เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ ... (6) การดูแลและพัฒนาผู้สูงอายุ ในครอบครัว และชุมชน


"การที่ผู้สูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น ในครอบครัว และชุมชนจะต้องประกอบไปด้วย ตัวระบบเครือข่ายในการมอง"

 

รศ.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ... ท่านได้บรรยายในเรื่องนี้ พร้อมกับ มีข้อเสนอเชิงนโยบายบูรณาการ ไว้ค่ะ

"การที่ผู้สูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น ในครอบครัว และชุมชนจะต้องประกอบไปด้วย ตัวระบบเครือข่ายในการมอง"

สถานการณ์ 

  • ครอบครัวและเครือญาติจะเป็นผู้มีภาระสำคัญในการดูแล
  • การดูแลที่เป็นนามธรรมเป็นการคำนึงถึงจิตใจของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง สภาพในครอบครัวของผู้สูงอายุ และการดูแลที่เป็นรูปธรรม คือ การปรนนิบัติวัตถากผู้สูงอายุในแต่ละวัน
  • ในชุมชน สมาชิกในชุมชนจะมีผลสำคัญมากกับความสุขของผู้สูงอายุ ก็คือ ระบบค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ในชุมชน
  • ปัจจุบัน ผู้นำชุมชนเป็นผู้ที่มีบทบาทหลักในการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ส่วนรัฐ หรือสถาบัน จะเป็นผู้กำหนดนโยบายในด้านสุขภาพและสังคม

เราจะพบว่า ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ระหว่าง 65-69 ปี หรือ 60 กว่าๆ ขึ้นไป เรื่องความสามารถของผู้สูงอายุในชีวิตประจำวัน พบว่า 93% เป็นกลุ่มคนที่ช่วยตนเองได้ ในกลุ่มคนที่ช่วยตนเองไม่ได้มีเพียงเล็กน้อย จริงๆ แล้วผู้สูงอายไทย จะเป็นกลุ่มที่ยังแข็งแรง

ในครอบครัวใครจะเป็นผู้ดูแล 81.2% เป็นบุตร หลาน และญาติ เหตุผลก็คือ อยู่ด้วยกันมา และดูแลกันไป ผู้ที่ดูแลรับจ้างขณะนี้มีเพียงเล็กน้อย 0.3% เท่านั้น

สภาพปัญหาการดูแลผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง

  1. การลดลงของผู้ดูแลในครอบครัว ... ขณะนี้ตัวเลข สถิติพูดถึงการลดลงของบุตรจำนวนมาก และลดลงอยู่เรื่อยๆ
  2. การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ... ผู้สูงอายุไทยเมื่ออายุยืนยาวขึ้น ภาวะการเจ็บป่วยก็เพิ่มขึ้น
  3. ความต้องการผู้ดูแลที่บ้าน ... มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะว่า ยิ่งอายุยืนยาวขึ้น ก็ต้องการผู้ดูแลมากขึ้น ในขณะที่ลูกก็ไม่มีผู้ดูแล
  4. ปัญหาการได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสม เกิดจากเหตุผลหลายๆ ประการ ขณะนี้เรามองว่า มีกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อปัญหามากๆ
    - กลุ่มที่ 1 ... คือ กลุ่มที่อยู่ในฐานะยากจน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 70-74 ปี และมีกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป มีถึงร้อยละ 76 กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถถามถึงรายได้ได้เลย แต่พอมีอยู่มีกิน และก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าขาดเครือข่ายการดูแล
    - กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ดูแลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนสูงอายุดูแลคนสูงอายุด้วยกันเอง จะมีเยอะมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเริ่มที่อายุ 60-64 ปี 42.0%
    - กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ช่วยตนเองไม่ได้ นอนติดเตียง มีอายุ 70 ปีขึ้นไป อยู่ในชนบทไทยมาก จะเจอปัญหาในเรื่องการดูแลมากมาย

ปัญหาในระดับ macro ทำไมถึงเกิดปัญหา และอย่างไร

  • ประการที่ 1 ในระบบบริการของประเทศ ระบบสวัสดิการเน้นเรื่องการบรรเทาปัญหามาตั้งแต่สมัย จอมพล ป พิบูลสงคราม มาจนถึงปัจจุบันก็ยังเป็นระบบการสงเคราะห์ เพิ่งจะมาปรับเปลี่ยนไม่นานเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น เมื่อเราพูดถึงเรื่องผู้สูงอายุ คนจะมองถึงคนที่ยากไร้ในวงเวียนชีวิต ในกลุ่มตรงนั้น หรือถ้าเป็นบริการ ก็เป็นบริการในสถาบัน ผู้สูงอายุ 91% ที่ขาดสิทธิในการรับบริการ เพิ่งจะมี พรบ ผู้สูงอายุออกมาในปี 2547 นี่เอง ที่ให้สิทธิกับผู้สูงอายุ 13 ประการ แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์เท่าไร
  • ประการที่สอง ในระดับนโยบาย ไม่ว่าในแผน 9 แผน 10 ของรัฐ หรือนโยบายรัฐบาลชุดไหน เน้นเรื่องการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว เราจะพบว่า นโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังนั้น ยังไม่มี เพราะว่าบริการที่เข้าถึงครอบครัวมีจำกัด และมีบริการด้านสุขภาพเป็นหลักอย่างเดียว บริการด้านสังคมที่เป็นชิ้นเป็นอันก็มีเบี้ยยังชีพ นอกนั้นแทบจะไม่มีอะไรเลย
  • พบว่า บริการด้านสุขภาพและสังคมมีจำกัด ทั้งชนิด รูปแบบ นอกจากนั้นผู้สูงอายุที่เข้ากลุ่มภาวะพึ่งพิง ที่เพิ่มขึ้นมากขึ้น มากขึ้น เรายังไม่มีบริการด้านนี้
    เรื่อง ควรจะมีสถานบริการสำหรับผุ้สูงอายุหรือไม่ ควรจะมีการบริบาลในวาระสุดท้ายหรือไม่ ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดู
  • ขณะเดียวกันชุมชนที่เป็นที่รับถ่ายโอนงานผู้สูงอายุ ยังขาดบุคลากร ขาดความรู้ และประสบการณ์ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เป็นสุญญากาศ
  • ในระดับครอบครัว ครอบครัวไทยไม่มีความรู้ในการเตรียมพร้อมในการเป็นผู้ดูแล เพราะว่าเราดูกันไป อยู่กันไป แก่กันไป ชวนกันดูไป เพราะฉะนั้น ข้อมูลก็ไม่เคยมีมากมายที่จำเป็น เพราะว่าโรคพัฒนาไปเยอะ ความต้องการความรู้เฉพาะด้านสูงขึ้น
  • นอกจากนั้นครอบครัวยังขาดแคลนรายได้และอาชีพ และที่สำคัญการลดลงทางค่านิยมทางสังคมของกลุ่มสมาชิกครอบครัว บอกว่า เยาวชนไทยมีความเชื่อในเรื่อง บาปบุญคุณโทษ เชื่อในการดูแลพ่อแม่เป็นบุญ เป็นคุณ เป็นกุศล เป็นสิ่งต่างๆ แต่ก็พบว่ามีแต่เพียงความเชื่อ เมื่อศึกษาด้านปฏิบัติ มีแนวโน้มจะลดลง
  • ในระดับผู้สูงอายุเองนั้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขาดบริการที่จะเสริมสร้างให้เขามีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสังคม ช่วยเฉพาะคนที่ทุกข์ยากลำบาก คนยากไร้ เน้นการสงเคราะห์อย่างเดียว แต่คนที่ 91% บริการยังมีน้อย และผู้สูงอายุก็ส่งต่อว่า ขาดความรู้ด้านต่างๆ
  • ประเด็นที่สาม ผู้สูงอายุมีทัศนคติทางลบต่อความชรา แก่แล้วประเดี๋ยวก็ตาย ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องไปพัฒนา หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมบางราย เช่น เล่นหวย ดื่มสุรา หรืออื่นๆ เราก็ยังพบมากอยู่

ข้อเสนอนโยบายเพื่อขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ

  1. ระบบการดูแลระยะยาว หรือระบบการดูแลที่เป็นเรื่องสุขภาพ และสังคม ... ที่จะเชื่อมต่อระหว่างครอบครัว ชุมชน สถาบัน เป็นระบบบริการที่มีความจำเป็นมากๆ ในขณะนี้ ถ้าเราจะเน้นบริการแต่ในสถาบัน แล้ว บริการในครอบครัว ชุมชน จะมีปัญหามากๆ นโยบายจะต้องแยกผู้สูงอายุ หรือการจำแนกผู้สูงอายุออกตามวัยและสภาพปัญหา เมื่อมองผู้สูงอายุไม่ได้มองผู้สูงอายุที่กลุ่มคนกลุ่มเดียวที่ด้อยโอกาส ยังมีผู้สูงอายุอีกมากมาย ... การให้บริการควรให้ Family based care เป็นพื้นฐาน เพิ่มศักยภาพผู้สูงอายุในครอบครัว
  2. บริการในสถาบันที่ขยายครอบคลุมปัญหาผู้สูงอายุ ... ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริการด้านไหนก็ตาม
  3. การมีนักวิชาชีพเฉพาะด้านในชุมชน ... อันนี้สำคัญ เพราะว่า ขณะนี้บอกว่าเป็นการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ให้ชุมชนเดินทางกันเอง แต่นักวิชาชีพที่จะเป็นพี่เลี้ยงในชุมชนไม่มี ยกเว้นด้านสุขภาพ หรือสาธารณสุข แต่ด้านสังคมไม่มี
  4. ระบบเฝ้าระวังในชุมชน ... เป็นเรื่องจำเป็น ข้อมูลผู้สูงอายุต่างๆ ขณะนี้มีกระจัดกระจายอยู่ที่ อบต. บ้าง อนามัยบ้าง หรืออื่นๆ ไม่เห็นภาพรวมของผู้สูงอายุทั้งหมดว่า ชุมชนนี้มีปัญหาอะไรต้องทำ
  5. ถ้าเราจะนำระบบการดูแลระยะยาวเข้ามาใช้ การจะตั้งบุคลากรทางวิชาชีพคงไม่ทัน ระบบอาสาสมัครที่เข้มแข็ง ที่มีบุคลากรเป็นผู้ให้ความรู้ น่าจะเป็นระบบที่ควรจะดำเนินการโดยเร่งด่วน
  6. การมีผู้นำชุมชนที่มีจิตสำนึกด้านสวัสดิการ ... เป็นระบบสวัสดิการที่อาศัยมือของผู้นำชุมชนทั้งสิ้น ทำอย่างไรจึงจะสร้างจิตสำนึกด้านสวัสดิการ

โดยสรุป ดิฉันมองว่า นโยบายเชิงบูรณาการที่จะประสานระหว่างบ้าน และศูนย์บริการด้านไหนนั้น ควรจะเป็นนโยบายที่สำคัญ และการบูรณาการผู้สูงอายุนั้น ควรเน้นบริการกาย จิต ปัญญา สังคมรวมกัน

 

หมายเลขบันทึก: 87805เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2007 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอเชิญร่วมวิพากษ์ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2

http://thenationalplan2forolderpersons.blogspot.com/

รักษ์ผู้สูงอายุ (สมลักษณ์ สุวรรณมาลี)

อยากให้มี ละคร ที่แสดงด้วยผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก คือ อย่างน้อย พระเอก กับ นางเอก ก็เป็นผู้สูงอายุ ที่มีการแสดงให้เห็นถึงชีวิตประจำวันที่ควรจะเป็นของผู้สูงอายุ โดยอาจจะมีคนรุ่นอื่นมาช่วยแสดงเป็นตัวประกอบในฐานะเป็นแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในด้านต่างๆ จากแหล่งต่างๆ แล้วก็ช่วยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ ในสังคมนี้ มีความสุขในลักษณะต่างๆ สุดท้ายพระเอก นางเอกก็ลงเอยแบบ Happy Ending

คือ อย่างน้อย ละครนี้ก็ช่วยให้

- ผู้สูงอายุได้รับรู้ว่า จะต้องเผชิญกับสิ่งที่อาจจะเป็นปัญหา หรืออุปสรรคในการดำเนินชีวิต เผื่อว่าจะได้มีการเตรียมตัว เตรียมลูกหลาน เตรียมสังคม และสิ่งแวดล้อม

- ผู้สูงอายุ ได้มีโอกาสเรียนรู้ว่า สิ่งที่บุคลากรสาธารณสุขแนะนำไว้ หรือสิ่งที่ลูกหลานบอกจนทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกันในบางครั้งนั้น ทุกอย่างเป็นความจริง เป็นสิ่งที่ควรกระทำตาม

- ครอบครัว โดยเฉพาะลูกหลาน ได้เข้าใจความเป็นจริงของผู้สูงอายุในบ้าน ว่า เค้าไม่ได้มัวแต่บ่นว่าเรามาสั่งสอน เค้าไม่ได้ดื้อๆๆ อย่างที่เราคิด เค้ามีเหตุผลทุกอย่าง

คืออยากให้สถานีโทรทัศน์ ส่งเสริม หรือจัดให้มีละครทำนองนี้ อย่างน้อยช่องละเรื่อง ในช่วงเวลาที่ครอบครัวได้มีเวลาหรือโอกาสในการดูร่วมกัน แบบว่าพ่อ หรือแม่ติดละครเรื่องนี้นะ ทุกเย็นต้องไปรับมาดูที่บ้าน หลังรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ดูเหมือนจะโรแมนติคดีนะคะ สำหรับครอบครัวที่ยังมีผู้สูงอายุอยู่ อย่างน้อย ดูละครแสดงแล้วพ่่อ แม่ หรือลูก เหลียวมาค้อนกันคนละที วันรุ่งขึ้นชวนกันไปเดินออกกำลังกายที่สวนสุขภาพสักที

ก็ไม่แน่ใจนะคะ ว่าฝันไปหรือเปล่า แต่ดิฉันก็ฝันมานานแล้ว ว่า สักวันหนึ่งจะพยายามเปิด สวนผู้สูงอายุ แบบว่าเป็นบ้านพักผ่อนในแต่ละวันสำหรับผู้สูงอายุ ที่ไม่ใช่บ้านพักผู้สูงอายุแบบที่สถานสงเคราะห์คนขราจัดเตรียมไว้ให้ คือ รับผู้สูงอายุเข้ามาดูแลแบบเดิมๆ แต่จะเป็นแบบว่า เป็นวิมานผู้สูงอายุจริงๆ คืออะไรที่ผู้สูงอายุชอบ ผู้สูงอายุรัก ผู้สูงอายุอยากทำ ผู้สูงมีความสามารถในการดูแลตนเอง สามารถทำได้ เพื่อให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ เราจัดให้เลยเช้า แบบว่า ในแต่ละวัน ลูกหลานออกจากบ้าน ผู้สูงอายุก็ออกด้วย เดินเข้ามาในวิมานนี้ด้วยรอยยิ้ม สวัสดี ทักทายกับทุกคนที่พบ 8.00 น. ร้องเพลงเคารพธงชาติ สวดมนต์ หลังจากนั้น ก็เข้าสู่กิจกรรมตามตารางที่จัดไว้ เช่น การบอกเล่าเรื่องราว แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากนั้น ก็อาจเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุแต่ละคนสลับกันแสดงฝีมือในด้านต่างๆ เช่น ประกอบอาหาร เล่นดนตรี ปลูกต้นไม่้หรือดูแลสวนครัว หรือไม้ดอกที่ปลูกไว้ หลังอาหารเที่ยง เปิดโอกาสให้ดูTV ,ฟังข่าว, ให้คุยกัน หรือเล่นเกมส์่ต่างๆ หลังจากนั้น อาจจะอยากเอนหลัง พักผ่อนสายตา ก็ให้นอนหลับสัก 2 ชั่วโมง ตื่นขึ้นมา ต้องมายืดเส้นยืดสาย ออกกำลังกันหน่อย รำวงก็ได้ ก่อนที่ลูกๆ หลานๆ จะมารับกลับบ้าน ด้วยรอยยิ้มที่กว้างกว่าเมื่อเช้า (ตอนมาส่ง) หรือเสียงหัวเราะดังๆ ร่ำลาเพื่อนๆ ที่ยังต้องคอยลูกๆ อยู่ก่อน

เห็นมั๊ยคะ วิมานผู้สูงอายุของดิฉัน น่าเข้ามารับบริการหรือเปล่า คาดว่าต้องได้สร้างแน่ๆ แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ คือแต่เพียงว่า ผู้ใหญ่ๆ ที่เราจะชวนเค้ามาเป็นผู้บริหาร เค้าไม่ยอมพยักหน้า ในขณะที่พอไปเล่า โครงการนี้ให้ผู้ใหญ่หลังเกษียณและเตรียมเกษียณฟัง ทุกคนสั่งทันที ว่า จองด้วยคนนะ วิมานนี้น่าอยู่มากๆ

คือ ทุกวันนี้ดิฉันเห็นว่าสังคมไทยเรา ยังให้ความสำคัญกับความสุขของชีวิตบั้นปลายน้อยมาก คงเป็นเพราะเค้าๆ ยังไม่แก่กันกระมัง คือ ทุกวันนี้ดิฉันเห็นผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งอยู่ในบ้านกันมากขึ้น โดยลูกหลานก็จะบอกว่า ไม่มีเวลา เช้าขึ้น ก็ต้องรีบดูแลลูกเล็กๆ ไปส่งให้ทันโรงเรียนเข้า ตนเองก็ต้องรีบไปถึงที่ทำงานก่อนหัวหน้า งานเมื่อวันก่อนก็ยังไม่เสร็จดี หลังงานเลิก กว่าจะถึงบ้านก็ค่ำ ถึงบ้าน บางทีก็ต้องอารมณ์เสียกับสามี และ/หรือลูกๆ อีก พ่อแม่น่ะหรือ เต้าแก่แล้ว ประสบการณ์สูง ดูแลตัวเองได้อยู่แล้ว ถ้าต้องการอะไร เดี๋ยวเค้าก็บอกเราเองต้องส่วนใหญ่กว่าเราจะหยุดส่งเสียง หันไปอีกที เค้าก็หลับไปแล้ว

คือ ตัวลูกหลานเอง หรือคนที่ไม่เข้าใจผู้สูงอายุจริงๆ และที่สำคัญไม่เคยรับรู้ว่าผลการศึกษาวิจัยเดี๋ยวนี้ออกมาน่ากลัวแค่ไหน แบบว่าบางคนไม่เคยพูดกับผู้สูงอายุในบ้านเป็นเวลาหลายวัน ทำให้คิดว่า เค้าไม่มีปัญหา หรือมีความต้องการอะไรมากกว่าเดิม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท