อายุความ


อายุความ
เรื่องของอายุความ                    อายุความเป็นหัวใจสำคัญของการทำนิติกรรมและสัญญา ตามกฎหมายในความแพ่ง ในการฟ้องร้องคดี เพื่อให้คู่พิพากษาชดใช้ค่าทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้น และตามกฎหมายในส่วนอาญา เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษดังนั้นอายุความก็คือ ให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด ๆ ในการฟ้องร้องให้บังคับคดีเสียภายในกำหนดที่กฎหมายบัญญัติ ถ้ากระทำการใดเกินกำหนดระยะเวลา ถือว่าขาดอายุความ ศาลจะไม่พิจารณาบังคับคดีให้                   คดีในส่วนแพ่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙๓/๙ สิทธิเรียกร้องใด ๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ                   สำหรับกฎหมายในส่วนอาญานั้นมีกกหมายบัญญัติไว้ว่า ต้องนำตัวผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดในคดีอาญา มาในวันฟ้องคดีต่อศาลด้วยตามประมวลกฎหมายอาญาว่า ในคดีอาญาถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นดันขาดอายุความ                                 การกำหนดอายุความที่ต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาส่งฟ้องศาลนั้น กฏหมายได้บังคับให้นับตั้งแต่วันที่ผู้กระทำความผิดมิให้นับตั้งแต่วันที่ยื่นฟ้อง และอายุความนั้นสั้นยาวมีตามโทษที่จะลงแตกต่างกัน แต่ละคดีซึ่งรายละเอียดปรากฏในมาตรา ๙๕ ซึ่งจะนำมากล่าวในส่วนอาญาต่อไป                   ผลของการนำคดีมาฟ้องขอดอายุความ กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ว่าคดีขาดอายุความ แล้วห้ามไม่ให้นำมาฟ้อง หรือห้ามมิให้ศาลประทับรับฟ้องโดยเฉพาะคดีในส่วนแพ่ง มีบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙๓/๑๐ สิทธิเรียกร้องขาดอายุความลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ ทั้งนี้ก็หมายความว่า เมื่อนำคดีมาฟ้องศาล ลูกหนี้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้แต่ศาลจะยกขึ้นเองไม่ได้ เว้นแต่คดีที่เกี่ยวกับความสงเรียบร้อง และศีลธรรมของประชาชน ศาลจึงจะยกขึ้นพิจารณาได้                   ส่วนคดีในส่วนอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา ๙๕ มาตรา ๙๖ หรือมาตรา ๙๗ มิได้บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๓๙ (๖) ว่าห้ามมิให้ฟ้องคดีอาญาที่ขาดอายุความแล้ว และในมาตรา ๑๘๕ มีบัญญัติ   ว่า ถ้าศาลเห็นว่าคดีขอดอายุความแล้วให้พิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยไป                   ในคดีอาญาไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามนำมาฟ้อง แต่เมื่อนำมาฟ้องศาลสามารถที่จะยกขึ้นมาพิจารณาเองได้ ว่าคดีนี้ขอดอายุความไหม โดยไม่ต้องให้จำเลยยกขึ้นต่อสู้ก็ได้ ซึ่งต่างกับคดีในส่วนแพ่งปกติแล้วแม้ศาลทราบศาลก็ไม่ยกพิจารณาเสียเอง ด้วยเหตุผลของข้อกฎหมาย                   ทั้งนี้ในการบังคับคดีอาญาสภาพบังคับมุ่งนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ แต่การบังคับในคดีแพ่งมุ่งให้ชดใช้เป็นค่าทดแทนจากทรัพย์สินของจำเลย                    สภาพบังคับนี้ตามกฏหมายมุ่งไปในทางเยียวยาเป็นวิธีการของมนุษย์ผู้เจริญได้นำมาใช้ต่อกัน วิธีการตอบแทนนั้นเลิกใช้แล้วเว้นแต่เป็นการกระทำที่โหดร้ายทารุณเป็นภัยแก่สังคม ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอันตรายแก่สังคม จึงจำเป็นต้องทำ เพื่อความปลอดภัย ระบบการตอบแทน เป็นระบบที่เรียกว่า ตาต่อตา ฟันต่อฟัน กล่าวคือฆ่าคนตายต้องตายตามตกไป ในบางกรณีทำการทรมานเพื่อทดแทนให้สาสมกับที่กระทำเป็นต้น                         ระบบนี้มนุษย์เลิกใช้แล้วจะมีแต่เพียงปฏิบัติการในสนามรบหรือเกิดสงครามเท่านั้นแต่ถึงกระนั้น ก็มีกฎห้ามทำการฆ่าหรือทารุณแก่ชะเลยศึกที่จับได้ในสนามรบ โดยมีองค์กรของสหประชาชาติคอยควบคุมดูแล                   อายุความนั้นมีไม่เท่ากัน แบ่งออกเป็นอายุความในส่วนแพ่งและอายุความในส่วนอาญา ที่ควรทราบมีดังนี้                   ๑. อายุความในส่วนแพ่ง เรียกว่าอายุความคดีแพ่ง ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่                             ๑.๑. การนับอายุความให้นับแต่ในขณะที่อานบังคับได้เป็นวันเริ่ม ตามมาตรา ๑๙๓/๑๒  ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ถ้าสิทธิเรียกร้องให้งดการกระทำใดให้นับตั้งแต่วันที่ฝ่าฝืนการกระทำนั้น เช่น                   การกู้ยืมเงิน ปกติกำหนดให้ใช้อายุความทั่วไป คือมีกำหนดสิบปีนับแต่วันที่บังคับให้มีสิทธิเรียกร้องได้ กล่าวคือนายเป็ดให้นายไก่กู้ยืมเงินไปหนึ่งหมื่นบาท ทำสัญญาถูกต้อง ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๘ และถึงกำหนดนำเงินมาชำระหนี้ในวันที่ ๓๑  ธันวาคม  ๒๕๓๙ กรณีเช่นนี้ตามหลักกฎหมายให้นายเป็ดมีสิทธิเรียกร้องได้หลังจากสัญญาครบกำหนดคือวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๐ คือถัดจากวันครบกำหนดหนึ่งวัน และนับอายุ  ความตามสิทธิที่นายเป็ดจะฟ้องร้อง ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๐ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๐คือต้องฟ้องเสียภายในสิบปี                             กรณีที่ไม่ได้มีกำหนดชำระหนี้ไว้ให้นับตั้งแต่วันที่กู้ยืมไปเป็นวันเริ่มต้น และต้องฟ้องเสียภายในกำหนดสิบปี ซึ่งระหว่างนับหนึ่งถึงสิบนั้นเป็นวันเริ่มใช้สิทธิเรียกร้องได้ เป็นต้น                             แต่การที่สิทธิเรียกร้องให้งดการกระทำในกรณีกู้ยืมเงินห้ามใช้เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด คือจะให้ลูกหนี้นำเงินมาชำระก่อนที่กำหนดเวลาชำระหนี้ไม่ได้เช่นกัน แต่ลูกหนี้สมัครใจมาชำระก่อนกำหนดได้ และเจ้าหนี้จะปฏิเสธการไม่รับชำระหนี้ไม่ได้                             การละเมิด กกหมายกำหนดให้ฟ้องคดีละเมิดนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้ละเมิดทั้งสองอย่าง เป็นต้น                             ๑.๒. กฎหมายมีบทบัญญัติให้ก่อนที่จะยื่นฟ้องร้องให้มีหนังสือทวงถามก่อนฟ้อง ต้องทวงถามก่อนถ้าผู้นั้นรับจดหมายเป็นหนังสือแล้วไม่ปฏิบัติจึงนำคดีฟ้องศาลได้ เป็นไปตามมาตรา ๑๙๓/๑๓ สิทธิเรียกร้องเจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับได้จนกว่าจะได้ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน เช่น กรณี  การกู้ยืมเงิน กรณีการเรียกร้องให้ชำระเงินจำนองหรือการขายฝาก เป็นต้น                             ๑.๓. การกำหนดนับอายุความ จะกำหนดนับเอาเองตามอำเภอใจไม่ได้ ต้องกำหนดไว้ในกฏหมายเท่านั้น คือ                             ก. อายุความทั่วไปกฎหมายกำหนดไว้มีกำหนดสิบปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐ อายุความนั้นประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้กำหนดสิบปี เช่น                   กรณีที่กฎหมายกำหนดการฟ้องคดีเสียภายในหนึ่งปี พ้นกำหนดหนึ่งปีถือว่าขาดอายุความ ทั้งนี้ถ้าเป็นกรณีผู้ถูกละเมิดรู้ถึงมูลละเมิดแล้วและได้รู้ถึงตัวบุคคลผู้ทำละเมิด ทั้งสองอย่างด้วยกัน แต่ถ้าเพียงแต่รู้เพียงมูลละเมิดที่เกิดการเสียหายอย่างเดียวไม่รู้ตัวผู้ทำละเมิดแล้วอายุความหนึ่งปีไม่นำมาใช้บังคับ ต้องไปใช้อายุความทั่วไปคือ สิบปีหรือ                   ถ้าเป็นกรณีทายาทโดยธรรมฟ้องเรียกร้องในเรื่องขอแบ่งมรดกหรือขอรับมรดกของเจ้ามรดกในระหว่างบุคคลที่เป็นทายาทโดยธรรม กฎหมายกำหนดไว้ให้ฟ้องคดีเสีย     ภายในหนึ่งปี ตามมาตรา ๑๗๕๔ ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย ปรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตามหลักกฎหมายนี้ให้ใช้สิทธิเรียกร้องเสียภายในหนึ่งปี คือกฎหมายใช้คำว่า เมื่อพ้นหนึ่งปี ห้ามไม่ให้ฟ้องจึงต้องฟ้องภายในหนึ่งปีพ้นเพียงหนึ่งวัน ถือว่าขาดอายุความแต่ถ้าพิสูจน์จนให้ศาลเห็นว่าไม่รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกให้ศาลเชื่อ เมื่อพ้นหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกร้องมรดกได้ แต่ต้องฟ้องเสียภายในอายุความทั่วไปคือ ภายในสิบปี เป็นต้น                             ข. เทียบตัวอย่าง คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๓๕/๒๕๓๔ กรณีผิดสัญญาของลดตั๋วเงิน โจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้ ต้องใช้อายุความทั่วไป คือสิบปี                             เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๒/๒๕๓๕ กรณีลูกจ้างทำละเมิดบุคคลภายนอกในทางจ้าง นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว นายจ้าง        ชอบที่จะเรียกหรือได้รับชำระหนี้เนื่องจากจ่ายเงินไปก่อนจากลูกจ้างคืน ลูกจ้างไม่ยอมชำระอายุความฟ้องไม่มีกำหนดไว้ต้องใช้อายุความทั่วไป                             เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๒๔/๒๕๓๕,๑๙๕๑/๒๕๓๕ การฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อขายไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เฉพาะต้องใช้อายุความทั่วไป เป็นต้น                             ๑.๔. อายุความเฉพาะกรณี หมายถึงอายุความซึ่งมีกำหนดไว้ไม่เท่ากัน คือกำหนดได้ สิบปีบ้า ห้าสิบปีบ้าง สองปีบ้าง หรือหนึ่งหรือต่ำกว่าบ้างแล้วแต่กรณี เช่นนี้ก็ต้องให้เป็นไปตามนั้น คือ                   เห็นไหมท่านผู้อ่านอายุความของแต่ละเรื่องมันไม่เท่ากันเป็นสิ่งที่ประชานชนโดยทั่วไปไม่อาจจะรู้ได้จอกจากนักกฏหมาย นักวิชาการ หรือบุคคลผู้สนใจเกี่ยวกับเฉพาะเรื่องเฉพาะทางจึงจะจดจำและหาความรู้สะสมไว้ เป็นคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตน ขอนำมาเสนอเท่าที่หาได้ อย่าต่อว่ากันนะมันละเอียดมากเอา      เฉพาะที่หามาได้ก็แล้วกัน หรือที่นำมาเขียนไว้ เราไม่ว่ากันอยู่แล้ว อ่านให้รู้เรื่องเสียประเดี๋ยวจะหาว่ารู้แล้วไม่บอก บอกแล้วก็ไม่สนใจนิ ขออนุญาตต่อว่าหน่อย เรามันพวกเดียวกันถือว่ากระเช้าเย้าแหย่กัน เพื่อคลายความเครียดก่อนจะอ่านต่อไป นะนะ เพื่อนเรา                                      ๑.๔.๑. กฎหมายกำหนดไว้สิบปี ความจริงอายุความในส่วนแพ่งนี้ กฏหมายกำหนดไว้สูงสุด และเรียกตามภาษากฎหมายเขาเรียกกัน ส่วนผู้เขียนก็ตามเขาเรียกว่า อายุความทั่วไป พอพูดถึงอายุความทั่วไปก็ต้องคิดหรือเข้าใจให้ตรองกัน หมายถึงมีกำหนดสิบปี เช่นเป็นไปตามหลักกฎหมายมาตรา ๑ฅ๓/๓๑ สิทธิเรียกร้องของรัฐในการจัดเก็บภาษี มาตรา ๑๙๓/๓๑ สิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา เมื่อศาลมีคำพิพากษาโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องแถลงต่อศาลให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้ภายในสิบปี นับตั้งแต่ศาลมีคำพิพากษา หรือถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาแล้ว เป็นต้น                                             ๑.๔.๒. กฎหมายกำหนดไว้ห้าปี ตามกำหนดไว้ในมาตรา ๑๙๓/๓๓ สิทธิเรียกร้องต้องเรียกร้องภายในห้าปี(๑) ดอกเบี้ย (๒) เงินที่ต้องผ่อนชำระคืนทุน คือส่งทุนคืนเป็นงวด ๆ (๓) ค่าเช่าทรัพย์สินที่ค้างชำระ (๔) เงินค้างจ่าย คือเงินเดือนเงินปีเงินเบี้ยบำเหน็จเบี้ยบำนาญ เงินค่าเลี้ยงดู (๕) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา ๑๙๓/๓๔ ทุกอนุมาตรา เว้นอนุมาตรา (๖)                                      ๑.๔.๓. สิทธิเรียกร้องที่กำหนดสองปี เช่น                             ก. ค่าการงานที่ทำ หรือดูและกิจการ รวมทั้งเงินที่สำรองออกไปให้ก่อน                             ข. ค่าผลิตผลทางการเกษตรที่ส่งมอบให้ โดยเฉพาะผลิตผลจกไม้เครื่องเรือนเครื่องใช้ในบ้าน                             ค. ค่ารับส่งโดยสาร ค่าระวางค่าเช่าค่าธรรมเนียม                              ง. ค่าธุรกิจโรงแรมหรือหอพัก ค่าจำหน่ายอาหารเครื่องดื่ม ค่าเช่าที่พัก ค่าพาบริการการเที่ยว                                  จ. ผู้ขายฉลากกินแบ่ง ฉลากกินรวมหรือฉลากที่คล้ายคลึงกัน ซื้อแล้วไม่จ่าย โดยเฉพาะค่าขายฉลากกินรวบคงจะไม่มีใครเสียสติไปฟ้องศาลว่าซื้อฉลากกินรวบไปแล้วไม่จ่ายเงิน                             ฉ. ธุรกิจเกี่ยวกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า                             ช. ค่าจ้างลูกจ้าง เรียกเอาสินจ้างหรือเรียกเอาค่าจ้างที่นายจ้าไม่ยอมจ่าย หรือยังติดค้างอยู่ฯ ล ฯ                                      ๑.๔.๔. สิทธิเรียกร้อง ที่เกิดจากผู้รับจำนำจำนอง ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ รวมทั้งหนี้ประธานที่ขาดอายุความ จะใช้สิทธิในการบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้หมายความ ถ้าค้างติดดอกเบี้ยกันอยู่โดยชำระหนี้ประธานแล้ว ดอกเบี้ยยังติดค้างอยู่ ต้องเรียกร้องเสียภายในระยะเวลาที่กำหนดสองปี และดอกเบี้ยนั้นต้องเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากหนี้ประธานที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องได้ไม่เกินห้าปีเท่านั้นอาจจะมีผู้อ่านบางท่านข้องใจว่าอายุความระหว่างสามีภรรยามีไหม คำตอบว่ามีอาจจะมีบางท่านแย้งการเป็น    สามีภรรยามีอายุความ ก็ทำไปขณะจดทะเบียนสมรสกันแล้วไม่เห็นมีเขียนไว้ว่าจะอยู่กันกี่ปีถ้าล่วงเลยไปแล้วต่างคนต่างสมัครอยู่ร่วมกันอยู่ต่อไปกี่ปีขอดอายุความแหม ถ้าคิดอย่างนี้ผู้เขียนว่าผู้ที่เป็นเพศชายคงดีใจซินะ จะได้ยกอายุความเป็นข้ออ้างหาอีหนูใหม่ แต่ชาติหน้าเถอะอายุความระหว่างสามีภรรยานั้น หมายความว่า สัญญาที่สามีภรรยากระทำไว้ต่อกันถ้าได้กระทำกันไม่ว่าเรื่องอะไร ถ้ายังไม่หย่าขาดจากกันท่านว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกเสียเมื่อใดเวลาใดก็ได้ หรือในกรณีหย่าขอดจากกัน แต่ก่อนหย่าไม่บอกเลิกสัญญา(คือทำสัญญา หรือทำลาย) กฎหมายยังยึดสัญญาให้ว่าจะบอกเลิกได้ภายในหนึ่งปี แต่ถ้าพ้นจากนั้นมีผลบังคับตามกฎหมาย อย่างไงล่ะท่านผู้อ่าน จริงไหม                              ๑.๕. อายุความเฉพาะเรื่องได้แก่                                      ๑.๕.๑. คดีเกี่ยวกับคดีกองมรดกกฎหมายได้บัญญัติให้ฟ้องภายในหนึ่งปี คือพ้นหนึ่งปีนำไปฟ้องคดีนั้นขาดอายุความ มี                                      ก. ทายาทโดยธรรม กฎหมายห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทรู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดก                                         ข. ทายาทโดยพินัยกรรม คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหยดตามพินัยกรรม ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่ผู้รับพินัยกรรมรู้หรือความรู้ถึงสิทธิที่มีอยู่ตามพินัยกรรม                                      ค. เจ้าหนี้ แม้กฎหมายมาตรา ๑๙๓/๒๗ อายุความเกินกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี แต่เป็นกรณีสามารถพิสูจน์ได้และศาลเชื่อว่าไม่รู้จริงก็ฟ้อง เมื่อพ้นหนึ่งปีได้ แต่ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่เจ้ามรดกตาย                   ครับกรณีเช่นนี้อย่าหลงประเด็นในสิทธิเรียกร้อง มั่วนิ่มควรให้ชัวถึงแม้แม่อีหนูเขาจะรอได้ เป็นเวลาสิบปี แม้เขาจะรู้ หรือควรจะได้รู้ตามสิทธิเกินสิบปี แม้จะแยกกันอยู่ความเป็นสามีภรรยาและสิทธิในการรับมรดกซึ่งกันและกันยังมีอยู่ มีกฎหมายกำหนดไว้ สามีภรรยาแยกกันอยู่ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า หาได้เสียสิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ เช่นกรณีเป็นภรรยาของหลวงพี่ที่แยกไปบวชถ้ายังไม่จดทะเบียนหย่า วันหนึ่งหลวงพี่ไปบ้านเป็นปลอดคนหลวงพี่หน้ามือเพราะบวชนาน ปล้ำภรรยาของตนซึ่งไม่ยินยอมเพราะเห็นว่า    กำลังเป็นพระอยู่ถือว่าผิดศีลปาราชิก แต่หลวงพี่กำลังดีกว่าจึงทำการปลุกปล้ำและทำการจนสำเร็จความใคร่ มีคนมาพบเห็นในเวลาต่อมา และภรรยาอับอายไปฟ้องหาว่าหลวงพี่ข่มขืนใจ และแล้วหลวงพี่จะได้รับโทษทางคดีอาญาตามมาตรา ๒๗๖ ไหม..ฮือ                   ถ้าพิจารณาตามตัวบทกฎหมายแล้วความผิดในบทนี้ ตอนหนึ่งของบทบัญญัติเขียนไว้ว่า ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิง ซึ่งมิได้เป็นภรรยาของตนโดยการขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย.....                   ก็หลวงพี่ท่านข่มขืนภรรยาของท่านถ้าพนักงานสอบสวนบ้าจี้ไปจับหลวงพี่มาสอบสวน พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนนั้นอาจจะต้องติดตารางแทนหลวงพี่ได้ แต่นำไปแจ้งทางคณะสงฆ์ได้ แต่อย่างไรก็ตามเจ้าอาวาสที่หลวงพี่จำพรรษาอยู่ในวัดนั้นเจ้าพนักงานในคดีอาญา และมีอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์อยู่แล้ว ท่านต้องจัดการให้สึกเอง เพราะคดีเช่นนี้เพียงแต่ผิดศีลเพราะวินัยหนึ่งในสี่ของโทษปาราชิก แต่ถ้าเจ้าอาวาสไม่กระทำจำมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗ ก็อาจเป็นไปได้                        เพื่อน ๆ ที่รักถ้าท่านกำลังอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ เห็นภรรยาเดินมาจงปลงเสีย ถ้าท่านมองภรรยาของท่านแล้วมันโปร่งในแจ๋วยิ่งกว่ากระจกเกิดคิดมิดีและก่อการที่เป็นโทษขึ้น แล้วหลวงพี่จะโทษใคร จริงไหม?  แหมว่ามานอกเรื่องเสียยาว แต่ก็คลายความเครียดได้เหมือนกัน เรามาคุยกันต่อไปดีกว่า                                      ๑.๕.๒. การฟ้องไม่รับบุตร ชายที่เคยเป็นสามีของหญิง ซึ่งเป็นมารดาของบุตร เกิดสงสัยอะไรบางอย่างว่าคนทำมิดีมิร้ายหญิงคนหนึ่งเพียงบุกรุกเข้าไปในห้องนอนแล้วจัดการเผด็จศึกเสีย ต่อมาหญิงนั้นตั้งครรภ์ คลอดบุตรออกมาใส่ชื่อของตนเป็นบิดาของเด็ก กรณีเช่นนี้ถ้าจะฟ้องไม่รับบุตรต้องฟ้องเสียภายในหนึ่งปี ถ้าพ้นหนึ่งปีเพียงวันเดียงก็ไม่ได้ แต่มีเงื่อนไขในต่อมาของตัวบทว่า หนึ่งปีนับตั้งแต่รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการเกิดของเด็กนั้น แต่ถ้าไม่รู้แต่รู้ภายหลังห้ามฟ้องเมื่อเกินสิบปี                             แหมใจร้ายเช่นนั้นเชียวหรือ ถ้าเราไม่ต้องการเขาเราบุกรุกเข้าไปในบ้าน และไปทำเขาทำไม ดีนะพ่อเขาไม่เห็น จะเกิดคดีข่มขืนตามมาตรา ๒๗๖ และคดีบุกรุกตามมาตรา ๓๖๔ และ ๓๖๕ ก็ตารางนิ คิดก่อนทำซิพรรคพวก และต้องรับผิดอย่างผู้ชายลูกพ่อขุนแผนซิ                                       ๑.๕.๓. ในกรณีตรงข้ามถ้าเด็กนั้นไม่ยอมรับชายที่เคยเป็นสามีแม่ เพราะเป็นผู้ประพฤติทุรศีลกับแม่ โดยไม่ตั้งใจให้เกิดและเมื่อเกิดมาไม่ยอมรับเลี้ยงดู เป็นการดูแคลน เป็นบุคคลที่มีจิตใจน่ารังเกียจ ประเภทนี้มีบ้างไหมอ๋อต้องมีซิมิฉะนั้นกฎหมายจึงไม่เขียนไว้ เออจริงซิ                             แต่อย่างไรกฎหมายไทยบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๔๕ ห้ามมิให้บุตรฟ้องบิดา แต่จะทำอย่างไรจึงจะฟ้องพ่อใจร้ายได้ ก็กฎหมายในบทเดียวกันนั่นแหละได้กำหนดข้อยกเว้นไว้ ไชโยไชยะพระช่วย โลกนี้ใช่จะไร้ความเป็นธรรมไม่ แล้วขอยกเว้นว่าอย่างไร บุตรก็ไปขอให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์เพราะเป็นคดีที่ว่าเป็นคดีอุทลบ เนื่องจากมีที่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโน้นสมัยนั้นใครฟ้องพ่อหรือแม่มันให้โบยเสียก่อน แล้วปล่อยตัวไป และห้ามนำเอามาพิจารณา แต่ปัจจุบันสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์แล้ว วิสัยทัศน์ก็เปลี่ยนไปก็จริงแต่ก็คงรักษาประเพณีอันดีไว้มิใช่เห่อไปกับการวิวัฒนาของสังคม โดยไม่เหลียวแลถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ด้วยอหตุนี้ยังถือว่านักกฎหมายท่านยังคงอนุรักษ์สิ่งที่ดีไว้บ้าง และผ่อนผันให้มีคนกลางคืนพนักงานอันการฟ้องแทน โดยฟ้องนั้นก่อนจะฟ้องต้องอยู่ภายในเงื่อนไข ๓ ประการ  
หมายเลขบันทึก: 89981เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2007 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท