ลาแบกหนังสือ


คนที่เรียนรู้เยอะ แต่ไม่ได้นำความรู้ไปเปลี่ยนแปลงตนเอง ก็คงไม่ต่างอะไร กับ ลาที่แบหนังสือ

 

 

ลาแบกหนังสือเป็นคำอุปมาอุปไมที่อัลกุรอานใช้กับคนกลุ่มหนึ่ง และคนลักษณะนี้มีมากในสังคมเราทุกวันนี้ คือ คนที่รู้หนังสือหรือคนที่มีความรู้แต่ไม่ทำตามที่ได้เรียนรู้มา ในอัลกุรอาน คนกลุ่มหนึ่งมีคำภีร์อยู่ในมือ เรียนรู้ทุกอย่างในคัมภีร์ แต่ไม่เชื่อและไม่ปฎิบัติตามที่เขารู้

 จริงๆแล้วความรู้ไม่ใช่เป้าหมาย ความรู้คือสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง  ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของความรู้คือการนำไปปฎิบัติ

บาร์รอน ให้คำนิยามของความรู้ ว่า “Learning as any relatively permanent change in behavior, or behavior potential, produced by experience” คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือศักยภาพของของพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ (Baron, 1992:170)

ง่ายๆ คือ การจะนับว่าบุคคลเรียนรู้ได้นั้น ต้อง มีการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลนั้น อาจจะสรุปได้ว่า เขาได้นำไปปฎิบัติถึงจะเรียกว่าเรียนรู้ แต่ในบางครั้งเปลี่ยนแต่ศักยภาพก็เรียกว่าเรียนรู้ ดังนั้นในการตรวจสอบว่าคนนั้นรู้หรือไม่รู้ เราถามเขา เขาตอบได้ เราเรียกว่า เขาได้เรียนรู้แล้ว ก็เลยเกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า เรียนเพื่อตอบคำถาม เรียนเพื่อบอกคนอื่นได้ เรียนเพื่อสอบแข่งขัน เรียนเพื่อชนะคนอื่น และอีกมากมายที่เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่ไม่ใช่นำไปปฏิบัติจริงเราจึงเห็นบ่อยว่า คนๆหนึ่ง เรียนมามากแต่ทำอะไรไม่เป็น 

แต่ที่สำคัญ ที่กำลังเป็นวิกฤติของสังคมไทยเรา คือ เรียนมาก แต่ไม่มีคุณธรรมเอาเสียเลย ซึ่งนำไปสู่การวางนโยบายของรัฐบาลชุดแล้วชุดเล่า จากเรียนรู้คู่คุณธรรมเป็นคุณธรรมนำความรู้ แต่คิดว่าผลสุดท้ายก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะทุกคนเรียนรู้เพื่อตอบคำถามได้เท่านั้น

แต่ในบางครั้ง คนเรานำความไปปฏิบัติของจริง แต่เป็นการปฎิบัติเพื่อประโยชน์อื่น เห็นแก่ตน เห็นแก่ได้ หรือทำเพื่อให้คนอื่นเห็นเท่านั้น  ไม่ได้ทำด้วยความจริงใจหรือบริสุทธิใจ คุณธรรมที่สังคมใฝหาก็ยากที่จะเกิดขึ้น

อิมาม อิบนุก็อยยิม ไม้กล่าวว่า “ความรู้ที่ไม่ปฏิบัติเหมือนนักบวชนาศอรอที่อัลลอฮฺได้สาปแช่ง และความรู้ที่ปฏิบัติเพื่อผลประโยชน์อื่นไม่ได้ทำบริสุทธิใจเพื่ออัลลอฮฺก็เหมือนพวกกลับกลอก(มุนาฟิก)ที่อัลลอฮฺได้สาปแช่ง

คนที่เรียนรู้เยอะ แต่ไม่ได้นำความรู้ไปเปลี่ยนแปลงตนเอง ก็คงไม่ต่างอะไร กับ ลาที่แบหนังสือ

 مَثَلُ الَّذِينَ حُمِّلُوا التَّوْرَاةَ ثُمَّ لَمْ يَحْمِلُوهَا كَمَثَلِ الْحِمَارِ يَحْمِلُ أَسْفَاراً [الجمعة : 5]

อุปมาบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์เตารอฮฺแล้วพวกเขามิได้ปฎิบัติตามที่พวกเขาได้รับมอบประหนึ่งเช่นกับลาที่แบกหนังสือจำนวนหนึ่ง (บนหลังของมัน) (สูเราะห์อัล-ญุมอะฮฺ อายัติที่ 5)

หมายเลขบันทึก: 87845เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2007 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท