อุปสรรคที่เจอจากการปฏิบัติธรรม


อุปสรรคที่เจอจากการปฏิบัติ กับวิธีการปรับตัวของเรา


1.ความลังเลสงสัยเวลาปฏิบัติธรรมในคอร์ส  หากเกิดลังเลสงสัยในวิธีการ  ให้คิดเสียว่าวันนี้เรามาในคอร์สอะไร ต้องทำแบบนี้ให้เต็มที่  ให้การปฏิบัติเป็นเครื่องพิสูจน์ มาบ้านเขาต้องปฏิบัติตามที่เขาบอก ถ้าไม่เหมาะกับเราจริงๆ กลับออกมาค่อยปรับตามแบบที่เราถนัดก็ได้  พิจารณาว่า ถ้าการทำแบบนี้ไม่มีอะไรเสียหาย   ขณะปฏิบัติ เราไม่ได้ไปสร้างกรรมเบียดเบียนใคร ก็ทำไปก่อน การพิจารณาตัดสินถูกผิด ก่อนการปฏิบัติจริง ไม่ถือว่าเป็นนักพิสูจน์ตัวจริง (ไม่เข้าหลักกาลามสูตร)
2.ถ้าง่วงมาก หรือร่างกายไม่ไหวจริงๆ -- บิดเนื้อบิดตัว หรือทำตัวเองให้ตื่นและสดชื่นก่อน แล้วเริ่มปฏิบัติต่อ -- การทนทู่ซี้ทำไปอาจจะหลับ หรือว่าท้อได้  เริ่มทำแบบมีคุณภาพจะดีกว่า เสียเวลาหน้ามุ่ยทำต่อไป -- เมื่อร่างกายปรับได้ค่อยทำให้นานขึ้น
สำหรับเรา -- ใช้วิธีแกว่งแขน  โยคะเล็กน้อย  เดินถอยหลังบ้าง บางทีก็เดินถอยหลัง 2-3 ก้าวแล้วกลับมาเดินหน้าอีกที  สูดหายใจยาวๆ  ทำตาโตๆ
3.ไม่เอาทฤษฎี หรือตำราที่เคยอ่าน เคยได้ยินได้ฟัง มาตั้งเป็นหลักก่อนปฏิบัติ ให้วางตำราไว้ก่อน  ถ้าเคยอ่านมามากจะยิ่งทำได้ยากขึ้น เพราะว่า จะมาติดอารมณ์การปฏิบัติต่างๆ ทิ้งทุกอย่างก่อนขณะปฏิบัติ ( เดี๋ยวทฤษฎีพวกนี้ ก็จะมาลองใจเอง )
4.การทำอารมณ์--ยิ้มน้อย ๆ(สำหรับเรา คล้ายๆกับ เดินในสวนสาธารณะ หรือ บางทีก็นึกถึงหน้าครูบาอาจารย์ ว่าหน้าท่านหรืออารมณ์ท่านเป็อย่างไร)  --การทำหน้าเครียดหรือตั้งใจมากเกินไปไม่เหมาะกับการปฏิบัติธรรมที่เป็นผล ไม่เหมาะแม้กระทั่งกับการปฏิบัติงาน
5.ไม่ต้องเทียบการปฏิบัติของเรากับของคนอื่น -- สมัยพุทธกาล ท่านที่เห็นธรรม บรรลุธรรม ยังมีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน
6.ใครจะวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติ แนวนั้นแบบนี้ เปรียบเทียบหลายๆวิธี เราจะเฉยๆ ยิ้มๆ  -- กรรมฐานมีตั้ง 40 แบบ พระธรรมขันธ์มีตั้ง 84,000 เรื่อง -- เรามีปัญญาพอจะวิจารณ์ธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านเมตตาตรัสสอนแล้วหรือ  คิดมากๆ ดีไม่ดี เข้าข่ายปรามาสพระรัตนตรัยเชียวนา -- อยู่เฉยๆ ดีกว่าเนอะ --
6. เวลารู้สึกละอายใจกับความผิดในอดีต  เราจะคิดว่านี่คือเรื่องในอดีต เราฝึกอยู่กับปัจจุบัน กรรมที่เรากำลังกระทำนี่ตั้งหากที่สำคัญ    ถ้ารู้สึกผิดมากๆ เราจะนึกถึงท่านองคุลีมาล  ท่านสร้างกรรมจนแทบวินาทีสุดท้าย ก่อนที่จะพบพระพุทธเจ้า ท่านยังกลับใจและบรรลุธรรมได้ในที่สุด (กรรมที่เราทำมาในชาตินี้ ไม่ได้รุนแรงขนาดนั้น เราต้องปฏิติได้สิ -- จะว่าเราปลอบใจตัวเองก็ว่าได้ อย่างน้อยก็เป็นกำลังใจเวลาท้อหละ) 
7. ความละอายต่อบาปในอดีต ก็เป็นสิ่งที่ดีเหมือนกัน -- เราจะได้คิดว่า ถ้าเกิดมาก็ต้องสร้างกรรมแบบนี้อีก เหมือนดินพอกหางหมู ยิ่งถอนตัวยากขึ้น  เกิดมาอีก ไม่รู้จะพบทางเพื่อความพ้นทุกข์อีกหรือเปล่ จะเจอกัลยาณมิตร เจอสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการปฏิบัติแบบนี้อีกหรือไม่
5.เกิดอารมณ์บุญ--หยุดไว้ก่อน  สร้างความรู้สึกตัวต่อไป
6.การตั้งเป้าหมายการปฏิบัติ--เพื่อความรู้สึกตัวเท่านั้น  การปฏิบัติธรรมไม่เหมือนการเรียนในโลก ที่ต้องตั้งผลไว้เพื่อทำให้ได้ ต้องพยายามเตือนตัวเองเพื่อแก้ความเคยชินนี้
7.การสร้างกำลังใจในการสร้างความเพียรด้วยตนเอง -- ท่านบอกว่า ช่วงแรกๆ ให้ทำความเพียร ในช่วงเวลาเดิมของวัน แล้วค่อยขยายผลไป (นี่เราเพิ่งเริ่มตื่นช่วงตี4 หลังจากเพื่อนกัลยาณมิตรที่แสนดี --ฝนเล็กและเถ่า--มีโครงการปลุกให้ตื่นเพื่อสร้างความเพียรมานานแล้ว แต่เราดันตื่นไม่ไหว--ต้องพิมพ์ประจานตัวเองไว้ก่อนจะอายๆ--)
8.ช่วงแรกๆ ที่ปฏิบัติเองคนเดียว เปิดเสียงธรรมะของครูบาอาจารย์เป็นกำลังใจไปก่อนได้


 หมายเหตุ: ยังไม่ได้เรียบเรียงหมวดหมู่ พิมพ์ไว้ก่อน กลัวลืม


นี่เป็นวิธีการส่วนตัวของเราที่บันทึกไว้เพื่อระลึกถึง เพราะสัญญาของเราไม่เที่ยง  ท่านที่มีบารมีมากว่านี้มีมาก เรามีปัญญามีกำลังใจแค่เพียงหางอึ่ง ต้องบันทึกไว้เตือนตัวเอง แต่ถ้ามีใครจะนำประสบการณ์ที่เราแชร์ไปใช้ ก็ยินดี เผื่อว่าอาจได้ผล สำหรับผู้ร่วมทางเดินเดียวกัน

 บุคคลล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมะ
หมายเลขบันทึก: 90707เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2007 06:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท