แนวโน้ม ค่าทางฤดูกาล วัฏฏะ และค่าความรบกวนสุ่ม ของข้อมูลจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในจังหวัดนครศรีธรรมรา


TREND SEASONAL CYCLE AND RANDOM DISTURBANCE OF FLU CASES IN NAKHONSITHAMMARAT FROM CLASSICAL TIMESERIES MODEL ANALYSIS

แนวโน้ม ค่าทางฤดูกาล วัฏฏะ และค่าความรบกวนสุ่ม ของข้อมูลจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบคลาสสิค


 

แสงเทียน อยู่เถา *, มัลลิกา เจริญสุธาสินี, กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี

Sangtien Youthao *, Mullica Jaroensutasinee, Krisanadeh Jaroensutasinee

CX-KURUE & Computational Sience Graduate Program, Institute of Science,  Walailak

University,   222 Thasala District, Nokhon Si Thammarat, 80160, Thailand.

Email address: [email protected],[email protected], [email protected]
 
บทคัดย่อ : การศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์อนุกรมเวลาของจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เป็นรายเดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 2546 เป็นจำนวน 23 ปี มีจำนวนข้อมูลทั้งสิ้น 276 เดือน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบคลาสสิค โดยใช้โปรแกรม Mathermatica ในการคำนวณค่า เพื่อแยกค่าที่เป็นส่วนประกอบ ค่าแนวโน้ม ค่าทางฤดูกาล ค่าวัฏฏะ และ ค่าการรบกวนสุ่ม และทำการศึกษาของรูปแบบอนุกรมเวลาที่ได้จากค่าปกติ และค่าของส่วนประกอบทั้งสี่ เปรียบเทียบค่ารายเดือนทั้ง 12 เดือน และรายปีทั้ง 23 ปี ปรากฏว่า รูปแบบของแต่ละเดือนตลอดระยะเวลา 23 ปีมีลักษณะไม่เหมือนกันแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ส่วนการแยกส่วนประกอบของข้อมูลอนุกรมเวลา นั้นได้สมการแนวโน้มของค่าแนวโน้ม และค่าของแนวโน้มมีลักษณะคล้ายระฆังคว่ำที่เพิ่มขึ้นจนถึงกึ่งกลางของข้อมูลแล้วค่าแนวโน้มก็ลดลงมาเรื่อยตามลำดับ ค่าที่ได้ของค่าทางฤดูกาลจะมีลักษณะเหมือนกันทุกปี คือลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม ก็ลดลงอีกแต่ไม่มากนัก เดือนเมษายน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยในเดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายนลดมาเล็กน้อย ลดลงมาอย่างรวดเร็วในเดือนกรกฎาคม และสูงขึ้นอย่างฉับพลันในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน เดือนตุลาคม ลดลงมาแต่ไม่มากนัก แต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมจะลดลงมาอย่างรวดเร็ว ค่าวัฏกะ ครึ่งแรกของข้อมูลจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในบางช่วงเวลา และทวีความรุนแรงขึ้นในแต่ละช่วงจนถึงปีที่13 จากนั้นข้อมูลมีลักษณะที่ราบเรียบและจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วช่วงก่อนถึงปีที่ 16 การเพิ่มสูงขึ้นหลังจากนั้นก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมากช่วงปีที่ 17-18 ค่าวัฏฏะจะเพิ่มแบบนี้อีกครั้งในปีที่ 20 และลดลงมาอีก 2 ปีและปีสุดท้ายเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งแต่ไ/ม่สูงมากนัก  ส่วนค่าความรบกวนสุ่มที่ได้จากการศึกษานั้น  มีค่าการรบกวนสุ่มไม่มากนักในปีต่าง ๆ จะมีมากในปีที่ 11 และปีที่ 23 เท่านั้น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8759เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2005 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท