อนาคตประเทศไทย


ผู้บริหารระดับสูงต้องให้น้ำหนักความรู้ที่เป็นรากเหง้าคือ Philosophy และ Perspective

          วันที่ 13   มีนาคม 2550    เวลา 9.00 -12.00 น. เป็นอีกวันหนึ่งที่ดิฉันได้รับความรู้ความเข้าใจอย่างมากทีเดียว เกี่ยวกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมุมมองในบริบทการบริหารสถาบันอุดมศึกษา

          หัวข้อว่า "อนาคตประเทศไทย"  บรรยายโดย ดร.สุวิทย์   เมษินทรีย์ (อาจารย์บรรยายโดยไม่ใช้ power point แต่ใช้วิธีเขียนบน Flip Chart ทำให้ตามความคิดได้ง่าย  โชคดีที่ดิฉันนั่งอยู่แถวหน้าๆ จึงมองเห็นภาพ และวาดภาพมาฝากด้วยนะคะ)

          องค์ความรู้  แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ( 4 P ) คือ

  1. ปรัชญา  Philosophy  เป็นรากของความรู้  เป็นต้นน้ำของความรู้
  2. มุมมอง  Perspective  บางทีแม้มีปรัชญาเดียวกัน แต่ก็ยังมีมุมมองต่างกัน เช่น ปรัชญาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง บ้างอาจมองว่าเป็นเพียงแนวความคิด บางคนมองว่าเป็นแนวปฏิบัติ / วิถีชีวิต  บางคนมองว่าเป็นระดับจุลภาค (micro) บางคนมองว่าประยุกต์ได้ในระดับมหภาค (macro) บางคนมองว่าเป็นเรื่องของการเกษตร/ชาวบ้าน  แต่บางคนมองว่าสามารถปรับใช้ได้ทุกภาคส่วน (ไม่มีถูก  ไม่มีผิด  มองได้หลายมุม )
  3. กรอบความคิด  Principle  (Model / Framework)  คือกรอบความคิด เช่นกรอบความคิดของเศรษฐกิจพอเพียง คือหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  หรือเรื่องการบริหารจัดการ  กรอบความคิด ได้แก่  effective  และ efficiency  หรือเรื่องการวิจัย กรอบความคิด คือ การตั้งโจทย์  สมมุติฐาน    ฯลฯ
  4. หลักปฏิบัติ  Practicing  เป็นปลายน้ำของความรู้

 องค์ความรู้ที่ผู้บริหารระดับต่างๆ และผู้ปฏิบัติควรเน้น

องค์ความรู้  ผู้บริหารระดับสูง   ผู้บริหารระดับกลาง   ระดับปฏิบัติ 
Philosophy       
Perspective        
Principle       
Practicing       

          ผู้บริหารระดับสูงต้องให้น้ำหนักความรู้ที่เป็นรากเหง้าคือ Philosophy และ Perspective

          การที่เราจะทำนายอนาคตประเทศไทยได้ เราต้องรู้ว่าโลกมันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเสียก่อน  โดยต้องรู้ที่มาที่ไปของหลักคิด  เริ่มด้วย ความเข้าใจเรื่อง Civilization


          Civilization มีลักษณะเป็นชั้นๆ  แต่ละชั้นเป็นตัวกำหนดชั้นต่อๆ ไป  โดยเริ่มจาก  Nature  ธรรมชาติ  >>>  Culture  วัฒนธรรม  >>>  Governance  ธรรมาภิบาล  >>>  Structure  โครงสร้าง  >>>  Behavior  พฤติกรรม

  • Nature , Culture  เปรียบเสมือน ต้นน้ำ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความต่อเนื่อง เสถียรภาพ: (continuing factors) หรือเปรียบได้กับ break ของรถ
  • Behavior  Structure  เปรียบเสมือน ปลายน้ำ  มีความแปรปรวนสูง เป็น Changing factors หรือเปรียบได้กับคันเร่งของรถ
  • ความสัมพันธ์ของชั้นต่างๆ นี้ ไม่ได้เป็นเส้นตรง  (Non linear)  ธรรมชาติอาจกำหนด ธรรมมาภิบาล  หรือ พฤติกรรมของคนก็ได้  ฯลฯ 
  •  เพราะฉะนั้น ที่เราไปลอกแบบ Good governance หรือ ระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่นมา  แต่ทำได้ไม่เหมือนเขา  เพราะมันไม่ได้เกิดจากรากเหง้าของเราเอง


          ต้องเข้าใจเรื่องวิวัฒนาการของอารยธรรมและวิวัฒนาการของโลกาภิวัฒน์ก่อนนะคะ ว่า ขณะนี้อารยธรรมของโลกกำลังจะวิวัฒน์จาก Cyberscape สู่ Mindscape และจาก Knowledge base society สู่ Humanistic society

          ในขณะที่โลกาภิวัฒน์ ก็กำลังจะปรับตัวเข้าหาสิ่งที่เป็น Mindscape มากขึ้น


          ยังไม่จบนะคะ ติดตามความรู้เรื่อง Social interaction ต่อคราวหน้าค่ะ



    
  
   
   

          

 

หมายเลขบันทึก: 85079เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2007 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณมากเลยค่ะอาจารย์  หว้าขออนุญาต copy ไปนะคะ  น่าสนใจมากเลยค่ะ
  • เห็นด้วยค่ะว่าการนำทฤษฏีจากต่างประเทศมา เราก็ต้องดูรากเหง้าของประเทศเราก่อนว่าเป็นอย่างไร
  • แล้วนำทฤษฏีมาประยุกต์ใช้  ไม่ใช่ดีแต่ copy เขามาทั้งหมด....

เป็น lecture ที่น่าสนใจทีเดียวครับ ไม่ทราบว่า ดร.สุวิทย์ท่านได้บอกไหมครับว่า เจ้าของแนวคิดแต่ละเรื่องคือใครบ้าง หรือเป็นคนเดียวกันทั้งหมดครับ

          อ.ลูกหว้าคะ  ดีใจและยินดีมากเลยค่ะ ที่อาจารย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 

          อ.มาโนชคะ  ดร.สุวิทย์ไม่ได้บอกค่ะ  ว่าท่านนำแนวคิดมาจากสำนักไหน  แต่ถ้าติดตามการบรรยายถัดๆ ไป จะเห็นได้ว่าท่านมีหลักคิด และวิธีสรุปเป็น model ที่เข้าใจได้ง่ายๆ อย่างนี้เสมอในทุกเรื่องค่ะ

          ดิฉันต้องขออภัยนะคะที่ตอบช้า เพราะช่วงนี้ไม่มี internet ฟรีของมหาวิทยาลัยใช้  ต้องใช้บริการที่ร้านบริการทั่วไป  ชั่วโมงละ 20 บาท (ต้องทำเวลาหน่อยค่ะ)  

เรียนท่านอาจารย์มาลินี

ขอบคุณมากสำหรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครับ

ตอนแรกผมเปิดอ่านในบันทึกที่ 3 จึงย้อนกลับมาดูที่มาที่ไปครับ

ด้วยความเคารพ

กัมปนาท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท