ประชุมปฎิบิติการพัฒนาสมรรถนะเฉพาะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา


เพียงแต่ว่าระบบประเมินต้องชัดเจน ไม่ขี่ช้างจับตั๊กแตน ไม่ลูบหน้าปะจมูก หรือใช้ระบบอุปถัมภ์ เอื้ออาทร และตามแก้ปัญหาเหมือนลิงแก้แหกันอย่างที่เห็นในทุกวันนี้

      เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมไปทำงานให้ ก.ค.ศ.(ต่อเนื่อง) เรื่องการพัฒนาสมรรถนะเฉพาะของทุกสายงาน รวม 16 กลุ่ม (เคยเล่ารายละเอียดมาแล้ว) ครั้งนี้ถือเป็นรอบสุดท้ายที่ได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิไปอ่าน และให้ข้อคิดเห็นมา แล้วคณะทำงานชุดนี้แต่ละกลุ่ม(ก็เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเหมือนกัน) นำข้อคิดเห็นมาพิจารณาปรับแล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนกัน
      ผม กับ รศ.ดร.สมสรร วงศ์อยู่น้อย (จากมศว.ประสานมิตร)เป็นวิทยากรนำปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก็ทำกันจนแล้วเสร็จ ได้สมรรถนะเฉพาะพร้อมตัวบ่งชี้และรายละเอียดเพื่อทำหลักสูตรพัฒนาต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคณะทำงาน ยังช่วยวิเคราะห์รายละเอียด(Rubric) เพิ่มเติมให้ด้วย แต่ละกลุ่มมีหลายตัวบ่งชี้ในแต่ละสมรรถนะที่แสดงความเป็นตัวตนของตนเองที่เด่นชัด เช่น ครูวิทยาศาตร์ต้องมีจิตวิทยาศาสตร์ ครูภาษาไทยนอกจากจะมีความรู้อย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษา การอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรม ด้วย ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ เป็นต้น
        หาก ก.ค.ศ.เห็นชอบตามสมรรถนะที่จัดทำขึ้นใหม่นี้ งานแรกที่ ก.ค.ศ.จะนำไปใช้ก็คือ การทำหลักสูตรพัฒนาเข้าสู่ตำแหน่งและวิทยฐานะบางวิทยฐานะตามมาตรา 80 (อาจเริ่มจากผู้บริหารก่อน)
        ผมหวังว่าในอนาคต
เส้นทางวิชาชีพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาน่าจะมีความชัดเจน หากทุกหน่วยงานร่วมมือกันกำหนดเส้นทางวิชาชีพร่วมกัน กล่าวคือ คุรุสภากำหนดมาตรฐานวิชาชีพ และประเมินเรื่องใบประกอบวิชาชีพ ก.ค.ศ.ดูแลเรื่องมาตรฐานตำแหน่งมาตรฐานวิทยฐานะ (ตอนนี้ก็กำหนดแล้ว) หากมีสมรรถนะเป็นเครื่องมือนำทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถนะเฉพาะของแต่ละสายงานแต่ละตำแหน่งที่ชัดเจน ก็จะเป็นเครื่องมือนำทางให้คนเข้ามาสู่วิชาชีพครูได้พัฒนา ประเมิน เลื่อนวิทยฐานะ และรักษาวิทยฐานะ อย่างเป็นระบบ เริ่มจากบรรจุเข้ามาก็ต้องประเมินความพร้อมและพัฒนาเข้ม(เดิมคือทดลองปฏิบัติราชการ) 2 ปี จึงบรรจุเป็นครู แล้วเขาก็ใช้สมรรถนะเป็นเครื่องมือพัฒนาตนเองต่อเนื่อง และได้รับการประเมินเลื่อนวิทย ฐานะสูงขึ้นตามลำดับ ก็จะทำให้คนที่เข้ามาสู่วิชาชีพนี้เห็นเส้นทางที่ชัดเจนและมีความหวัง มีแรงจูงใจในการพัฒนาตนพัฒนางานมากขึ้น
      เพียงแต่ว่า
ระบบประเมินต้องชัดเจน ไม่ขี่ช้างจับตั๊กแตน ไม่ลูบหน้าปะจมูก หรือใช้ระบบอุปถัมภ์ เอื้ออาทร และตามแก้ปัญหาเหมือนลิงแก้แหกันอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ เพราะนอกจากจะไม่ได้รับความเชื่อมั่น ต้องสูญเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ ทำให้คนไม่ควรได้(แต่ตื๊อ)กลับได้ และทำให้คนที่ควรได้(ทำงานดี)ท้อแท้ในระบบแล้ว ยังสร้างนิสัยให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขาดคุณธรรม จริยธรรมอย่างน่าเป็นห่วงด้วย

หมายเลขบันทึก: 87837เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2007 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีคะ อ.ธเนศ

  • ดีใจจังที่แจ้งข่าวว่า ก.ค.ศ.จัดทำสมรรถนะ    ข้าราชการครูและการพัฒนาข้าราชการครูจะเป็นไปตามสมรรถนะ
  • หวังว่าสมรรถนะข้าราชการครูแต่ละกลุ่มงานที่ปรับใหม่จะครอบคลุมข้าราชการครูของ กศน.ด้วยนะคะ จะได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนารายบุคคลตามสมรรถนะต่อไป

 

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์นะครับ เรื่อง ลิงแก้แห ซึ่งต้องดูหลักเหตุและผลครับ เพราะ กคศ.เป็นเหตุนำ Competency มาใช้และเริ่มที่การประเมินเลย แทนที่จะเริ่มตามหลักการ Competency based approach ตำราก็บอกชัดเจนนะว่าให้นำ Competency มาเริ่มใช้ในการพัฒนาก่อน เมื่อระบบนิ่งแล้วจึงค่อยประเมิน ฯ ผลมันจึงเป็นเช่นนี้แหละ เรื่องนี้หาก กคศ.จะใจกว้างยอมรับฟังคนอื่นเขาบ้าง ก็จะดีนะครับ ถอยหลังไปสักหน่อยทำระบบพื้นฐานให้ดี แน่น เกิดการยอมรับ อย่างที่อาจารย์เสนอ ชีวิตของครูและบุคลากรทั้งกลาย ก็จะไม่ทุกข์อย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท