เหตุใดจึงต้องมีการบริหารโครงการ (Project Management)


ความสำเร็จของโครงการ คือความสำเร็จ ความก้าวหน้า และการพัฒนาขององค์กร

จากที่ได้เคยอธิบายไว้ในเรื่อง โครงการคืออะไร จะเห็นได้ว่าเนื่องจากโครงการมีลักษณะเฉพาะ แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และเนื่องจากองค์กรจะกำหนดโครงการเพื่อตอบสนอง หรือแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง   ดังนั้นจึงยังไม่ได้มีการกำหนดผู้รับผิดชอบโครงการไว้ก่อน โดยมากจะกำหนดว่าให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ หรือผู้บริหารคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ประกอบกับเป็นโครงการที่ไม่เคยทำมาก่อน ดังนั้น 1. รายละเอียดงานที่จะต้องทำในโครงการก็ยังไม่ชัดเจน    2. เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นอะไรบ้าง ก็ยังไม่รู้   3. ใครจะเป็นผู้ดำเนินการ ใครจะเป็นผู้มีอำนาจรับผิดชอบในโครงการบ้าง และ 4. จะดำเนินการงานต่างๆ ในโครงการเมื่อใด ก็ยังไม่ได้กำหนดขึ้น

โดยสรุปแล้วก็คือ การบริหารโครงการ จะตอบคำถาม

  1. What's need to be done and why? จะต้องทำงานอะไรบ้างในโครงการ เพราะอะไร

  2. How to do these tasks? งานเหล่านั้นใช้วิธิการอะไร ใช้เครื่องมือเครื่องจักรอะไรบ้าง

  3. Who are responsible? ใครบ้างที่เป็นผู้รับผิดชอบงานต่างๆ และ

  4. When to do these tasks? จะทำงานในโครงการเหล่านี้เมื่อใด

นอกจากนั้นแล้ว การบริหารโครงการอย่างเป็นระบบ อย่างมีบูรณาการ (Integration management) จะทำให้ขอบเขตของโครงการ (Scope) มีความชัดเจน สามารถกำหนดงานที่ต้องดำเนินการได้ไม่ขาดไม่เกิน 

เมื่อทราบงานที่ต้องทำ มีการกำหนดขั้นตอน ผู้รับผิดชอบและวิธีการ (ได้แผนงานได้แล้วนั่นเอง!) ซึ่งจะทำให้สามารถ

  • ตรวจสอบความสำเร็จหรือสัมฤทธิ์ผลของโครงการ (Project performance) ได้

  • บริหารเวลา (Time management) ได้

  • บริหารงบประมาณ (Cost management) ได้

  • บริหารความเสี่ยงของโครงการ (Risk management) ได้  และ

  • บริหารความรู้ของโครงการ (Knowledge management) สำหรับนำไปใช้ในโครงการอื่นๆ หรือในการดำเนินงานต่อๆ ไปได้

จะเห็นได้ว่า การบริหารโครงการนั้นมีความจำเป็น เพราะหากไม่ได้บริหารโครงการอย่างเป็นระบบแล้ว โครงการอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งก็จะทำให้เป้าประสงค์ขององค์กรเสียไปด้วย

ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้เองที่จำเป็นต้องมีการบริหารโครงการเป็นอย่างยิ่ง เพราะโครงการไม่ใช่งานประจำที่มีผู้ดำเนินการอยู่แล้ว และมีขั้นตอน งบประมาณและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน อยู่แล้ว และความสำเร็จของโครงการยังเป็นความสำเร็จ ความก้าวหน้า และการพัฒนาองค์กรให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งด้วย\

ตอนต่อภาค ๒ เหตุใดจึงต้องมีการบริหารโครงการ (2)

หมายเลขบันทึก: 84853เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2007 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 01:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนท่านอาจารย์กมลวัลย์

หลายครั้งที่จะมีการตั้งคณะวิชา เช่น ปัจจุบันที่ มมส. ตอนนี้ ก็มีโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทย์ศาสตร์และสัตวศาสตร์ ซึ่งยกฐานะ แปลเปลี่ยนมากจากสาขาวิชาการผลิตสัตว์ ของคณะเทคโนโลยี

โดยผมเข้าใจ ว่า "โครงการ"เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ก่อนจะเป็นคณะอย่างเต็มตัว คงใช้เวลาปี หรือสองปี หรืออาจจะเร็วกว่านั้น ถ้าบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้เร็วกว่าที่ตั้งไว้

ด้วยความเคารพ

กัมปนาท

เรียน คุณ Pกัมปนาท อาชา (แจ๊ค)

ถูกต้องแล้วค่ะ โครงการจัดตั้งฯ นี้ จะมีวัตถุประสงค์เฉพาะหลักคือ ยกสถานะสาขาวิชาฯ ให้เป็น คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ฯ โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ และมีวันสิ้นสุดของโครงการดังกล่าวแน่นอน เช่นกำหนดให้การดำเนินการจัดตั้งนี้เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษา x/๒๕๕x  

วัตถุประสงค์หนึ่งของโครงการฯ นี้ก็อาจรวมถึงการเตรียมความพร้อมของคณะฯ นี้ด้วยก็ได้ค่ะ

ขอบคุณที่ติดตาม comment อยู่เสมอนะคะ ยินดีมากค่ะ

เรียนท่านอาจารย์กมลวัลย์

เท่าที่เคยเห็น "โครงการจัดตั้งคณะ...." ที่ผ่านมาจะมีการเชิญผู้ที่เป็นกูรูที่มีชื่อเสียงระดับประเทศในแวดวงอุดมศึกษา มาทำหน้าที่รักษาการคณบดี บริหารโครงการในช่วงระยะเวลาของโครงการ เพื่อจัดระบบ สร้างความเชื่อมั่น วางรากฐาน ครับ

ด้วยควาเคารพ

กัมปนาท

ขอข้อมูลหน่อยได้มั้ยค่ะ เรื่องการบริหารโครงการ เนื่องจากกำลังศึกษาอยู่ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณสำหรับบทความนี้

http://projectvictor.com/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท