BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

การเลียนแบบและสืบทอดพิธีกรรม


พิธีกรรม

ผู้เขียนไม่ทราบว่านอกจากพิธีกรรมของพุทธศาสนาแบบไทยๆ แล้ว ในสังคมพุทธศาสนาประเทศอื่นๆ นิกายอื่นๆ จะมีการสวดศพ ตักบาตร บังสุกูล ทำนองเดียวกับเมืองไทยหรือไม่ ?... รู้แต่เพียงว่า ในสังคมคนไทยที่นับถือพุทธศาสนา ไม่ว่าจะไปอยู่ประเทศใดๆ พิธีกรรมเหล่านี้ ก็มักจะตามไป....

ตามที่พอได้อ่านได้ยินมาบ้าง และจินตนาการเอาเองบ้าง ในสมัยแรกที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มประกาศพระธรรมวินัย ซึ่งเรียกกันตามสำนวนวัดๆ ว่า ปฐมโพธิกาล  พิธีกรรมอื่นๆ ยังไม่มี.... เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุได้รับอาราธนานิมนต์ฉันที่เรือนใด หลังจากฉันเสร็จแล้ว.. พระองค์ก็ทรงแสดงธรรมเทศนาตามสมควรแก่อุปนิสัยเจ้าภาพและประชุมชนในที่นั้นๆ...

ต่อมา เมื่อสังฆมณฑลเติบโตขึ้นมา พระพุทธเจ้าและบรรดาพุทธสาวกอื่นๆ ก็แยกย้ายกันไปยังสถานที่ต่างๆ ธรรมเนียมนี้ก็ยังคงมีอยู่....โดยพระภิกษุผู้เป็นประธานสงฆ์ หรืออาจมอบหมายให้พระภิกษุบางรูปผู้เฉลียวฉลาดทรงจำ นำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาแสดงแก่บรรดาญาติโยมในที่นั้นๆ... 

ฟังว่า ธรรมเนียมเดิมของพรามณ์นั้น จะมีการสวดบางอย่างในงานมงคลต่างๆ ... เมื่อพุทธศาสนามั่นคงเป็นบึกแผ่นขึ้นมา พระสงฆ์จึงเริ่มนำพระพุทธพจน์ต่างๆ มาสาธยายหรือสวดให้ญาติโยมฟังเพื่อเป็นมงคลแทน แต่ก็คงยังไม่มีระเบียบแบบแผนชัดเจน...

ตามทีพอนึกได้ แม้พระพุทธเจ้าก็เคยเสด็จไปยังงานมงคลสมรสของนันทราชกุมาร ผู้เป็นพระอนุชาต่างพระมารดา แต่แต่งแล้วไม่ทันได้อยู่กินฉันสามีภรรยาเพราะพระพุทธเจ้าชวนมาบวชเสียก่อน...ดังมีเกล็ดประวัติย่อๆ ว่า...

หลังจาก พระพุทธเจ้าฉันเสร็จแล้ว เมื่อจะเสด็จกลับ ก็ทรงยื่นบาตรให้นันทราชกุมาร (เจ้าบ่าว)... นันทราชกุมารก็ถือบาตรตามเสด็จออกมา โดยหวังว่า เมื่อพระพุทธเจ้ารับบาตรก็จะกลับ... แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงรับบาตร เมื่อมาถึงอารามก็ตรัสถามว่า นันทะ เธอจักบวชหรือ ?...

นันทราชกุมาร แม้ไม่อยากบวช (เพราะคิดถึงเจ้าสาวอยู่ ที่สั่งว่าให้รีบกลับ) แต่ไม่เคยปฏิเสธเสด็จพี่ (พระพุทธเจ้า) จึงทูลรับคำ... หลังจากบวชแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงพาพระนันทะเที่ยวจาริกไปยังท้องถิ่นต่างๆ ... พระนันทะ เจอสาวงามเมืองไหนก็นึกชอบที่นั้น เจอคนใหม่อีกก็นึกชอบอีก....สรุปว่า ตอนหลังพระนันทะจึงคิดได้ว่า ความรักความหลงไม่สิ้นสุด จึงเริ่มมาบำเพ็ญเพียร....

สรุปว่า พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนานี้ เดิมทีเลียนแบบมาจากของพรามณ์ในอินเดียตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และก็สืบทอดมาจนกระทั้งถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้เขียนค่อยเล่าต่อไป...

คำสำคัญ (Tags): #พิธีกรรม
หมายเลขบันทึก: 86909เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
แบบนี้คนที่บวชตามประเพณี ก็อาจจะมีประโยชน์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท