วิพากษ์โลกานุวัตรกับการค้าเสรี ตอนที่ 1


ประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 กับกระแสโลกานุวัตร

คุยกันพาเพลิน

                สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านวันนี้ Sundayweekly ขอนำเรื่องราวที่คั่งค้างไว้ในตอนที่ 1 มาเพิ่มเติมให้เสร็จสิ้น และ ในระยะเวลาช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม การเมืองเริ่มร้อนแรงเหลือด้วยปัจจัยต่าง ๆ  มากมาย เป็นปัญหามากการปฎิวัติหรือเปล่า หรือมาจาการที่ใครบางคนที่ยังหลงและเหลิงอยู่ในอำนาจหรือเปล่า น่าคิดสำหรับสถานการณ์บ้านเมืองเช่นนี้เหลือเกิน


การข้ามรัฐ  

            แต่ถึงกระนั้นยังมีมุมมองที่น่าสนใจอย่างยิ่งในแนวคิดของการที่โลกาภิวัตร ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่คือ การค้าเสรี ( Free Trade Policy ) การค้าเสรีเริ่มปรากฏขึ้นในยุคของโลกโลกาภิวัตร ที่สำคัญหากมองในมุมของนักรัฐศาสตร์แล้วจะพบได้ว่า แนวคิดอันหนึ่งที่เป็นพื้นฐานของการเกิดการค้าเสรีคือ แนวคิดของการข้ามรัฐ ( Bypassing state ) แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่สามารถอธิบายถึงแก่นแกนการเกิดการค้าเสรีได้อย่างลุ่มลึกพอสมควร               

           หากสังเกตในมุมองแนวคิดการข้ามรัฐ ( Bypassing state ) มิใช่เป็นแนวคิดทางด้านรัฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีความสัมพันธ์กับมุมมองทางด้านเศรษฐกิจด้วย ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจกับแนวคิดการข้ามรัฐ มีตัวบ่งชี้ที่สามารถวิเคราะห์ได้คือ ในสมัย ค.ศ.ที่ 15 -20 โลกสมัยใหม่ ( Modern Age ) ได้เกิดการค้าขึ้น โดยยังคงเป็นการค้าในลักษณะตามแนวชายแดนเท่านั้น แต่พอมาถึงสมัยศตวรรษที่ 21หรือในยุคโลกาภิวัตรก็ทำให้เกิดการค้าที่มิใช่การค้าแบบชายแดนเหมือนแต่เก่าก่อน หากแต่เป็นการค้าที่กระทำกันระหว่างรัฐต่อรัฐ เมื่อเกิดการค้าระหว่างรัฐต่อรัฐขยายใหญ่ขึ้นก็กลายเป็นการค้าทั้งโลก การค้าของโลกทั้งโลกนี้ได้สะท้อนและตอกย้ำถึงแนวคิดของการข้ามรัฐ ( Bypassing state ) เพราะการค้าแบบนี้ได้ข้ามเรื่องของพรหมแดนระหว่างรัฐไปเรียบร้อยแล้ว

             แนวคิดเรื่องการข้ามรัฐ ( Bypassing state ) ถือเป็นแนวคิดที่ถูกล่าวในวงวิชาการอย่างหลากหลาย โดยแนวคิดนี้เริ่มปรากฏขึ้นโดยท่านอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช ที่ได้วิพากษ์เรื่องของการข้ามรัฐไว้ในวงวิชาการในหลาย ๆ ที่ว่า ในโลกนี้มีทฤษฎีหลัก ๆ เกี่ยวกับรัฐและสังคมอยู่สอง ทฤษฎี ทฤษฎีหนึ่งบอกว่าเมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านลักษณะของประชากร เศรษฐกิจ และการศึกษา ซับซ้อนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนั้นก็จะไปผลักดันให้รัฐเปลี่ยนรูปลักษณ์ตามไปด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือรัฐที่เป็นเผด็จการก็เปลี่ยนไปเป็นรัฐประชาธิปไตยหากมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-สังคมในชนชั้นกลางมากขึ้น และเมื่อการแบ่งโลกออกเป็นสองขั้วแบบเดิมหมดไปก็กลับมีโลกเสรีขึ้นมา เพราะระหว่างคอมมิวนิสต์นั้น อเมริกาเป็นฝ่ายส่งเสริม รัฐเพื่อความมั่นคง หรือ Security State นาน ๆ ไปรัฐพวกนี้ก็โตขึ้นเรื่อย ๆ และทำโน่นทำนี่นำประชาชนอยู่เรื่อยในนามของการพัฒนาจนเกิดการสร้างกลไกใหญ่โตเกิดกว่ากลไกทางการเมืองนอกระบบรัฐจะควบคุมจัดการได้ จึงมีการกล่าวถึงทฤษฎีหนึ่งว่า รัฐเปลี่ยนไปในสาระสำคัญได้ และทฤษฎีอีกทฤษฎีว่าในที่สุดความขัดแย้งระหว่างรัฐก็จะสลายไป ดังนั้นรัฐจึงถูกมองข้าม                

                เรื่องการข้ามรัฐ ( Bypassing state )  อาจเป็นทฤษฎีที่ยุ้งเหยิงและดูเหมือนจะเข้าใจยากพอสมควร แต่แท้จริงแล้วทฤษฎีนี้ได้กลายเป็นตัวคลี่คลายประเด็นการเกิดขึ้นของแนวคิด การค้าเสรี

 

ประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 

                  จากบริบทข้างต้นเป็นการ เป็นการกล่าวถึงโลกาภิวัตรในมุมมองการก้าวข้ามรัฐ ซึ่งได้มีผลอยากมาก อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า โลกาภิวัตรมิได้มีผลแค่ในซีกโลกตะวันตกเท่านั้น หากแต่ยังผลมาถึงซีกโลกตะวันออกอีกด้วย ยิ่งในประเทศไทยนั้นย่อมได้รับผลกระทบของโลกาภิวัตรอย่างแน่แท้ จะพบได้ว่าทศวรรษหน้าจะเป็นการเข้าสู่ศตวรรษที่21 ซึ่งมีการกล่าวขานกันมากว่า โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่จริงโลกเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทั้งในแง่ของโลกที่เป็นดวงดาวดวงหนึ่ง ทั้งในแง่ที่โลกเป็นสังคมมนุษย์ และในแง่ของโลกที่เป็นการพึงพา-โต้ตอบกันระหว่างดวงดาวดวงหนึ่ง กับสังคมมนุษย์พืชและสัตว์

 

                 

                  ซึ่งในยามที่โลกปลอดจากความขัดแย้งระหว่างสากลนิยมสองแบบ โดยสากลนิยมเสรีประชาธิปไตยกำลังเร่งอัตราการขยายอุดมการณ์ในกาลเป็นระเบียบโลกใหม่ ( New World Order ) ผลสะท้านที่มีต่อรัฐประชาชาติในส่วนของโลกที่ยังมีเทคโนโลยีและทุนน้อยกว้าจะเป็นอย่างไร เมื่อประเทศที่ผ่านยุคอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีขั้นสูงกลายเป็นเจ้าอุดมการณ์ ซึ่งไม่มีคู่ต่อสู้คอยทัดทานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออำนาจรัฐเป็นอย่างหนักหน่วง แนวคิดรัฐที่ต้องมีองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งถูกท้าทายและสูญสลายไปในการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตร แนวคิดเรื่องรัฐถูกมองข้ามไปอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สิ่งที่ทำให้รัฐถูกมองข้ามไป ประอบด้วยพลังทางเศรษฐกิจยิ่งในรูปของการค้าเสรีแล้วย่อมทำให้องค์ประกอบของรัฐถูกท้าทายมากยิ่งขึ้น

                    การเปลี่ยนแปลงของพลังทางเศรษฐกิจได้ทำให้การค้าได้ขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ กลไกลการตลาดเริ่มเข้ามาแทนที่การแลกเปลี่ยนแบบเก่า การค้าได้แสดงพลังอำนาจด้วยการก้าวข้ามรัฐแนวคิดการค้าแบบใหม่ได้เริ่มปรากฏขึ้น โดยเฉพาะแนวคิดการค้าแบบเสรี ( Free Trade Policy )


 

เอกสารอ้างอิง 

   อรรถวุฒิ ศิริปัญญาบทความโลกสมัยใหม่   

       htpp://gotoknow.org/profile/sundayweekly      เชียงใหม่:2549

2     ธีรยุทธ บุญมี  โลก Modern and Post Modern”  หน้า 19 บทที่1 สังคมสมัยใหม่ 

      Modern Age( ศตวรรษที่ 15 ศตวรรษที่ 20 ) , กรุงเทพฯ : สายธาร , 2546

3     ธีรยุทธ บุญมี โลก Modern and Post Modern” หน้า52 บทที่2 การหลุดพ้นจากสังคมยุค

      ศาสนาหรือแกนความคิดหลักของโลก , กรุงเทพฯ : สายธาร , 2546

4     --------------- อ้างแล้ว

5       อรรถวุฒิ ศิริปัญญาบทความโลกสมัยใหม่  

        htpp://gotoknow.org/profile/sundayweeklyเชียงใหม่:2549

6    ธีรยุทธ บุญมี  โลก Modern and Post Modern”  หน้า 73  บทที่3 โลกสมัยใหม่เป็น

      การเชื่อมโลกครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : สายธาร , 25467     --------------- อ้างแล้ว

8     ชัยอนันต์ สมุทวณิช โลกานุวัตร กับ อนาคตของประเทศไทย บทที่1ปีใหม่ :รุกเพื่อ

      จะรับ อย่ารับเพื่อจะรุก ผู้จัดการ:กรุงเทพ,2538 

 

คำสำคัญ (Tags): #โลกานุวัตร
หมายเลขบันทึก: 86789เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คือว่าเนื้อหาดีมากคะ แต่ว่าพี่พอจะรู้เกี่ยวกับ สังคมโลกในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 และ การก่อการร้ายหรือสงครามไร้รูปแบบบ้างป่าวคะ คือว่าอยากได้เนื้อหา ประมาณนี้อะคะช่วยได้ก็ดีนะคะ ไม่รู้จะหาที่ไหนแล้วคะพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท