บทเรียนจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์หาย


คุณชาญวิทย์ - นครศรีฯ แนะนำข้อมูลดีๆหลายอย่าง เช่น นอกจากจะเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วก็ให้บันทึกไว้ในดิสก์เก็ต HDD แผ่น CD สำหรับแผ่นCDก็ได้สาธิตวิธีการทำให้ดูด้วย และที่ชอบมากคือคุณชาญวิทย์บอกว่าให้เปิดอีเมล์ตัวเราไว้หลายๆเมล์เลย มีข้อมูลอะไรที่จะเก็บไว้ก็ให้เมล์ไปเก็บไว้ในเมล์เรานั่นแหละ ฝากข้อมูลไว้กับเมล์ว่างั้นเถอะ และที่สำคัญคือต้องมีวิธีการจัดการกับไวรัสให้ได้

เรื่องข้อมูลในคอมพิวเตอร์เสียหาย สูญหายเป็นเรื่องสุดเศร้าที่สุดเลย

ผมเองก็ประสบมา ที่จริงตั้งใจจะเงียบเอาไว้ ไม่ส่งเสียงใดๆ แต่เมื่อได้อ่านบันทึกของหมอนนทลี โอ๊ย ข้อมูลหาย ช่วยด้วย !!!และ AAR ... จากงาน "โอ๊ย ข้อมูลหาย ช่วยด้วย !!!"    แล้วทำให้ผมเปลี่ยนใจต้องบันทึกเอาไว้เหมือนกัน เตือนตนเองเอาไว้มั่ง

ของคุณหมอนนทลีมีอาการแค่ HDD เดียว แต่ของตัวผมเองข้อมูลหายหมดเครื่องเลย ของคุณหมอนนทลีแก้ไขได้ทันร้อยเปอร์เซนต์ด้วยพลังน้ำใจชาว G2K แต่ของผมสุดวิสัยที่ใครจะช่วยได้

เพื่อเป็นความรู้แก่ชาว G2K หรือเพื่อเป็นบทเรียนแก่ใครก็แล้วแต่ ผมอยากจะบอกว่าเมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมาขณะที่ผมสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ ใส่รหัสผ่านเพื่อใช้งานตามปรกติ ยังไม่ทันที่จะเรียกเวปไซท์ใดขึ้นมา ผมเห็นอาการสั่นที่หน้าจอ แผล็บๆ เป็นจังหวะด้วยรูปหัวกะโหลกไขว้อยู่สองสามครั้ง แล้วเครื่องก็แฮ้งค์ไปเลย ผมบูธเครื่องใหม่ ป้อนรหัสผ่านเดิมก็เข้าไม่ได้แล้ว ทำอยู่กี่ครั้งๆก็เข้าไม่ได้แล้ว

วันรุ่งขึ้นผมก็ยกเครื่องไปร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ (ร้านของหลานชาย )ได้รับคำตอบว่าส่วนของฮาร์ดีสก์ถูกโจมตีหรือถูกทำลายด้วยไวรัสชนิดหนึ่งหมดแล้ว ต้องล้างเครื่องใหม่อย่างเดียว ข้อมูลเสียหายหมด

เขาจดชื่อไวรัสชนิดนั้นให้ด้วย แต่หลายวันผ่านมาแล้ว หาไม่เจอแล้วว่าเก็บไว้ที่ไหน

มันเศร้าที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบข้อมูลความรู้มานาน ก็หมดเกลี้ยงในพริบตา

เศร้าไปก็เท่านั้น.....สร้างข้อมูลใหม่ขึ้นมาอีกดีกว่า

วันนี้จึงได้โทรศัพท์นัดเวลาว่างกับคุณชาญวิทย์ สมศักดิ์ หรือคุณชาญวิทย์-นครศรีฯ แห่งสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นมือ IT ของสำนักงาน เพื่อหาความรู้ว่าทำอย่างไรคราวหน้าคราวหลังข้อมูลจะได้ไม่หาย และอีกความตั้งใจหนึ่งก็คือจะไปขอข้อมูลเกี่ยวกับตัวผมที่คุณชาญวิทย์ - นครศรีฯบันทึกเอาไว้ก็ค่อนข้างเยอะเท่าที่ผมทราบ หลายครั้งก็รบเร้าอยากให้ผมไปเอาเสียที แต่เวลาว่างตรงกันมันไม่ค่อยจะมี จึงไม่ได้ไปเอาเสียที

คุณชาญวิทย์ - นครศรีฯ แนะนำข้อมูลดีๆหลายอย่าง เช่น นอกจากจะเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วก็ให้บันทึกไว้ในดิสก์เก็ต HDD แผ่น CD สำหรับแผ่นCDก็ได้สาธิตวิธีการทำให้ดูด้วย และที่ชอบมากคือคุณชาญวิทย์บอกว่าให้เปิดอีเมล์ตัวเราไว้หลายๆเมล์เลย มีข้อมูลอะไรที่จะเก็บไว้ก็ให้เมล์ไปเก็บไว้ในเมล์เรานั่นแหละ ฝากข้อมูลไว้กับเมล์ว่างั้นเถอะ และที่สำคัญคือต้องมีวิธีการจัดการกับไวรัสให้ได้

อันหลังนี้ชอบมากจริงๆ เพราะครั้งนี้ที่ข้อมูลในเครื่องหายหมด ก็ยังมีข้อมูลจากบันทึกต่างๆที่เก็บไว้ในบล็อกG2K นี่แหละพอที่จะให้เราได้คลำทางต่อไปได้ว่าที่ผ่านมาเราได้ทำอะไรไปบ้าง จากบันทึกนั้นๆมันเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับกิจกรรมอะไรอีกบ้าง ไกด์เราได้อย่างดี ไม่ใช่มือแปดด้าน

อันนี้เรียกว่าถ้าไม่มีบล็อก G2K ช่วยไว้ก็เรียกว่าสิ้นเนื้อประดาตัว ขอบคุณ บล็อก G2K ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

จึงอยากจะบันทึกเอาไว้เป็นบทเรียนสอนใจตัวเองครับ ขอบคุณบันทึกคุณหมอนนทลีที่ทำให้ผมได้ฉุกคิดและบันทึกเรื่องนี้ ทั้งๆที่ตัดสินใจไปแล้วว่าจะเงียบไว้ รู้ไว้คนเดียวก็พอ

ฉะนั้นถ้าแม้นว่าชาวบล็อก G2K ท่านใดมีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับครูนงเมืองคอน ก็ช่วยกันส่งให้ด้วยนะครับ ถือว่าเป็นการทอดผ้าป่าข้อมูลหลังวันสงกรานต์กันก็แล้วกันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 91005เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2007 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

สวัสดีค่ะ  ครูนงเมืองคอน

  • นับว่าเป็นความรู้อย่างดีเยี่ยม  หลังจากที่ครูอ้อยได้อ่านบันทึกของคุณหมอนนท์เหมือนกับท่าน  ก็วิตกว่าจะจัดการอย่างไรกับข้อมูล
  • ส่วนใหญ่ครูอ้อยจะเก็บใน ดิสเก็ต  และแผ่นซีดีค่ะ  และมักจะจัดเก็บประจำ...สม่ำเสมอ
  • และยังดีใจท่านท่านแนะนำให้มีอีเมลล์  ซึ่งครูอ้อยก็ทำอย่างนั้นค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

มันเป็นแบบนี้หรือเปล่าครับ

http://gotoknow.org/blog/president/85905

แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาครับ ที่สำคัญอย่าเก็บข้อมูลไว้ที่พาร์ทิชันที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเด็ดขาด โดยทั่วไปก็เป็นไดร์ c ครับ

สวัสดีค่ะครูนงเมืองคอน

หนิงเองก็เก็บแบบ Hard copy คือบันทึกข้อมูลใส่แผ่น CD หรือ DVD ไว้เป็น back up ทุก 3 เดือนค่ะ   เดี๋ยวนี้แผ่นก็ถูกมากค่ะ  หนิงเก็บแบบนี้มา 2-3 ปีแล้วค่ะ  มีเป็นตั้งๆเลย  เขียนใส่ CD ไว้ว่าข้อมูล ณ วันที่...

ส่วนเรื่องเก็บไว้ใน e-mail ตัวเองก็ทำค่ะ  สะดวกในการที่จะต้องใช้ในเวลาที่เราเดินทางไปที่อื่นๆด้วยค่ะ  เรียกข้อมูลได้จากทั่วโลก  อิอิ  แต่อันนั้นส่วนมากทำกับ  โครงการฯปัจจุบันอ่ะค่ะ  e-mail เดี๋ยวนี้ก็ความจุเยอะๆกันทั้งนั้น   หนิงเริ่มเก็บใส่ e-mail ตั้งแต่ตอนเรียนโท (ที่มช.ปี 36 ค่ะ) สมัยนั้นได้ ไม่กี่ mb เองเนอะ

handy drive ทุกวันนี้ก็ถูกค่ะ  วันก่อนเจอที่ขอนแก่น Kington 2 G ราคาแค่ 499 ค่ะ  ความจุเท่ากับ HDD ลูกแรก(ปี38)ของหนิงเลย  555  จะเก็บอะไรกันนักหนาน๊อ...

จริงๆหนิงก็มี HDD ของโน๊ตบุค  2 ลูกค่ะ 60 G กับ 80 G ตัวหลังนี้ซื้อเพราะ  มีเหตุจำเป็นต้องส่ง HDD claim แล้วใช้เวลาเป็นเดือน  กว่าจะได้ HDD กลับมา  รอจน 3 อาทิตย์ทนไม่ไหว เลยซื้อใหม่เพื่อได้ใช้งานอ่ะค่ะ  ทุกวันนี้ตัวที่claimมาได้  จึงกลายเป็น HDD สำรองไป

หนิงว่าทุกวันนี้เราสะดวกในการเก็บข้อมูล  หลากหลายวิธีนะคะ  แต่ที่สำคัญอย่าลืม back up อยู่เสมอๆ เพราะว่า  ไม่มีอะไรแน่นอนหรอกค่ะ

  • ดีใจที่เจอคนหัวอกเดียวกันค่ะ
  • ครูนง ยังไม่รู้ถึงตอนที่ข้อมูลของดิฉันหายไป ทั้ง HDD ค่ะ เมื่อประมาณเกือบ 10 ปีได้มั๊ง ... เสียแบบเสีย HDD จริงๆ ค่ะ สมัยนั้นยังต้องใช้วิธีการกู้ข้อมูลด้วยระบบ DOS อยู่ ... ก็ทำใจรอบใหญ่ไปแล้ว
  • ตอนนี้ ก็โชคดีค่ะ เพราะเสียแค่ส่วน partition เท่านั้น ข้อมูลยังอยู่ดี
  • แต่ดิฉันมีประสบการณ์ค่ะ ว่า diskette CD DVD ก็ไม่ปลอดภัยนัก ถ้าเราเก็บไม่ดี ตัว HDD ก็น่าจะดีกว่า และ comment ของคุณอุทัย อาวรณ์ ก็น่าจะดีนะคะ เพราะว่าแนะนำให้เก็บไว้ drive ที่ไม่ใช่ drive ของระบบปฏิบัติการ
  • ซึ่งตรงกับคุณบู้บี้จัง ที่แนะนำให้ทำเป็น 2 partition เลย ซึ่งแต่ก่อนดิฉันก็เคยทำ partition หนึ่งใส่โปรแกรม อีกอันหนึ่ง ใส่ข้อมูล แต่ต่อมาขี้คร้านคลิ๊กหลายหน (ความคิดนี้คงไม่ดี)
  • ระบบเวป ก็ปลอดภัยบ้าง แต่คงต้องหาเวปดีดี แต่เราก็จะมีปัญหาถ้าต้องใช้เร่งด้วย แต่เข้าเวปไม่ได้ + ความขี้ลืมค่ะ ว่า แล้วเราไปเก็บไว้ที่ไหน
  • เพราะฉะนั้น ตอนหลังๆ ก็ใช้วิธีนี้ค่ะ
  • ข้อมูลไหนใช้เสมอๆ ก็จะเก็บไว้ใน HDD พกพาตัวนี้ละ กับ HDD ตัวใหญ่ (ของ PC) ที่บ้านด้วย
  • ตัวที่เสร็จงานแล้ว จะมี output เผยแพร่เป็นเล่มเอกสาร แฟ้ม printout ในประเด็นสำคัญๆ
  • แต่ยามใดที่งานยุ่งๆ ก็ลืมเหมือนกัน
  • ตอนนี้กลับใจ ต้องหันมาใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องค่ะ ตามสิ่งที่เรียนรู้จากเพื่อนใน G2K นี่ละค่ะ
  • เพราะใน G2K มีความรู้ให้เรียนรู้มากมายจริงๆ ละค่ะ

เป็นไวรัสอะไรครับ 

หากผมโดนแบบนี้บ้างคงแย่ครับ เพราะข้อมูลผมมีเพียบเลยครับ

ขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ ข้อมูลที่สะสมใช้เวลาสร้างกันมาหลายปี มิใช่ว่าจะย้อนเวลากลับไปหามาใหม่ได้ง่าย ๆ ตัวอย่างนี้เป็นครูให้พวกเราอย่าประมาท ต้องพยายาม back up ข้อมูลอยู่เสมอ

ครูอ้อยครับ

          ครูอ้อยทำถูกต้องแล้วครับ....ครั้งนี้ผมได้บทเรียนครั้งสำคัญทีเดียว ได้ซื้อแผ่นซีดีสำหรับบันทึกมาตั้งไว้แบคอัพเป็นกล่องเลยแหละครับ อดีตอยากจะไม่รอบคอบเองทำไม มันต้องอย่างนี้กับตัวเองให้สาสมไปเลย

คุณอุทัย อาวรณ์ ครับ

          ตามไปดูลิ้งค์แล้ว ตอบว่าใช่เลยครับ ขอให้ชาว G2K ทุกท่านได้ตามไปดูลิ้งค์ที่คุณอุทัย อาวรณ์ ให้ไว้ด้วยนะครับ

          ขอบคุณข้อมูลความรู้ครับ จะอ่านให้ละเอียดอีกครั้ง อีกหลายๆครั้งเพื่อจัดการตนเองครับ

          มีปัญหาผมจะได้ปรึกษามาเป็นระยะๆนะครับ

คุณหนิง ครับ

              ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ดีๆที่นำมา ลปรร.ครับ

คุณหมอนนทลี ครับ

            ขอบคุณบทความของคุณหมอที่ทำให้ผมฉุกคิดและตัดสินใจใหม่เขียนบันทึกนี้ ไม่น่าเชื่อว่าน้ำใจ ความรู้จากชาว G2K หลั่งไหลออกมาช่วยเหลือแนะนำ ห่วงใยและเห็นใจกันและกัน ....ปัญหาก็มีให้เราจัดการอยู่อย่างนี้แหละ ไม่มีวันหมดไปสักเพ....ลา    และขอบคุณสำหรับความรู้ประสบการณ์ที่คุณหมอแนะนำครับ

คุณน้องจตุพร ครับ   

            ชื่อไวรัส และวิธีการจัดการกับไวรัสตัวนี้ อ่านลิ้งค์ นี้ที่คุณอุทัย อาวรณ์ แนะนำครับ

ผอ.ดิศกุล ครับ

         หากไม่ประมาทกับคอมพิวเตอร์ต้องแบคอัพข้อมูลอย่างที่ ผอ.ว่าอยู่เสมอถือว่าถูกต้องนะครับ

        เออนิดหนึ่ง ผมได้เข้าไปอ่านกรอบงานวิจัยของ ผอ. 2 บันทึกแล้ว นับว่าน่าสนใจมากนะครับ เข้ากับยุคสมัยและใช้ประโยชน์ได้จริงครับ ขอเป็นกำลังใจครับ

น่าเห็นใจครับ กรณีข้อมูลหายเพราะไวรัสนี่ มันเจ็บปวดจริง ๆ เคยเจอมากะตัวเองหลายครั้งครับ ก็ได้อาศัยการจัดเก็บหลาย ๆ ที่ เป็นตัวช่วยครับ

ท่านรองรัฐเขต ครับ

            เคยโดนมาแล้วด้วยเหมือนกันหรือครับ...มันเจ็บปวดจริงๆครับ

เรียน อ.จำนง

  • ตามมาขอบคุณที่ได้ไปเยี่ยม ถือว่าเป็นการไปให้กำลังใจกันดีกว่ามั่งครับ ดีใจที่ได้มีโอกาสตอนรับ
  • คงได้เจอใน เวที "อยู่ดีมีสุข" ในอีกไม่ช้าครับ

คุณชาญวิทย์ ครับ

            คงจะไปเป็นนักเรียนเรียนเรื่อง IT กับคุณชาญวิทย์อีกหลายๆครั้งแน่นอน เพราะ IT สำคัญจริงๆ หนังสือโปรแกรมคอมพิวเตอร์บางโปรแกรมที่รับปากคุณชาญวิทย์ว่าจะไปซื้ออ่านยังไม่ได้ซื้อครับ

           ครับเราคงได้ทำงานร่วมกันในทีมอยู่ดีมีสุขจังหวัดนครศรีฯครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคประชาชนจังหวัดนครศรีฯ

สวัสดีค่ะครูนง

·        เจ๊ นึกว่าแอบไปเล่นน้ำสงกรานต์อยู่ที่แท้หลบมานั่งบันทึกเรื่องข้อมูลหายนั่นเอง

·        เรื่องข้อมูลหายนี่ เจ๊ก็เคยโดนมาแล้วว หมดตัวเหมือนกันได้แต่นั่งทำใจแล้วก็ทำใหม่

·        กว่าจะบันทึกได้แต่ละครั้งก็ต้องนั่งคีย์อย่างบรรจงสัมผัสทีละนิ้ว เฮอ แต่ก็ไม่ย่อท้อ

·        คิดว่าครูนงเป็นชั้นเซียนที่มีความรอบคอบแล้วเชียวนายังโดน

·        สงสัยพวกเราไม่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้ขึ้นใจนั่นเอง

        การที่ข้อมูลหายน่าจะมาจาก ทำอะไรแล้วไม่มีภูมิคุ้มกันนั่นเอง จริงไหม? เจ๊ก็ด้วย แหะ

·        อ้อขอรายงานความดีหน่อย เมื่อวานนี้ (19 เม.ย.) เจ๊ ได้พบกับ ผอ.ต๋อย (ศนจ.ร้อยเอ็ด)เลยทวงถามว่า เป็นลูกศิษย์ครูนง เปิดบล็อกแล้วหายเงียบไม่เคยเข้าไปดูแลเลย  ไม่กลัวครูเขาท้อหรือจ๊ะ

·        ป้าต๋อยเลยสารภาพความผิดให้ฟังว่า ครูนงพยายามจะคุยกับเรื่องบล็อก แต่ป้าต๋อยรีบกลับออกมาข้างนอกเลยยังไม่ได้คุยเป็นเรื่องเป็นราว  แล้วป้าแกก็ติดทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับ (9)  ตอนนี้เรียบร้อยแล้วจะกลับเข้าไปดูแลบล็อกของตัวเอง เพราะมีความรู้ที่อยากจะเผยแพร่อยู่เยอะมาก อยากแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดไว้ก่อนเกษียณ แต่มีปัญหาชักจะลืมวิธีใช้บล็อกซะแล้ว

·        เอ้าละ เป็นหน้าที่ของครูนงที่จะติดตามลูกศิษย์คนนี้ต่อไป เรียนดีแต่หลงๆลืมๆ 555

·        เจ๊ว่าถ้าได้ป้าต๋อยมาร่วมวง คงจะได้อะไรดี ๆ มากมายมาประดับชุมชนของพวกเรานะ

สวัสดีเจ๊แอ๊ว

          เจ๊ตามป้าต๋อย กศน.จังหวัดร้อยเอ็ดมาได้แล้ว เป็นอีกหนึ่งผลงานเพลง....เอ้ย เป็นอีกหนึ่งผลงานสร้างเครือข่ายบล็อเกอร์ กศน.อีกแล้วครับท่าน น่าชื่นชมจริงๆ ตามกันถึงถิ่นเลย อย่างนี้ต้องยกนิ้วให้

         ยังไง้ ยังไง .... ฝีมือขนาดนี้แล้ว ก็ฝากตามต่อลูกศิษย์เจ๊และก็ลูกศิษย์ผมด้วย 29 คน ที่อบรมไปแล้ว ไม่ทราบชะตากรรมเลย ขอบคุณครับ

  • ก็มีประสบการณ์ตรงเหมือนกันแทบจะทุกคนเลยนะครับ
  • บทเรียนที่ได้ก็คือต้องสำรองข้อมูลครับ ทำอย่างไรก็ได้ให้มีการจัดเก็บไว้หลายๆ ที่  และหลายๆ วิธี (ที่เหมาะกับตัวเราเท่าที่เราจะทำได้)
  • งานที่สำเร็จแล้วก็คงต้องจัดทำเป็นเอกสาร/ไฟล์อิเลคทรอนิก เหมือนกับที่คุณหมอนนทลีแนะนำไว้ 
  • และหาวิธีการเผยแพร่ไว้ในหลายๆ ช่องทาง (เอกสาร/บล็อก/เว็ปไซต์ ฯลฯ) ก็น่าจะดีนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแลกเปลี่ยน

น้องสิงห์ป่าสัก ครับ

          ขอบคุณมากนะครับสำหรับคำแนะนำที่ทีประโยชน์ยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท