BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญามงคลสูตร ๑๗ : สิ่งควรกระทำ (ต่อ)


ปรัขญามงคลสูตร

สิ่งควรกระทำประการแรก คือ ทาน ....ส่วนประการที่สอง คือ ธัมมจริยา แปลว่า การประพฤติธรรม...

การประพฤติธรรม ข้อความนี้ เราได้ยินกันเป็นประจำ โดยเฉพาะยุคนี้สมัยนี้ ซึ่งมีปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมในสังคม มีปัญหาเรื่องความร้าวฉาน แตกแยก ชิงดีชิงเด่น ในสังคม ...นั่นคือ สังคมยุคนี้ขาดคุณธรรมจริยธรรม จึงมีการเรียกร้องสิ่งที่ขาดหายไป กระทั้งเรื่องนี้ได้รับการเสนอเป็นวาระแห่งชาติ....

ตามพระคัมภีร์ การประพฤติธรรม หรือธัมมจริยา ก็คือ การประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ หรือทางไตรทวารนั่นเอง... ซึ่งอาจเรียกได้ว่า กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และมโนสุจริต ๓ ...และเมื่อรวมทั้งหมดเข้าด้วยกันก็เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ นั่นคือ แนวทางแห่งกุศลกรรมหรือความดีนั่นเอง...

ธรรมหมวดนี้ ผู้สนใจทั่วไปก็คงจะจำได้ และเพื่อเป็นการย้ำเตือน ผู้เขียนจะอัญเชิญมาวางไว้อีกครั้ง...

  • กายสุจริต ๓

๑. เว้นจากการฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์

๒. เว้นจากการลักขโมยของผู้อื่น

๓. เว้นจากการประพฤติผิดปเวณี

  • วจีสุจริต ๔

๔. เว้นจากการพูดเท็จ

๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด

๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ

๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

  • มโนสุจริต ๓

๘. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น

๙. ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น

๑๐. มีความเห็นถูกต้องตามทำนองครองธรรม

.....

การดำเนินชีวิตไปตามกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้ จัดเป็น การประพฤติธรรมหรือธัมมจริยา ซึ่งอาจครอบคลุมหลักศีลธรรมพื้นฐานทั้งหมดก็ว่าได้...

จริงอยู่ว่าธัมมจริยานี้ มิใช่หน้าที่หรือสิ่งที่บังคับว่าจะต้องกระทำ... แม้กระนั้นก็จัดเป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพราะจะช่วยให้ตัวเองพัฒนายิ่งขึ้นๆ ไป ในด้านความดีส่วนตัว... และไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นหรือทำให้สังคมเดือดร้อน...

สังเกตได้ว่า เมื่อสมาชิกในสังคมโดยมากประกอบด้วยธัมมจริยาแล้ว สังคมก็จะเกิดความสงบสุข... แต่สมัยใดที่สมาชิกโดยมากไม่ประกอบด้วยธัมจริยาแล้ว สังคมก็เกิดความวุ่นวาย แตกแยก แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น ...

ดังเช่นยุคสมัยนี้เป็นต้น.. .

คำสำคัญ (Tags): #มงคลสูตร
หมายเลขบันทึก: 88898เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2007 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

     นมัสการ พระคุณเจ้า

     ทำให้ดู อยู่ให้เห็น

      ท่านอาจารย์ชา ใช้สอนศิษย์  ผมว่าเป็นสิ่งที่น่าน้อมนำมาประยุกต์ ในการประพฤติธรรมอย่างง่าย ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน  ถ้าผู้ใหญ่ทำไม่ดีเด็กก็จะดีไม่ได้

         ผู้ใหญ่ต้องทำความดีให้เด็กเห็นบ่อยๆ

ไม่มีรูป
วรชัย หลักคำ
เจริญพร

ชอบแล้ว...พระอาจารย์...

สาธุ...

กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

เบิร์ดมาเรียนนิมนต์ท่านไปโปรดสัตว์ที่http://gotoknow.org/blog/beutifulmemories/88301 ค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ

 

กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ 

"การจำได้หมายรู้ (สัญญา) กับการปรุงแต่ง (สังขาร) พวกนี้ เข้าข่าย จินตนาการ รึเปล่า คะ?..

นิมนต์หลวงพี่โปรดสัตว์ที่เดิมด้วยค่ะ

P

ไม่สามารถอ้างได้ว่าเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่าย...

การจะเปรียบเทียบ หรือจะสงเคราะห์บางสิ่งกับบางสิ่งว่าได้ไม่ได้ จะต้องมีพื้นฐานเหมือนกันในเรื่องนั้นๆ เช่น พุทธปรัชญา วัฒนธรรมไทย เทพปกรณัมของกรีกโบราณ...

แต่ ถ้าจะเปรียบเทียบข้ามพื้นฐาน ก็จะต้องนำศัพท์ที่ใช้มาหา นิยาม ให้เหมือนกันก่อน จึงค่อยดำเนินการ...

ยกตัวอย่าง ก๋วยเตียวกับแซนวิช หรือฟังเพลงกับดูมโนราห์ ..อย่างไหนอร่อย หรือสนุกกว่ากัน...อย่างนี้ข้ามพื้นฐาน...

บอกตรงๆ หลวงพี่เบื่อกับเรื่องทำนองนี้ ....

เจริญพร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท