GAP การศึกษาแก้ปัญหาด้วย e-Leaning


เรียนรู้จาก "พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการผลิตสื่อ e-learning ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ม.มหาสารคาม"

วันที่ 2 เม.ย. 2550 ที่ผ่านมา ได้มีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการผลิตสื่อ e-learning ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ขึ้นที่คณะศึกษาศาสตร์ มมส. เป็นความร่วมมือกันระหว่าง ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา (CARD) ร่วมกับ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มมส.  ...โดยผมขอถอดรหัสความรู้จากการจัดงานนี้ ดังนี้


เรียนรู้จาก : รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา

            จากแต่เดิมที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษาได้ผลิตสื่อการสอนที่เป็นรายวิชาเท่านั้น แต่ด้วยนโยบายการผลิตสื่อการสอนของมหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนไปโดยเน้นความเป็นรูปธรรมมากขึ้น  ในที่สุดจึงได้เลือกเนื้อหาวิชาจากจากภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยมี 2 หลักสูตร คือ 1) การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และ 2) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา นับเป็นก้าวแรกของคณะศึกษาศาสตร์ และก้าวไปอีกขั้นของการผลิตสื่อ e-leaning ของมหาวิทยาลัย ที่ได้เริ่มปรับเปลี่ยนทิศทางการผลิตสื่อ e-Learning ในลักษณะบทเรียนแบบชิ้น (Learning Objects : LO) ให้เป็นหลักสูตรมากยิ่งขึ้น 


เรียนรู้จาก : คณบดีคณะศึกษาศาสตร์

            จากผลกาประเมินประกันคุณภาพจาก สมศ. พบว่า คณะศึกษาศาสตร์ได้รางวัลเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัย แต่ก็ยังจะต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป และจะทำอย่างไรให้ยั่งยืนโดยไม่ยึดติดกับผลคะแนนที่ได้  และทำอย่างไรจึงจะลด GAP ระหว่างอาจารย์กับนิสิตให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากคณะศึกษาศาสตร์ประสบปัญหาจากภาวะขาดแคลนอาจารย์ คือ ภายใน 5 ปีข้างหน้า จะมีอาจารย์เกษียณอายุราชการเกือบร้อยละ 30  นับมาเป็นอัตราที่สูงมาก คณะฯจึงจำเป็นต้องหานวัตกรรมการสอนใหม่ๆ เข้ามาช่วยทดแทน และคำตอบส่วนหนึ่งก็คือ ต้องปรับมาใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นแบบ e-Learning บางหลักสูตรอาจไม่จำเป็นต้องผลิตกับการศึกษาระดับดับสูงเท่านั้น อาจจะต้องลงมาสู่ระดับพื้นฐานและบุคลากรด้านการศึกษา ตลอดจนผู้สนใจที่จะเรียนโดยได้รับใบประกาศนียบัตร และในอนาคต e-Learning ก็จะเริ่มเข้ามาแทนที่ในอีกหลักสูตรต่อๆ ไป หากทำได้เป็นรูปธรรมจริงแล้ว...ก็นับเป็น Best Practice อีกอย่างของคณะศึกษาศาสตร์ 

เรียนรู้จาก : หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

            e-Learning อาจเป็นสิ่งที่ดี เป็นเครื่องมือที่นำมาช่วยสอนแทนอาจารย์ประจำได้ แต่ก็อย่าลืมว่า “ประสิทธิภาพและประสิทธิผล” ของการนำไปใช้งานสื่อการสอนนั้นก็จำเป็นและมีความสำคัญด้วย ดังนั้นควรออกแบบและผลิตสื่อ e-Learning โดยเน้นการใช้งานเป็นหลัก 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท