่านชอบบ่นว่าไม่มีใครอ่าน 

  สำหรับหัวข้อ ปัจจัยความสำเร็จนั้น  ไปดูจาก Poster  หรือฟังบรรยาย ก็มีหัวข้อพวกนี้ซำ้กันแหละ หรืออีกนัยหนึ่ง   นี่คงเป็น consensus ของ key success  โดยแท้

จากประสบการณ์ของตนเองที่ได้ล้มลุกคลุกคลานมากับท่านอ.จิตเจริญ สำหรับ UKM ของมข.  ต้องเห็นด้วยกับ key success factorและเทตุ้มนำ้้หนักไปที่ข้อ 1  และ 2  คือ leadership กับ culture สำหรับมข.  ไม่อยากจะลดทอน กำลังใจตนเอง  เลย  แต่  อยากให้ผู้บริหารลงมือปฏิบัติและ lead ให้เห็นเป็นตัวอย่าง     การจัดประชุมมหกรรมKM ครั้งที่2มีการ mark ตัวให้ คณะกรรมการ KM ได้เข้าไปเห็นบรรยากาศของ KM  แต่มีหลายท่านต้องติดภารกิจที่มข.จัดประชุม seven habbits ซ้อนกันอย่างน่าเสียดาย  อย่าเพิ่งไปเห่ออะไร 7-8 ้habbit ให้มันวุุ่นวายเลย เอา KM ้habbit ก่อนเป็นไร  เพราะเป็น culture หรือ habbit ที่เป็นหัวใจของการใฝ่พัฒนาโดยไม่ต้องลงทุนจ้างใครมาสอนแพงๆ

เอาเป็นว่า  อยากtake home messageจากงานมหกรรมจัดการไปให้คนมข. ว่า KM ไม่รู้  ไม่ทำ  ไม่ได้  เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องถูกประเมิน จากกพร. การประหยัดนำ้ ประหยัดพลังงานเป็น cultีีure ระดับต้นๆ ตอบ KPI 1ข้อ    แต่ KM เป็นเครื่องมือที่จะตอบ KPI ได้หลายข้อ  หากเราทำแบบ integrate อย่าทำแยกส่วน

integate KM ทำยังไง ติดตาม เราจะไปร่วม UKM ที่ ม. มหาสารคาม มกราคม2549 ค่ะ

พัชรี 

พัชรี

กราบเรียน รองพัชรี

 ที่ประชุมที่อินโดนีเซียที่วิทยากรเน้นนัก เน้นมาก คือ Top management ที่ตัองให้ความจริงใจ และ จริงจังในการที่จะมอบหัวใจในการพัฒนาให้ทุกๆท่านในองค์กร พร้อมให้ทรัพยากร และ แรงจูงใจทุกๆอย่างครับ

JJ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท