Oz
นาย พงษ์เกียรติ เชษฐพิทักษ์สกุล

SLA กับการประกันคุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง : ตอนที่ ๑ ที่มาที่ไป


ที่มาที่ไปในการนำ SLA มาใช้กับการประกันคุณภาพของห้องสมุด

ที่มา

เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อผศ.กิติพงค์ มะโน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลางมีแนวคิดว่าจะปรับปรุงการประกันคุณภาพของสำนักหอสมุดกลางซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่ามีองค์ประกอบต่างๆ  มากเหลือเกิน (ตั้ง ๑๙ องค์ประกอบ ๖๑ ดัชนีบ่งชี้คุณภาพ) จึงได้มอบโอกาสให้ผมได้ทำงานนี้ โดยอาจารย์ (ขอเรียกว่าอาจารย์ครับ เพราะผศ.กิติพงค์เป็นอาจารย์ผมมาก่อนครับ) ให้ไปศึกษาแนวทางการปรับปรุงการประกันคุณภาพ งั้นมาดูระบบการประกันคุณภาพที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันกันก่อนครับ

๑. ระบบหลัก : ใช้ System Approach : IPO ดังรูปที่ ๑ ครับ

 QA Current Model

รูปที่ ๑ ระบบหลักในการประกันคุณภาพ 

๒. ระบบเสริม

๒.๑ ISO 9000 ใช้ในการจัดทำเอกสาร

๒.๒ กิจกรรม ๕ส เป็นกิจกรรมพื้นฐาน 

ซึ่งผมก็ได้ศึกษาแนวทางต่างๆ หลายแนวทาง เช่น

  • LibQUAL
  • SLA
  • แนวทางการประกันคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ในประเทศไทย (หาข้อมูลค่อนข้างยาก)

เมื่อได้พิจารณารายละเอียดต่างๆ แล้วเห็นว่า LibQUAL คงไม่เหมาะกับเราเพราะต้องมีการประเมินผลต่างๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้วย และเนื่องจากแนวทางของห้องสมุดนั้นยึดความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลักก็เลยคิดว่า SLA น่าจะเหมาะสม

ที่ไป 

จากที่มาดังกล่าว ผมจึงได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SLA แล้วก็ได้ตัวอย่าง SLA ของ Monash University Library มาเป็นแนวทางในการศึกษาและนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง ซึ่งผลเป็นอย่างไร มาติดตามต่อในตอนหน้านะครับ

หมายเลขบันทึก: 87355เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านอาจารย์พงษ์เกียรติ

มีทั้งระบบหลัก และเสริม น่าสนใจครับ ถ้าทำให้กลมกลืนกับงานประจำไปคงไม่น่ากังวล

แต่ดู องค์ประกองและดัชนีบ่งชีแล้ว มากเหลือเกิน เห็นแล้วตอนเขียน SAR แถบถอดใจเลยครับ

จะรอติดตาม และขออนุญาตแนะนำ บอกกล่าวแก่สำนักวิทยบริการ มมส. ต่อไปครับ

ขอบคุณครับ

กัมปนาท

กลับจาก สัมมนาที่เกาะช้างแล้วนะครับ

อยากให้ อาจารย์ไปกันด้วยจัง

แปดสิบชีวิตที่ยังต้องทำ KM ต่อครับ

 

โอชกร

  • แวะมาอ่านค่ะ
  • LibQual ได้ยินมานานแล้ว แต่ไม่เข้าใจ (แบบว่ามือใหม่น่ะค่ะ) ไม่รู้ว่าแตกต่างหรือว่าดีกว่ากันยังไง

ตอนนี้เราทำงานวิจัยเกี่ยว Sla ซึ่งตอนนี้เราไม่สามารถหานิยามของมันได้จริงๆเพราะอาจารย์ให้เอาข้อมูล บทนิยามมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้จริงๆหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ SLA ยังไงรบกวนแนะนำด้วยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท