จรรยาบรรณ Blogger


บทนำ (Intro)
           การก้าวสู่ นักเขียนออนไลน์ผ่าน Blog (หรือ Blogger)  เป็นการเขียนบันทึกจากประสบการณ์ ความรู้ การทำงาน การดำเนินชีวิตส่วนตัว และประเด็นอื่นๆที่สนใจ อาจเก็บเกี่ยวได้จากการรับและเรียนรู้จากเอกสาร หนังสือ ตำรา อบรม สัมมนา เมื่อเกิดการตกผลึกทางความรู้ ความคิด แล้วต้องการถ่ายทอดประสบการณ์นั้นโดยการเขียนผ่าน Blog แล้วล่ะก็ ประสบการณ์เรื่องการเขียนอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่าไรนัก ขอเพียงมีความพร้อมทั้งทางด้านจิตใจ พร้อมทางด้านเวลา เวลาที่คิดว่าน่าเหมาะสมกับตนเองที่สุด แล้วจึงเขียนเนื้อหา สาระความรู้ แต่การเขียนจำเป็นจะต้องมีจรรยาบรรณด้วย เท่าที่พบเห็นโดยทั่วไปแล้ว น่าจะมี 5 ส่วน ดังนี้

1. ชื่อเรื่อง (Title)
        ชื่อเรื่องที่เขียน จะต้องสื่อความหมายชัดเจนและตรงประเด็นสอดคล้องกับเนื้อหาที่เขียน บางครั้ง Blogger อาจมัวแต่คิดว่าไม่สำคัญ เรียกว่า "เอาให้โดนใจไว้ก่อน"  แต่หารู้ไม่ว่า ชื่อเรื่อง ก็มีส่วนสำคัญ
เพราะถ้าหากชื่อเรื่องไม่ตรงหรือสัมพันธ์กับเนื้อหาย่อมส่งผลต่อผู้อ่านอย่างแน่นอน อาจลดความน่าเชื่อถือรวมทั้งการติดตามผลงานเขียน Blog ของเจ้าของ Blog ตามมาด้วย

2. บทนำ (Intro)
        หลักการเขียนโดยทั่วไปแล้วส่วนที่เป็น บทนำ มีส่วนสำคัญไม่น้อยที่จะนำเข้าสู่เนื้อหา เพื่อโน้มน้าว เชิญชวนให้น่าติดตามอ่าน เขียนด้วยความกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ จนมีแต่ "น้ำ"  หาสาระจากส่วนที่เป็นเนื้อหา (Content) ไม่ได้เลย

3. เนื้อหาสาระ (Content)
       มาถึงส่วนที่เป็นเนื้อหา ๆ ถือเป็นส่วนที่มีเป็นหัวใจและขาดไม่ได้เลยทีเดียว ส่วนประกอบที่ทำให้ส่วนที่เป็นเนื้อหามีความสมบูรณ์ถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด นำเสนอแนวคิด ข้อเท็จจริง หากมีที่มาก็ควรอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นด้วย ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ การเขียนจะต้องไม่ละเมิดสิทธิของใคร  เคารพกฎกติกามารยาท ไม่ลบหลู่สถาบันเบื้องสูง หรือดูหมิ่นสิ่งเคารพศรัทธา ไม่เป็นแหล่งมั่วสุมทางความคิดใดๆ  ทั้งนี้พื้นฐานสำคัญที่สุดต้องปฏิบัติตามข้อบังคับหรือเงื่อนไขของผู้ให้บริการ Blog นั้นๆ เช่น ข้อบังคับของ Gotoknow ลิงค์ http://gotoknow.org/blog/tutorial/44452

4. สรุป (Conclusion)
        หากจำเป็นก็ต้องเขียนเป็นการสรุปแนวคิดเห็นส่วนตัวเพื่อขมวดปม ชี้ให้ผู้อ่านได้ทราบ

5. อ้างอิง (Reference)
       หากมีข้อมูลที่กล่าวถึง หรือหยิบยกประเด็นอ้าอิงข้อมูลควรมีส่วนนี้เพิ่มเติมไว้ด้วย โดยทั่วไปอาจไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบตายตัวก็ได้

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตนเท่านั้นครับ...ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความถนัด ความพอของแต่ละ Blogger

หมายเลขบันทึก: 84912เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2007 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ครูอ้อยอ่านอย่างละเอียดแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ...ปฏิบัติตามอยู่แล้วค่ะ

อาจารย์สายน้ำแห่งความคิด....

เข้ามาอ่านเพื่อปรับปรุงและพัฒนา ครับ...

ดูชื่อแล้ว สายน้ำแห่งความคิด น่าจะเปลี่ยนเป็น

........วารีในจินตนาการ....

(แมวซี....)

เจริญพร

ขอบคุณ ครูอ้อย

P
มากครับที่กรุณาแวะเวียนมา

หลวงพี่

P
แนะนำให้ผมเปลี่ยนชื่อ...ขอคิดดูก่อนครับ สาธุๆ

เป็นครับแนะนำที่ดียิ่งครับสำหรับมือใหม่...

ขอบคุณครับ...

ขอบคุณที่ให้คำแนะนำสิ่งดี ๆ สำหรับการเขียน blog ค่ะ  สรุปการเขียนไว้อย่างดีเลยค่ะ  และเห็นด้วยสำหรับการตั้งชื่อเรื่อง  

ขอบคุณ คุณ สายน้ำแห่งความคิด ด้วยค่ะ

คำแนะนำเหล่านี้ เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกใน Gotoknow.org อย่างแน่นอนค่ะ

เป็นการสรุปวิธีในการเขียน blog ได้กระชับ ได้เนื้อจริงๆ  ขอบคุณค่ะ 

จะพยายามปรับปรุงแนวทางการเขียนให้เป็นประโยชน์มากที่สุดค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ สำหรับแนวคิดและสาระดี ๆ แบบนี้

อ่า..ไร้นามขออนุญาตถามจะได้ไหม

 

คือว่าต่อๆ ไปเวลาเขียนบันทึกต้องมี ลำดับหัวข้อและหมายเหตุเหมือนตัวอย่างบันทึกนี้ใช่หรือเปล่า

เอ่อ....ถ้าไม่ทำตามถือว่าลบหลู่หรือเปล่า...ครือว่า ไร้นามกลัวเจ้าของโกทูโนโกรธน่ะ

ไร้นามอยากทำตัวให้เรียบร้อยอยู่ในแถวน่ะ...

ที่จงใจข้ามคุณ
P

ก็เพื่อให้เกิดความลงตัวในการตอบครับ

เข้าประเด็นและตอบเลยแล้วกันครับ ว่า คำตอบก็คือ ...

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตนเท่านั้นครับ...ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความถนัด ความพอของแต่ละ Blogger

ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณครับสำหรับแนวทางครับ
  • ผมเองเมื่อก่อนก็เขียนไม่ได้รู้เรื่องจรรยาบรรณ Blogger ต้องมีอะไรบ้างครับ กลัวเหมือนกันครับว่าจะทำผิดระเบียบอะไรหรือเปล่า
  • ขอบคุณมากครับ
  • น่าคิดและน่าสนใจได้แนวทางการเขียนบันทึก
  • ขอบคุณมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท