ประวัติศาสตร์....ซ้ำรอย


ป้องกันการพังทลายของหน้าดินโดยการปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริฯ ครั้งนี้ก็ได้แต่เก็บรูปถ่ายมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้นครับ

        บ่อน้ำใหม่ กับ บ่อน้ำเก่า

   

         วันนี้หลังจากนั่งอ่านหนังสืออยู่ในห้องทำงานตึกใหม่จนง่วงเลยลุกขึ้นเดินไปชมวิวด้านนอกตึกที่หน้าต่าง  เห็นบ่อที่เพิ่งทำใหม่ที่ข้างตึกหลังใหม่อยู่ถัดจากบ่อน้ำเก่าข้างตึกหลังเก่าที่อยู่ถัดไป ที่มีสภาพที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงเก็บภาพมาฝาก
         การเห็นสภาพบ่อน้ำใหม่กับสภาพบ่อน้ำเก่าที่อยู่ติดกันเช่นนี้ทำให้นึกถึง การเปลี่ยนแปลงของบ่อน้ำใหม่คงจะเป็นเหมือนบ่อน้ำเก่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคือ  จากบ่อเริ่มต้นที่มีความลึก ประมาณ 3 เมตร มีขอบบ่อที่เป็นดินถมเรียบร้อย แต่ไม่มีการป้องกันการพังทลายของดินขอบบ่อ ในเวลาเพียงไม่กี่ปี บ่อก็จะเปลี่ยนจากบ่อลึก 3 เมตรเป็นบ่อลึกไม่ถึง 1 เมตรเพราะการพังทลายของดินขอบบ่อในหน้าฝนลงไป และทำให้ขอบบ่อไม่เป็นแนวตรงเหมือนในตอนนี้และมีหญ้าและวัชพืชขึ้นโดยลุกล้ำลงไปในบ่อเหมือนกับบ่อข้างตึกเก่านั่นเอง
         ภาพนี้ทำให้นึกถึงครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน เคยเห็นสภาพเช่นนี้มาแล้ว ในช่วงนั้นกำลังทำเว็บไซต์ เครือข่ายหญ้าแฝกประเทศไทย (Thailand Vetiver Network) ให้กับทางสำนักงาน กปร. อยู่ จึงมีความรู้เรื่องการป้องกันการพังทลายของหน้าดินโดยการปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริฯ  จึงโทรไปบอกผู้ที่รับผิดชอบเรื่องภูมิทัศน์หรือฝ่ายอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาปลูกหญ้าแฝกรอบบ่อเพื่อป้องกันการพังทลายของดินขอบบ่อที่ทำใหม่  แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น  ครั้งนี้ก็ได้แต่เก็บรูปถ่าย มาเล่าสู่กันฟังเท่านั้นครับ.....ประวัติศาสตร์....ก็คงจะ.....ซ้ำรอย

หมายเลขบันทึก: 87167เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะอาจารย์ Panda

  • ขอคารวะท่านอาจารย์ Panda อย่างจริงใจอีกครั้งค่ะ  อาจารย์ช่างสังเกต  มีมุมมองและคำแนะนำดีดีต่อมหาวิทยาลัยของเราอยุ่เสมอ
  • ดูจากภาพแล้ว  เสียวไส้จริงๆเลยค่ะอาจารย์  กลัว...ประวัติศาสตร์  จะซ้ำรอย เช่นกันค่ะ
  • วันก่อนเข้าพื้นที่เม็กดำ  แวะไปที่โรงเรียนเม็กดำ  ก็มีการขุดสระใหม่หลังโรงเรียนค่ะ  แล้วเห็นว่ากำลังปลูกหญ้าแผกด้วยค่ะอาจารย์  แต่ สระที่ขุดใหม่  ขอบดินลื่นๆ พอปลูกไปยังยึดไม่ดีเท่าที่ควร  ลื่นๆหลุดๆค่ะ  คงต้องรอเวลาใช่ไหมคะ  พอดีหนิงไม่ค่อยสันทัดเรื่องนี้ค่ะ อาจารย์Panda  (จะว่าไปรู้อยู่เรื่องเดียวเลยเรา 555 )
ก็หวังแต่เพียงว่าประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำรอย..นะครับ
  • มาทักทาย
  • ที่ มทส น่ากลัวกว่าครับ
  • ตึกทรุด
  • ขจิตก็งง เห็นมีวิศวกรมาก
  • ทำไมทรุดก็ไม่ทราบ

เรียนท่านอาจารย์อรรณพ

  • ผมไม่ค่อยรู้หลักวิศวกรรมชลประทานเลยครับ แต่ถ้าขอบบ่อให้ลาดเอียงน้อยๆ (หมายถึง ค่อยๆลึกลงๆ) จะช่วยลดการชะล้างตลิ่งได้มั้งครับ (ผมเดาเอานะครับ)
  • นังอยู่ฝั่งนี้มองไม่เห็นครับ

ด้วยความเคารพ

กัมปนาท

 

มองอีกมุมหนึ่ง ถ้าเกิดยังไม่มีการดำเนินงานใดจากมหาวิทยาลัย..อาจจะทำได้ด้วยพลังของนักศึกษาก็ได้นี่คะ..ทุกอย่างทำได้ ถ้าให้ นิสิต.มีความรู้สึกว่านี่คือบ้านเค้า...ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับมหาวิทยาลัย..อาจใช้เด็กหอมาร่วมด้วยช่วยกันคะ..จากที่เคบเป็นนิสิตมาก่อน คิดว่า ถ้าวันปิดเทอม บางคนเรียน summer ก็น่าจะมีกิจกรรมดีๆ สนุกๆ ทำ..ช่วยกันคนละไม่ละมือ..(จิตอาสา ทุกคนมีอยู่คะ..แต่ขาดโอกาสคะ)

 

  • สวัสดีค่ะท่านอาจารย์
  • ช่างสังเกตจังเลยค่ะ นี่คือบุคลิกและคุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร
  • ขออนุญาตศึกษาไว้เป็นแบบอย่าง
  • ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ....เห็นสภาพบ่อใหม่ ถ้าไม่รับการพิจารณาการปลูกหญ้าแฝกรอบบ่อใหม่  ที่ข้อเสนอดีจากอาจารย์    อาจจะกลายเป็นบ่อเก่าอีกไม่นาน

  • คำแนะนำของคุณ
    P
    น่าสนใจดีนะครับ เรื่องนี้คงต้องอาศัยคุณ
    P
    P
    P
    ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับนิสิต มมส. ช่วยแล้วนะครับ
  • ขอบคุณ
    P เห็นว่ามีประโยชน์ ตอนนี้ผมเป็น สว. แล้วครับ เป็นได้แค่ที่ปรึกษา.....ให้ความเห็น...5555
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท