สัญญายืมใช้คงรูป 2


สัญญายืมใช้คงรูป 2

ความสมบูรณของสัญญายืมใชคงรูปมีหลักเกณฑในการพิจารณาดังนี้ 

การยืมใชคงรูปหากไมมีการสงมอบทรัพยสินที่ใหยืมแกผูยืม การยืมยอมไมบริบูรณกลาวคือการยืมใชคงรูปจะมีผลผูกพันระหวาง ผูยืมและผูใหยืม และใชางตอบุคคลภายนอกไดก็ตอเมื่อไดมีการสงมอบทรัพยสินที่ใหยืมแล               

ตัวอยางเช นายแดงจะยืมแหวนเพชรนายดําเพื่อใชใสวันแตงงาน เพียงแตตกลงกันยังไมมี การมอบแหวนเพชรดังกลาว ตอมานายดําไดขายแหวนเพชรนั้นใหนายขาว เชนนี้แมนายดําและนายแดง จะมีความผูกพันตามที่ตกลงกันก็ตาม แตนายแดงจะไปใชเปนขออางตอนายขาวไมไดเพราะการยืม ยังไมสมบูรณเนื่องจากยังไมมีการสงมอบแหวนที่ยืมแกนายแดง ฯลฯ 

การสงมอบทรัพยสินที่ยืม

อาจมีลักษณะเปนการสงมอบโดยตรงหรือโดยปริยายก็ไดเช               

. การสงมอบโดยตรง ไดแกการสงมอบทรัพยสินที่ยืมใหแกผูยืมไป โดยมีลักษณะ การหยิบยืมทรัพยสินหรือแสดงอาการใด ๆ ที่เห็นไดชัดเจนวาไดมีการสงมอบทรัพยสินที่ยืมแลว ตัวอยางเชน หยิบหนังสือ, แหวนเพชรยื่นใหแกผูยืม               

 . การสงมอบโดยปริยาย ไดแกการสงมอบทรัพยสินที่ยืมโดยปราศจากการหยิบยื่น แตเปนการสงมอบโดยปริยาย กลาวคือ แสดงกริยาอาการที่แสดงออกใหเห็น โดยปริยายวาไดงมอบ ทรัพยสินที่ยืมแลว ตัวอยางเชน สงมอบกุญแจรถ ใหแกผูยืมที่ยืมรถ ฯลฯ 

สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมและผู้ให้ยืม 

โดยหลักสัญญายืมใช้คงรูปย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ยืมฝ่ายเดียว หนี้ที่เกิดจากสัญญายืมใช้คงรูปจึงเป็นหนี้ที่เกิดแก่ผู้ยืมฝ่ายเดียว ผู้ให้ยืมหาได้มีหนี้หรือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้ยืมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามแม้ผู้ให้ยืมจะไม่มีหนี้ตามสัญญายืมใช้คงรูป ผู้ให้ยืมก็อาจมีหนี้ต่อผู้ยืมโดยมูลเหตุอย่างอื่นได้ เช่น ละเมิด เป็นต้น

 สิทธิของผู้ยืม               

สิทธิของผู้ยืมตามสัญญายืมใช้คงรูป ก็คือ การได้ใช้สอยหรือแสวงหาประโยชน์จากตัวทรัพย์ที่ยืมตามสภาพแห่งทรัพย์ที่ผู้ให้ยืมส่งมอบให้ตลอดอายุสัญญา โดยผู้ยืมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วเหมือนอย่างกรณีสัญญาเช่าแต่อย่างใด เพราะการใช้ทรัพย์ของผู้ยืมเป็นการใช้ทรัพย์ได้เปล่าไม่ต้องเสียค่าตอบแทนแต่อย่างใดสำหรับระยะเวลาในการได้ใช้ทรัพย์นั้นก็ย่อมเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญายืม หากมีการกำหนดเวลาเอาไว้ ก็ย่อมใช้ได้จนกระทั่งสิ้นระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ แต่หากไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้ ผู้ยืมจะมีสิทธิได้ใช้สอยทรัพย์ที่ยืมภายในระยะเวลาใด กรณีนี้หากพิจารณาตามบทบัญญัติมาตรา ๒๐๓ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะเห็นได้ว่า หนี้ซึ่งกำหนดระยะเวลาไม่ได้กำหนดลงไว้นั้น เจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน ดังนี้จะเห็นได้ว่าหากเป็นกรณีสัญญายืม เมื่อผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์ที่ยืมก็เกิดหนี้แก่ฝ่ายผู้ยืม ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา ๒๐๓ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ผู้ให้ยืมสามารถเรียกให้คืนทรัพย์ได้ทันที ทำให้ผู้ยืมอาจจะไม่ได้ใช้สอยทรัพย์ที่ยืมตามความประสงค์ของตน ด้วยเหตุนี้บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ว่าด้วยสัญญายืม จึงได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา ๖๔๖ ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า ถ้ามิได้กำหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้ เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว               

ถ้าเวลาก็มิได้กำหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อไหร่ก็ได้ [1]กล่าวคือ แม้สัญญายืมจะมิได้กำหนดระยะเวลาในการคืนทรัพย์ที่ยืมไว้ ก็มิได้หมายความว่าผู้ให้ยืมจะเรียกคืนทรัพย์ได้ในทันที ทั้งนี้เพื่อให้สมประโยชน์ตามสัญญายืม ม.๖๔๖ จึงกำหนดไว้ว่าจะเรียกคืนได้ต่อเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินตามการที่ตกลงกันไว้ในสัญญาแล้ว หรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ดังนี้จะเห็นได้ว่า ผู้ยืมย่อมสามารถที่จะได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ที่ยืมหรือมีเวลาพอแก่การที่จะได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ที่ยืมได้ อย่างไรก็ตามในกรณีที่ในสัญญายืมไม่ปรากฏว่ายืมไปเพื่อการใด ผู้ให้ยืมก็สามารถที่จะเรียกคืนเมื่อใดก็ได้   ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองฝ่ายผู้ให้ยืม จะนำหลักที่ว่าผู้ยืมย่อมได้ใช้สอยทรัพย์ที่ยืมตามสัญญามาใช้ไม่ได้                บทบัญญัติมาตรา ๖๔๖ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ได้บัญญัติถึงสัญญายืมใช้คงรูปที่ไม่มีกำหนดเวลาเอาไว้โดยเฉพาะแล้ว คู่กรณีจึงไม่อาจจะอ้างบทบัญญัติมาตรา ๒๐๓ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ได้ เพราะเป็นกรณีเดียวกันซึ่งบทบัญญัติเฉพาะได้กำหนดเอาไว้แล้ว                นอกจากสิทธิในการได้ใช้สอยทรัพย์ที่ยืมแล้ว ผู้ยืมในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์ที่ยืม ย่อมมีสิทธิป้องกันขัดขวางการรบกวนการใช้สอยทรัพย์ที่ยืมจากบุคคลภายนอกได้ในฐานะผู้ครอบครองตามมาตรา ๑๓๗๔  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ในการใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมนั้น ผู้ยืมย่อมมีส่วนได้เสียโดยตรงเกี่ยวกับตัวทรัพย์ที่ยืม กล่าวคือ การคงอยู่แห่งตัวทรัพย์ย่อมเป็นประกันการได้ใช้สอยทรัพย์นั้นตลอดอายุสัญญายืม ดังนี้ผู้ยืมย่อมมีสิทธิที่จะเอาประกันภัยในตัวทรัพย์นั้นได้ และในกรณีนี้หากบุคคลภายนอกทำให้ทรัพย์ที่ยืมบุบสลายหรือสูญหาย ผู้ยืมย่อมเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการขาดประโยชน์ในทรัพย์ที่ยืมได้ แต่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายอันเกี่ยวกับตัวทรัพย์ไม่ได้ เพราะผู้ยืมไม่ใช่เจ้าของทรัพย์นั้น 

หน้าที่ของผู้ยืม               

๑.หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่ายต่างๆและค่าบำรุงรักษาทรัพย์สิน (ม.๖๔๒)ตามมาตรา๖๔๒ ค่าใช้จ่ายต่างๆ นี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ยืมแต่ฝ่ายเดียว ทั้งนี้เพราะสัญญายืมใช้คงรูปผู้ที่ได้รับประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวก็คือผู้ยืม จึงสมเหตุสมผลดีแล้วที่ผู้ยืมจะต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านั้น  อย่างไรก็ตามคู่กรณีอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะ ม๖๔๒ มิใช่บทบัญญัติอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด                สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญานั้น โดยปกติจะมีค่าใช้จ่ายตรงนี้ต่อเมื่อมีการทำสัญญาต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ในการทำสัญญายืมใช้คงรูปนั้นไม่จำเป็นต้องทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด เพราะเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตามอาจมีกรณีที่คู่สัญญาต้องการที่จะได้มีการทำหลักฐานการยืมเป็นหนังสือก็ได้ ส่วนค่าส่งมอบนั้นอาจเกิดมีขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ให้ยืมกับผู้ยืมอยู่ห่างกันโดยระยะทาง และค่าส่งคืนก็เช่นเดียวกัน ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ผู้ยืมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ               

๒.หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์ที่ยืม ( ม.๖๔๗)ผู้ยืมมีหน้าที่ในการรักษาทรัพย์ที่ยืมให้คงสภาพเหมือนตอนได้รับมอบเพื่อการส่งคืนในภายหลัง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาทรัพย์ที่ผู้ยืมจะต้องรับผิดชอบนี้ หมายความเฉพาะค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืมนั้น ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายธรรมดาโดยทั่วไปที่จำเป็นเพื่อการบำรุงรักษาทรัพย์ที่ยืม ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในกรณีพิเศษด้วย สำหรับค่าใช้จ่ายในกรณีพิเศษนั้นย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ให้ยืมในฐานะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยืมที่ต้องรับผิดชอบ แต่หากผู้ยืมได้จ่ายค่าใช้จ่ายในกรณีพิเศษไป ก็อาจเรียกเอาจากผู้ให้ยืมได้โดยอาศัยมูลหนี้จัดการงานนอกสั่ง หรือคู่กรณีอาจตกลงกันไว้ในสัญญายืมก็ได้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายพิเศษดังกล่าว                ส่วนอย่างไรเป็นค่าใช้จ่ายตามปกติ อย่างไรเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษ ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป โดยอาจนำหลักในเรื่องสัญญาเช่ามาช่วยในการพิจารณาได้(กรณีซ่อมแซมเล็กน้อยกับซ่อมแซมอย่างใหญ่)               

๓.หน้าที่ในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมมาตรา ๖๔๔ ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเนื่องจากผู้ยืมเป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญายืมแต่เพียงฝ่ายเดียว และเพื่อให้สมประโยชน์ดังกล่าว ผู้ยืมจึงต้องรับผิดชอบในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม ปัญหาสำหรับประเด็นนี้คือ ระดับในการสงวนรักษาทรัพย์เพียงใดจึงจะเป็นการเพียงพอแก่หน้าที่หนี้ ซึ่งมาตรา ๖๔๔ ได้กำหนดระดับการสงวนรักษาทรัพย์ไว้ในระดับวิญญูชน กล่าวคือ หากทรัพย์ที่ยืมเกิดสูญหายหรือบุบสลาย ผู้ยืมจะต้องรับผิดชอบในเหตุดังกล่าวหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าผู้ยืมได้ใช้ความระมัดระวังสงวนรักษาทรัพย์ที่ยืมในระดับแห่งวิญญูชนจะพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตนแล้วหรือไม่ ถ้าได้ใช้ความระมัดระวังในระดับวิญญูชนแล้ว ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิดชอบในเหตุดังกล่าวแต่อย่างใด                ความระมัดระวังในระดับวิญญูชนนั้นพิจารณาจากบุคคลธรรมดาทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถในระดับปานกลางในสังคมว่าเขาใช้ความระมัดระวังในการรักษาทรัพย์ของตนอย่างไร จะนำเอาความระมัดระวังในการรักษาทรัพย์ของผู้ยืมมาใช้เป็นเกณฑ์ย่อมไม่ได้                หากผู้ยืมฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการสงวนรักษาทรัพย์ที่ยืมย่อมเป็นกรณีของการไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์แห่งมูลหนี้ ผู้ให้ยืมย่อมเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ตาม มาตรา ๒๑๕ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และสามารถบอกเลิกสัญญาได้ตาม มาตรา ๖๔๕ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  โดยไม่จำเป็นต้องปรากฏว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นก่อนแต่อย่างใด 

ข้อสังเกต

๑.บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มาตรา ๖๔๔ มิได้เป็นบทบัญญัติว่าด้วยความสงบเรียบร้อย ดังนั้น คู่กรณีอาจตกลงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้

๒.บทบัญญัติแห่งมาตรานี้มาตรา ๖๔๔ บัญญัติไว้แตกต่างจากมาตรา ๖๔๓ ดังนี้แม้ปรากฏว่าผู้ยืมฝ่าฝืนมาตรา ๖๔๔ แต่ปรากฏว่าทรัพย์ที่ยืมเกิดการสูญหายหรือบุบสลายโดยเหตุสุดวิสัย ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด ทั้งนี้ตามหลักทั่วไปว่าด้วยหนี้

๓. ถ้าการสูญหายหรือบุบสลายเป็นผลจากการที่ไม่ได้สงวนหรือสงวนไม่ถึงระดับวิญญูชนพึงสงวนทรัพย์ของตนเองเพราะความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ยืมย่อมถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิตามมาตรา ๔๒๐ ด้วย                

๔.หน้าที่ในการใช้ทรัพย์สินที่ยืมโดยชอบมาตรา ๖๔๓ บัญญัติว่า  ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์นั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม่ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ทรัพย์สินนั้นก็จะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง   

มาตรา ๖๔๓ ได้บัญญัติหน้าที่ของผู้ยืมในการใช้ทรัพย์สินที่ยืมไว้ ๔ ประการคือ               

 ๑. ผู้ยืมต้องไม่เอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้เป็นการอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์ย่อมหมายถึงการที่ผู้ยืมต้องใช้ทรัพย์ที่ยืมตามสภาพแห่งทรัพย์นั้น หากการใช้ไม่เป็นไปตามนั้นย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายได้ ทรัพย์แต่ละชนิดย่อมมีข้อจำกัดแห่งการใช้ตามสภาพของตัวมันเอง เช่นรถยนต์นั่งจะเอาไปขนดินไม่ได้ ดังนั้นหากมีการยืมรถยนต์นั่งไปใช้ผู้ยืมย่อมจะนำไปใช้เพื่อการบรรทุกดินอันถือได้ว่าเป็นการใช้ที่ไม่เป็นไปตามสภาพแห่งทรัพย์ หากได้กระทำไปและเกิดการเสียหายขึ้นย่อมจะต้องรับผิดชอบได้ตามมาตรา ๒๑๕                

๒. ผู้ยืมต้องไม่ใช้ทรัพย์ที่ยืมนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หมายความว่าผู้ยืมต้องใช้ทรัพย์ที่ยืมตามที่ได้มีการตกลงกันเพื่อการใดการหนึ่งจะใช้ทรัพย์นั้นให้นอกเหนือจากที่ตกลงไปไม่ได้ เช่นตกลงยืมรถยนต์ของเพื่อนเพื่อจะเอาไปทำธุรกิจที่จังหวัดราชบุรีแต่ปรากฏว่าได้ขับรถต่อไปถึงจังหวัดสงขลาเป็นต้น กรณีเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว               

๓. ผู้ยืมต้องไม่เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นที่เห็นได้ชัดว่าโดยลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูปนั้นเป็นสัญญาที่มุ่งให้ผู้ยืมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพย์เป็นการเฉพาะโดยถือเอาคุณสมบัติของผู้ยืมเป็นสำคัญ ดังนั้นการในทรัพย์ที่ยืมอาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของตัวผู้ยืมเท่านั้นผู้ยืมจึงไม่ควรที่จะนำเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยแต่อย่างใด หากไม่ปฏิบัติตามนี้และเกิดการเสียหายขึ้นผู้ยืมจะต้องรับผิดชอบ[2]               

๔. เมื่อใช้สอยเสร็จแล้วต้องรีบคืนให้แก่ผู้ให้ยืมไม่ควรเก็บเอาไว้นานทั้งนี้เพราะผู้ยืมไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยืมและในท้ายที่สุดก็ต้องคืนทรัพย์ที่ยืมแก่ผู้ให้ยืม ความคงอยู่หรือความสมบูรณ์แห่งตัวทรัพย์ที่ยืมจึงมีความสำคัญ                หากผู้ยืมไม่ปฏิบัติหน้าที่ข้างต้นแม้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง เป็นเหตุให้ทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลาย ผู้ยืมต้องรับผิดในเหตุดังกล่าว แม้ว่าเหตุที่สูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม ซึ่งเป็นความรับผิดที่เคร่งครัดมาก ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงเปิดช่องให้ความเคร่งครัดนี้ยืดหยุ่นมากขึ้นคือ ข้อยกเว้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรทรัพย์สินนั้นก็คงต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเองหากผู้ยืมพิสูจน์ได้ว่าแม้เขาจะไม่ได้ทำผิดหน้าที่นี้ ทรัพย์ที่ยืมก็ยังคงต้องสูญหายหรือบุบสลายโดยเหตุสุดวิสัยอยู่นั่นเอง ผู้ยืมก็พ้นจากความรับผิดได้(หากไม่ผิดหน้าที่นี้ แล้วทรัพย์เกิดสูญหายหรือบุบสลายเพราะเหตุสุดวิสัย ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิด)  และกรณีมาตรา ๖๔๓ นี้หากผู้ยืมฝ่าฝืนเป็นเหตุให้ผู้ให้ยืมต้องเสียหาย ผู้ให้ยืมสามารถเรียกให้ผู้ยืมรับผิดได้ตามมาตรา ๒๑๕ได้ด้วย และผู้ให้ยืมยังมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามมาตรา ๖๔๕ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์                สำหรับประเด็นในเรื่องที่ผู้ยืมจะเอาทรัพย์ที่ยืมไปให้บุคคลภายนอกใช้ไม่ได้นั้น มีปัญหาว่า ผู้ให้ยืมจะยินยอมให้มีการนำไปให้บุคคลภายนอกใช้ได้หรือไม่ กรณีนี้เห็นได้ว่า มาตรา๖๔๓ มิใช่บทบัญญัติอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี คู่กรณีจึงสามารถตกลงเป็นอย่างอื่นได้ และผลจากการตกลงแตกต่างนี้สัญญายืมดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกหากเกิดความเสียหายขึ้นจากการใช้ทรัพย์โดยมิชอบผู้ให้ยืมย่อมจะเรียกร้องเอาจากบุคคลภายนอกได้               

๕.หน้าที่ในการคืนทรัพย์สินที่ยืมการคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้นต้องคืนทรัพย์อันเดียวกับที่ยืม ส่วนจะคืนเมื่อไหร่ต้องเป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา หรือหากในสัญญาไม่มีการกำหนดเวลาคืน ก็ต้องพิจารณาจากมาตรา๖๔๖ 

การคืนทรัพย์สิน
           .คืนเมื่อไรให้คืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้วตามมาตรา๖๔๖
               - ถ้าได้กำหนดเวลากันไว้ให้ส่งคืนเมื่อครบกำหนดนั้น เช่นให้คืนเมื่อครบกำหนด ๑๕ วันตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา
               - ถ้าไม่ได้กำหนดเวลากันไว้ให้คืนเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นจนเสร็จการตามที่กำหนดในสัญญาแล้วเช่นยืมรถบัสเพื่อเป็นพาหนะไปทอดกฐิน เมื่อทอดกฐินเสร็จก็ต้องนำรถไปคืน   แต่ถ้าเมื่อเวลาได้ล่วงเลยไปพอสมควร แก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้วแต่ผู้ยืมยังไม่ใช้สอยทรัพย์สินผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนก็ได้ตามมาตรา ๖๔๖)เช่นยืมรถบัสเพื่อเป็นพาหนะไปทอดกฐินแต่เมื่อหมดช่วงกฐินแล้วผู้ยืมยังไม่ได้ใช้รถเป็นพาหนะไปทอดกฐินผู้ให้ยืมสามารถเรียกรถคืนได้
               - ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาและไม่ได้กำหนดว่าจะยืมไปใช้เพื่อการใด ผู้ให้ยืมจะเรียกทรัพย์สินคืนเมื่อใดก็ได้
              หากผู้ยืมไม่สามารถที่จะคืนทรัพย์ที่ยืมได้ เพราะความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่ยืมแทน ปัญหาก็คือจะต้องคืนตามราคาของทรัพย์ในเวลาใด ในกรณีนี้เห็นได้ว่า ควรจะคิดตามราคาของทรัพย์ในเวลาที่ตกลงยืมอันเป็นราคาตามสภาพแห่งทรัพย์ในเวลาที่มีการส่งมอบให้เพื่อการยืม
                ส่วนเรื่องสถานที่ในการคืนนั้นต้องพิจารณาจากบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับหนี้ ตามมาตรา ๓๒๔  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์                  ในกรณีที่ผู้ยืมไม่อาจคืนทรัพย์สินที่ยืมได้อาจมีสาเหตุต่างๆกัน เช่น

๑.ทรัพย์ที่ยืมเกิดสูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัย โดยผู้ยืมไม่ได้ปฏิบัติผิดหน้าที่ ดังนี้ ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิดใดๆต่อผู้ให้ยืม ตามหลักความวินาศแห่งทรัพย์ย่อมตกเป็นพับแก่เจ้าของ ( ผู้ให้ยืม ) แต่คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นในกรณีที่คืนทรัพย์ไม่ได้เพราะเหตุสุดวิสัย ผู้ยืมต้องรับผิดชอบ ก็สามารถที่จะตกลงกันได้               

๒.ผู้ยืมไม่ส่งคืนทรัพย์เนื่องจากการที่ทรัพย์สูญหายเกิดจากความผิดของผู้ยืมที่ฝ่าฝืนมาตรา ๖๔๓, ๖๔๔ ดังนี้ผู้ยืมต้องใช้ราคาและค่าเสียหายอื่นๆแก่ผู้ให้ยืม                 

๓.ในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากบุคคลภายนอก โดยผู้ยืมมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่แต่อย่างใด ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิด กรณีนี้ผู้ให้ยืมอาจฟ้องเรียกร้องเอาจากบุคคลภายนอกผู้ทำละเมิดได้โดยตรง

๔.ผู้ยืมไม่ส่งคืนทรัพย์ทั้งๆที่ส่งคืนได้ ดังนี้ผู้ให้ยืมฟ้องเรียกคืนได้และผู้ยืมอาจมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์               

.กรณีที่ส่งคืนไม่ได้หรือไม่ส่งคืนโดยมีเหตุที่จะเอาผิดแก่ผู้ยืมได้ ผู้ให้ยืมอาจฟ้องผู้ยืมต่อศาลได้ดังนี้-ให้คืนทรัพย์สินที่ยืมนั้น ( ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา ๒๑๓)-เรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่ตนไม่ได้รับคืนทรัพย์ที่ให้ยืมจากผู้ยืมได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา ๒๑๓ วรรคท้ายและ มาตรา ๒๒๒ )-ถ้าผู้ยืมผิดนัด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา๒๐๔) ผู้ให้ยืมมีสิทธิ์เรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากจำนวนราคาทรัพย์สินที่ยืม (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา ๒๒๔)



๓ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๔๖
สุธีร์  ศุภนิตย์, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ ๑ , น.๖๓. 
หมายเลขบันทึก: 88197เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 01:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไหมพิมพ์ต้องการไปเที่ยวสงกรานต์ที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงออกปากขอยืมรถยนต์ของนางสาวศรีเกษ โดยตกลงว่าจะนำมาคืนหลังจากไปเที่ยวกลับมาแล้ว

1.หากขณะไหมพิมพ์ขับรถไปเชียงใหม่ ได้มีรถโดยสารขับรถมาเฉี่ยวชนรถยนต์ไหมพิมพ์ซึ่งแล่นอย่ช่องทางเดินจราจรด้านซ้าย ทำให้รถยนต์เสียหายไม่สามารถใช้การได้ โดยเหตุเกิดจากคนขับรถโดยสารมีอาการเมาสุราไม่สามารถควบคุมรถได้ ไหมพิมพ์สามารถฟ้องร้องให้คนนขับรถรับผิดได้หรือไม่

2.หากขณะไหมพิมพ์ขับรถไปเชียงใหม่ ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งทำการปิดถนนและได้ทำความเสียหายแก่รถยนต์ นางสาวศรีเกษจะเรียกค่าเสียหายจากไหมพิมพ์ได้หรือไม่

3.หากความจริงแล้ว รถยนต์ไม่ได้เป็นของนางสาวศรีเกษ แต่เป็นของนายชายโยดม ซึ่งเมื่อรู้ว่านางสาวศรีเกษได้ให้ยืมรถยนต์แก่ไหมพิมพ์ไป จึงติดตามเอาคืนก่อนที่ไหมพิมพ์จะขับรถไปเชียงใหม่ ทำให้นางสาวไหมพิมพ์ต้องยกเลิกโปรแกรมการเที่ยวสงกรานต์ที่เชียงใหม่ทั้งหมด รวมถึงยกเลิกห้องพักที่เชียงใหม่ซึ่งได้จับจองและจ่ายเงินไปแล้ว ไหมพิมพ์จะเรียกร้องค่าจองห้องพักและค่าเสียหายต่าง ๆจากนางสาวศรีเกษได้หรือไม่

ขอความกรุณาจากท่านช่วยตอบคำถามนี้ด้วยค่ะ ขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท