หักเป๊าะ..ปลอดภัย??


การทำตามอย่างใคร ต้องศึกษาข้อมูล วิธีการให้ดี รอบคอบก่อน

เคยอ่านเจอจากในบล็อก ว่ามีผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการหักหลอดยาที่เป็น Ampule โดยใช้ปลอก IV catheter และนำไปเผยแพร่ในเวทีคุณภาพระดับชาติ ข้าพเจ้ารู้แล้วก็อยากทดลองทำตามอย่างบ้าง  วันนั้นมีโอกาสก็ทดลองทำดู แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะใช้ได้กับหลอดยาทุกขนาดหรือไม่ เริ่มจากหลอดยาขนาดกลางๆ อย่างเช่น Gentamicin น่าจะ work

ภายหลังจากเช็ดรอบคอหลอดยาด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ ก็ใช้ปลอก IV catheter สวมปลายหลอดยาแล้วหักเป๊าะ...ปรากฏว่าหักได้อย่างรวดเร็ว แต่พลาดท่าโดนหลอดยาบาดนิ้วเข้าให้...หักเป๊าะ ไม่ปลอดภัยเสียแล้ว สู้วิธีการเก่าๆ เดิมๆ ซึ่งใช้สำลีแอลกอฮอล์เช็ดรอบคอหลอดยาแล้วหักโดยใช้สำลีรองตามที่เคยเรียนมาก็ไม่ได้

วันนั้นเลยได้บทเรียนว่าการที่จะทำตามอย่างใคร หรือเลือกวิธีการใดๆ มาใช้ ควรศึกษาข้อมูล วิธีการให้ดี รอบคอบเสียก่อน แต่คราวนั้นมีข้อมูลน้อยจริงๆ และคิดว่าไม่น่าจะมีอะไร จึงไม่ได้หาวิธีป้องกันไว้ล่วงหน้าค่ะ

หมายเลขบันทึก: 87955เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2007 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
โถ เลยเป็นประสบการณ์ที่ได้เลือดเลยนะคะ ... มันมีข้อแตกต่างตรงไหนเน๊าะ
ป้าจ๋าเขาแอบมีเคล็บลับอะไรแอบแฝงเล็กๆน้อยๆหรือเปล่าค่ะ คุณป้าละเอียด...ลองใหม่อีก..อย่าเพิ่งยอม
บทเรียนทุกอย่างมีคุณค่าทั้งหมด มีคนเชียรืให้ลองใหม่ ลองดูมั้ยคะ เผื่อสรุปบทเรียนอาจจะได้เทคนิคใหม่ๆ แต่คราวนี้ต้องระวังเพิ่มอีกหน่อยนะค่ะ เพราะบทเรียนเดิมบอกว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจของมีคม
  • ขอบคุณทุกความคิดเห็นและเสียงเชียร์ค่ะ
  • ชอบคำคมนี้จังค่ะ "อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจของมีคม" ดูท่าจะคมกว่าหลอดยานะคะ
..คุณดอกปีบ หากสนใจทดลองใหม่ลองถาม น้องปืน ER รพ.กลาง เค้าเป็นเจ้าของหัวคิด "หักเป๊าะ  ปลอดภัย"  จาได้ไม่เกิดผิดพลาดอีกนะคะ

ขอบคุณนะคะคุณซ่าส์..สัญจรที่ให้ข้อมูล เสียดายนะคะที่ไม่มีภาพของคุณให้รู้จักหน้าค่าตา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท