How to Start KM in Hospital Accredition


KM ไม่ทำไม่รู้
       ในยุคนี้คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สิ่งที่มาแรงแซงทางโค้ง ถ้าใครไม่รู้ก็ถือว่า out (ตกยุค ตกรุ่น) ก็คือการจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า KM  

         แทบจะทุกวงการได้เริ่มนำ KM มาใช้ บ้างก็ทำได้ผลไปไกลสามารถเป็นแบบอย่างได้ บ้างก็กำลังทำและรอผลลัพธ์อยู่ บ้างก็กำลังเริ่มตั้งไข่หัดเดินอยู่ สำหรับตัวผู้เขียนเองก็กำลังอยู่ในอย่างหลังนั่นแหละค่ะ

        วันนี้มีโอกาสอันดีที่ได้เข้าร่วมมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 2 ณ โรงแรม มิลาเคิลแกรนด์ จัดโดย สคส. ซึ่งทำให้เปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ขึ้นอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเริ่มต้นทำ KM อย่างเข้าใจ “การเตรียมคน” เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการทำ KM เมื่อใดที่คนของเราพร้อมที่จะเรียนรู้และแบ่งปัน เมื่อนั้นกระบวนการ KM ก็จะเกิดขึ้น วันนี้ท่านอาจารย์สุรสิทธิ์ ตันธนาศิริกุล แห่งปูนซีเมนต์ไทย ได้กรุณาบอกกล่าวถึงบุคคลหรือคนที่จะทำให้เกิด KM นั้นต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะสำคัญ หรือมี Competency หลัก 3 อย่าง คือ

Personal Improvement งานนี้คงรู้ๆกันอยู่แล้วบุคคลที่มีการพัฒนาตนเอง พัฒนางานที่ได้รับผิดชอบย่อมเป็นที่ต้องการของทุกฝ่าย และคุณสมบัตินี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกๆความสำเร็จ ซึ่งการมอบหมายงานให้รับผิดชอบก็มีส่วนที่จะกระตุ้นให้เกิดคุณสมบัติข้อนี้ได้เหมือนกัน

Knowledge Responsibility เป็นคนที่รู้จักค้นหาความรู้และยินดีถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น ซึ่งเจะต้องสร้างหรือค้นหาคนที่มีลักษณะเหล่านี้ให้เจอ

Solution Focus Mindset คุณสมบัตินี้ออกจะเป็นนามธรรมซักหน่อย แต่เราก็สามารถได้ด้วยตัวอย่างง่ายๆว่า หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกาต้องการขายเนยในญี่ปุ่น จึงได้ส่ง Sale man 2 คน ไปที่ญี่ปุ่น คนแรกกลับมาแล้วบอกว่าขายไม่ได้หรอกเพราะชาวญี่ปุ่นทานเนยไม่เป็น ส่วนคนที่ 2 กลับมองว่านี่คือตลาดที่ใหญ่มากเพราะชาวญี่ปุ่นยังไม่เคยทานเนย หากส่งเสริมให้ชาวญี่ปุ่นทานเนยเป็นล่ะก็ งานนี้ยอดขายมากมายแน่นอน อาจจะสรุปจากตัวอย่างได้ว่า Sale man คนที่ 2 มี “Sense of Purpose หรือ สำนึกแห่งวัตุประสงค์” ซึ่งก่อให้เกิด Solution Focus Mindset นั่นเอง นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับทัศนคติของคนๆนั้นด้วย

เมื่อรับทราบถึงคุณลักษณะทั้ง 3 ข้อแล้วนั้น ก็เหลือการสร้างหรือค้นหาบุคคลเหล่านั้นให้เจอ จากนั้นจึงเป็นการกระตุ้นและสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ต่อไป

สำหรับในวงการสาธารณสุขหรือวงการการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ความรู้มีอยู่มากมายมหาศาล การนำความรู้มาแบ่งปันกันระหว่างโรงพยาบาลต่างๆ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานีอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กรม กองต่างๆ ระหว่างคุณหมอ คุณพยาบาล คุณเภสัชกร และคุณอื่นๆในโรงพยาบาล แม้กระทั่งระหว่างผู้ที่เข้าไปให้คำปรึกษาก็จะเกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย ส่งผลให้การดูแลรักษาคนไข้ดีขึ้น และเหนือสิ่งอื่นใดผลลัพธ์จากการเรียนรู้ของพวกเราคือ “ชีวิตที่ยืนยาว” ของคนเหล่านั้นนั่นเอง หากจะบอกว่าเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของการจัดการความรู้ในวงการสาธาณสุขคือสิ่งนี้ก็คงจะไม่ผิดนัก และนี่เองคือสิ่งที่จุดประกายและเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่สำหรับผู้เขียนเองในการทำงาน

วันนี้เรามาช่วยกันพัฒนาตัวเองให้มีคุณลักณะที่สำคัญทั้ง 3 อย่างนั้น และพร้อมที่แบ่งปันความรู้เพื่อให้ชีวิตของประชาชนชาวไทยยืนยาวและมีคุณค่ากันเถอะค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8793เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2005 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เป็นบทความที่ดีครับ ขอบคุณครับ :)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท