หลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน CBM ( 1 )


เทศบาลนครพิษณุโลกและ GTZ ได้ร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตร การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน Community Based Solid Waste Managemant ( CBM ) ขึ้นมา วัตถุประสงค์ของหลักสูตรนี้ก็คือ นำไปอบรมให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนใจ เพื่อให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย มีการปฎิบัติให้เกิดผล และทำงานแบบประชาชนมีส่วนร่วม

CBM Community Based Solid Waste Managemant

ในข้อตกลงความร่วมมือกับ GTZ  ตอนจะสิ้นสุดโครงการเทศบาลนครพิษณุโลกต้องรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้รับจากการการทำโครงการร่วมกัน  แล้วเผยแพร่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นอย่างน้อย 5 แห่ง

        จากข้อตกลงนี้  ทางโครงการฯ คือทั้งฝ่ายเทศบาลนครพิษณุโลกและ GTZ  ได้ร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตร  การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน   Community Based Solid Waste Managemant  ( CBM )  ขึ้นมา  วัตถุประสงค์ของหลักสูตรนี้ก็คือ  นำไปอบรมให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนใจ  เพื่อให้

1.                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆมีความรู้  ความเข้าใจที่ถูกต้อง  ในการจัดการขยะมูลฝอยในท้องถิ่นของตนเอง  โดยใช้การบริหารจัดการสมัยใหม่  มีการวางแผนที่ดี  ยึดหลักวิชาการ  ยึดแนวทางสากลที่ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม  เช่น  ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดการสิ่งแวดล้อม  Polluters Pay Principle – PPP,  การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์  Cost Benefit Analysis – CBA   เป็นต้น       

2.    ต้องเกิดผลในการปฏิบัติ  กล่าวคือหลังการอบรมสัมมนาแล้วจะต้องมีการปฎิบัติให้เกิดผลตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆตั้งใจไว้       

3. ในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จะเน้นการทำงานแบบประชาชนมีส่วนร่วม

         หลักสูตร CBM แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ               

    ระดับผู้บริหาร    ผู้กำหนดนโยบาย 

    ระดับพนักงาน   ผู้นำนโยบายไปปฎิบัติให้เกิดผลสำเร็จ

    ระดับประชาชน  ผู้ที่ต้องช่วยทำแบบประชาชนมีส่วนร่วม

          เพราะหัวใจของการทำงานแบบนี้  จะต้องมีนโยบาย  และแนวทางรวมทั้งแผนปฎิบัติกาิรที่ชัดเจน  ทุกระดับมีความเห็นและเข้าใจ  และปฎิบัติไปในทิศทางเดียวกัน  ดังนั้น  ทั้งผู้บริหาร  พนักงาน  และประชาชนต้องมาร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมประเมินผล   จึงจะประสพความสำเร็จ

        ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำทุกอย่างเหมือนที่เทศบาลนครพิษณุโลกทำ  เพียงเอาเป็นตัวอย่างและแนวทาง  แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตัวเอง <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="left"> </p>

หมายเลขบันทึก: 87910เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2007 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นต้นแบบที่น่าสนใจมากค่ะ  โดยเฉพาะการนำหลักการมาสู่ภาคปฎิบัติ  ซึ่งเมืองไทยไม่ค่อยจะมีตัวอย่างเท่าไร   เป็นกำลังใจให้ทีมพิษณุโลกค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิมากครับที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจ  ยังมีเรื่องเล่าให้ฟังอีกมากนะครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายผลที่จังหวัดลำพูนกับเชียงใหม่  ที่ทำร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ( ERTC )   และที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ในโครงการสึนามิร่วมกับ GTZ  แล้วจะค่อยๆเล่าให้ฟังครับ

น่าสนใจมากครับ อยากมาเรียนรู้จากท่านรองด้วยคนได้หมั้ยครับ

ยินดีมากครับท่านนายกฯสุริยา ยีขุน  เทศบาลนครพิษณุโลกยินดีต้อนรับครับ

สนใจมากครับ
จะแวะมาขอคำแนะนำบ่อย ๆ

ผมมีปัญหามากเลย
ขยะวันละเกือบ 17 ตัน

ถังขยะเต็มเลย  ขนาดนั้นก็ยังไม่พอ
ที่ทิ้งขยะก็ไม่มี  คนงานก็ทำงานหนัก
รถ 6 คันไม่พอเก็บ  เสียค่าใช้จ่ายปีละหลายล้าน
เสียเวลาในการตามเก็บตามประเมินค่าธรรมเนียมมาก

รถเก่า  ซ่อมบ่อย ฯลฯ 
แล้วก็ร้องเรียนกันไม่ว่างเว้น

ผมเริ่มอบรมให้ชุมชนมีส่วนร่วมแล้วหละ
แต่มันน้อยเกินไป  ต้องทำมากกว่านี้
ต้องการทักษะ  และการจัดการด้านวิชาการ  -นโยบาย ฯลฯ  มากกว่านี้

 

จะแวะมาขอคำแนะนำบ่อย ๆ นะครับ

http://envisan.blogspot.com 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท