จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

เลี้ยงลูกระบบสองภาษา


การเรียนรู้ภาษาที่ดีสุดคือการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมครับ ดังนั้นหากต้องการให้ลูกพูดได้กี่ภาษาก็เพียงคือสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อภาษาก็ได้แล้วครับ

มีคนมักจะถามผมว่า ลูกพูดภาษาอะไร เหตุที่ถ้าอย่างนี้เนื่องจากผมเป็นคนสตูล และพูดภาษามลายูไม่ได้ แต่ได้แต่งงานกับคนปัตตานี และพูดภาษามลายูเป็นหลัก ดังนั้นคำถามนี้จึงถูกถามบ่อยมาก และคำตอบของผมคือ สองภาษาครับ กับแม่พูดมลายู กับพ่อพูดไทย

ซึ่งวิธีการนี้หลายคนพยายามแล้วแต่รู้สึกว่าไม่สำเร็จ พี่สาวของผมก็เป็นเหมือนผมครับ เพราะแต่งงานกับคนปัตตานีเหมือนกัน แต่ความสำเร็จอาจได้มาช้านิดหนึ่ง จนพ่อผมบ่นว่าคุยกับหลานไม่รู้เรื่องในช่วงแรกๆ แต่พอหลานเข้าโรงเรียน พ่อผมก็สบายใจไปนิดหนึ่ง

ดังนั้นตอนผมมีลูก พ่อผมจึงอยากให้ผมและภรรยาของผมพูดไทยกับลูก เพื่อให้เวลาคุยกับปู่กับย่า จะได้รู้เรื่อง แต่ผมบอกพ่อว่า ต้องใช้ระบบสองภาษา หรือไม่ต้องให้ได้ภาษามลายูก่อน ผมให้เหตุผลว่า โดยหลักการเราสามารถสอนลูกพร้อมๆ กันได้หลายภาษาครับ แต่ถ้าไม่สำเร็จต้องเลือกภาษาที่ยากก่อน ซึ่งนั่นก็คือมลายู เหตุผลที่ภาษามลายูยาก ในทัศนะของผมเนื่องจาก สภาพแวดล้อมปัจจุบันเปลี่ยนไป การเรียนรู้ภาษามลายูจากสื่อต่างๆ ทำได้ยาก ต่างจากภาษาไทยที่สามารถเรียนรู้จากสื่อต่างๆ ได้มากและหลากหลาย

วิธีการในการสอนภาษาของผมมีหลายเทคนิคครับ แรกๆ ตอนลูกหัดพูด ผลที่ได้ออกมาเป็นเรียกชื่อสิ่งของหนึ่งอย่างพร้อมกันสองภาษา เช่น ถ้าจะให้ผมไปไหนก็จะพูดว่า อาบี(พ่อ) ฆีไป (คำว่า ฆี แปลว่าไป ในภาษาไทยครับ)

แต่ตอนนี้สองขวบกว่า ปรากฏว่า ลูกมีทักษะในการแยกคำพูดที่จะใช้พูดกับพ่อ (ไทย) กับแม่ (มลายู)ได้ดีขึ้ครับ แต่ภาษาไทยจะเสียเปรียบหน่อยหนึ่ง ตรงที่ถ้าผมไม่ได้อยู่เล่นกับลูกสัก 4-5 วัน (แล้วไปอยู่บ้านยาย) ผลก็คือว่า พอกลับมาอยู่ที่บ้านลูกก็จะพูดมลายูกับผมอีก ซึ่งผมก็ต้องปรับภาษาของลูกใหม่อีกทีหนึ่ง ซึ่งอันนี้เป็นข้อยืนยันว่า สิ่งแวดล้อมสอนภาษาได้ดีกว่าอย่างอื่นครับ

ผมมีเทคนิคในรายละเอียดอีกเยอะครับ แล้วจะทยอยทำเสนอ

หมายเลขบันทึก: 88235เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากพูดภาษามลายูเป็นบ้าง :-)

ผมก็มีลักษณะคล้ายๆกับอาจารย์อีย์ แต่ซับซ้อนขึ้นนิดหนึ่งตรงที่ภรรยาพูดมลายูแต่สำเนียงและศัพท์แตกต่างไปจากทาง๓จชต. ทั้งๆที่ผมมีพื้นฐานภาษามลายูปัตตานีอยู่บ้างแล้ว(จากการมาเรียนอยู่แถบนี้ร่วม ๑๐ ปี) แต่ไปอยู่บ้านภรรยาช่วงแรกๆเป็นงงเลย แต่ดีที่ที่นั่นพูดกัน๒ภาษา

ผมรู้สึกทึ่งกับการรับรู้และพัฒนาการทางภาษาของเด็กเป็นอย่างยิ่งและคิดว่าระบบการสอนภาษาอื่นๆนอกจากภาษาไทยของบ้านเมืองเราต้องมีอะไรผิดหลาดอยู่แน่ๆเลย(สังเกตุจากการใช้ภาษาของลูก)

ลูกคนแรกผมพูดมลายูสไตล์เคด้า(มาเลเซีย)ตามแม่ แม้ว่าผมจะมีโอกาสเรียนมลายูสำเนียงนี้ก่อนลูกคนนี้เป็นปี(คิดเอาเองว่าเพราะอะไร..แหะ..แหะ)แต่พอลูกอายุได้ ๒ ปี ทักษะการใช้ภาษาของแกก็ทิ้งผมเสียจนไม่เห็นฝุ่นแล้ว ตอนนี้แกก็เลยมาเป็นครูสอนภาษามลายูสำเนียงเคด้าให้กับผม(แอบสังเกตุการใช้ภาษาของเขาเวลาพูดแม่เค้า)

พอลูกอายุเกือบ ๓ ขวบผมก็รับแก(พร้อมแม่)มาอยู่ด้วยกันที่ยะลา ช่วงแรกสงสารแกเรื่องการปรับตัวด้านภาษากับคนรอบข้างที่ยะลามาก แรกๆแกจะเงียบไม่ยอมพูดกับคนภายนอก(เพราะภาษาไม่เหมือนกัน)เป็นอย่างนี้อยู่ระยะหนึ่ง หลังๆเริ่มดีขึ้น ตอนนี้ก็ปร๋อแล้ว ผมมองว่าเด็กไม่ได้เคร่งเครียดเหมือนผู้ใหญ่อย่างเราๆเรียนภาษากันเลย แต่เป็นไปอย่างอัตโนมัติตามสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา

ตอนนี้แกกำลังจะเข้าเรียนป.๑ สรุปว่าพูดได้ ๔ ภาษาแล้ว

๑.มลายูสำเนียงเคด้า -พูดกับแม่เค้า ญาติทางแม่ และผมบางโอกาส

๒.มลายูปัตตานี -พูดกับเพื่อนๆเขาที่ยะลา

๓.ไทยกลาง -พูดกับครู เพื่อนบางคน

๔.ไทยใต้ -พูดกับผมบางโอกาส กับญาติทางผม(ใช้ไม่บ่อยแต่เข้าใจหมด)

นี่คือธรรมชาติของเด็กและเขาจะสามารถสับเปลี่ยนเวอชั่นของภาษาได้โดยอัตโนมัติ

ข้อสังเกตอีกนิดคือ การเรียนรู้หลายๆภาษาพร้อมกันพบว่าเด็กจะพูดคล่องช้ากว่าเด็กวัยเดียวกันนิดหน่อย

ปล.ช่วงนี้ยุ่งๆไม่ได้อัพเดทบล็อคตัวเองเลย เข้ามา"มอด,สิง"บล็อคเพื่อนไปพลางๆก่อนก็แล้วกันเน๊าะ 

ยินดีให้สิงครับ

P

ผมก็ใช้วิธีการของอาจารย์บ่อยเหมือนกัน

ลูกจะคลอดในอีกไม่กี่วันแล้วคะ วางแผนกับสามีว่าอยากให้ลูกได้รู้2ภาษา โดยพ่อเขาจะพูดภาษาอังกฤษ ดิฉันจะพูดไทย แต่ติดตรงที่บ้านเป็นคนเหนือเลยจะให้ยายเขาพูดภาษาท้องถิ่น น้องจะได้หลายภาษาและจะได้เข้าใจภาษาถิ่นด้วย แต่ใจความสำคัญคือ อยากให้ลูกได้ภาษาอังกฤษ เพราะพ่อแม่ค้าขายกับต่างชาติ แต่ก็ไม่ได้เก่งภาษาอะไร จึงอยากให้ลูกมีพื้นฐาน จะทำให้น้องพูดช้ากว่าเด็กวัยเดียวกันไหมคะ เพราะจะทำต้งแต่น้องเกิดเลย ตอบด้วยนะคะ

ตอบคุณ ชลธิศ ครับ

  • ยินดีด้วยครับสำหรับสมาชิกใหม่ที่กำลังจะมา
  • การเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องธรรมชาติครับ จากประสบการณ์ของผม พบว่า หากการสอนภาษาเป็นเรื่องธรรมชาติในครอบครัว เราสามารถใส่ให้กับลูกได้ทุกภาษาเลยครับ
  • เมื่อเป็นเรื่องธรรมชาติ จะไม่ส่งผลกระทบกับการพูดช้าหรือเร็วเลยครับ
  • เด็กเรียนรู้คำศัพท์สิ่งต่างๆ ด้วยหลายๆ ภาษาได้พร้อมๆ กันครับ พระเจ้าสร้างมนุษย์มาอย่างมหัศจรรย์มากครับ
  • ที่สำคัญ ไม่ว่าต่อไปลูกจะพูดภาษาอะไรกับคุณ ต้องแสดงความยินดีกับสิ่งที่เขาพูดครับ แต่เราเองต้องสื่อสารกลับด้วยภาษาที่เราต้องการคุยกับเขาครับ
  • ตอนนี้ลูกผมสองคน เขาสามารถเลือกสื่อสารด้วยภาษาที่คนอื่นเริ่มการสนทนาการได้ครับ เพียงแค่คนกลางยังไม่รู้จักชื่อของภาษาเท่านั้นเอง ไม่ต้องบอกว่า ลูกต้องพูดภาษาไทยกับแม่นะ เพราะคำว่าภาษาไทย เขาไม่รู้จัก แต่เขาคุยตามธรรมชาติ เมื่อคุยกับพ่อเขาก็เปลี่ยนศัพท์ไปโดยอัตโนมัติครับ
  • ถ้าผมพูดได้สามภาษา ผมก็จะทำให้ลูกพูดได้ทั้งสามพร้อมๆ กันไปเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท