(ร่าง) แผนพัฒนาคุณภาพจากผลประเมินภายนอก มมส. (1/8)


การพัฒนาคุณภาพ เป็นหัวใจหลักของระบบการประกันคุณภาพ ที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงจากการติดตามคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

หลังจากที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมายให้ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพเป็นผู้ประสานงานหลักในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement Plan) ระดับสถาบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากผลการประเมินภายนอก รอบที่ 2 ของ สมศ.

ซึ่งศูนย์ฯก็ได้แบ่งเป็น 8 คณะทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับจุดที่ควรพัฒนา ของ สมศ. ระบุไว้ในรายงานผลประเมินฯ เพื่อจัดทำร่างแผนพัฒนาฯ เสนอต่อกรรมการบริหารมหาลัยและสภาฯต่อไป โดยทีมแรกที่จัดทำเสร็จและส่งข้อมูลมาก่อน คือ คณะทำงานด้านการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา (คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นประธาน) มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้ครับ

<<<<<<<<<<<<<< >>>>>>>>>>>>>> 

เป้าประสงค์

เพื่อเพิ่มจำนวนผลงานการตีพิมพ์บทความวิจัย ของวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา ในวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์ของ สมศ.

กลยุทธ์

  1. บัณฑิตวิทยาลัยและคณะที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาจัดทำวารสารวิชาการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ของ สมศ.
  2. บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับฝ่ายวิจัยของมหาวิทยาลัยจัดการเสนอผลงานวิทยานิพันธ์ระดับปริญญาโท
  3. บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดการเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท
  4. บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับศูนย์ฝึกอบรมศาสตร์และศิลป์การเรียนรู้ทางการศึกษา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเขียนและควบคุมวิทยานิพนธ์สำหรับอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา
  5. บัณฑิตวิทยาลัยจัดโครงการ Research Clinic สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา

เป้าหมาย

  1. บัณฑิตวิทยาลัยและคณะที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาจัดทำวารสารวิชาการ ภายในปี 2550 จำนวน 3 วารสาร
  2. บัณฑิตวิทยาลัยและฝ่ายวิจัยของมหาวิทยาลัยจัดการเสนอผลงานวิจัยระดับปริญญาโท ทุกปีการศึกษา เริ่มปี 2550 และมีผลงานตีพิมพ์ ในรายเล่มอย่างน้อยปีละ 20 เรื่อง
  3.  บัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จัดการเสนอผลงานวิจัยระดับปริญญาโทร่วมกัน  ภายในปี  2550 และมีผลงานตีพิมพ์ ในรายเล่มอย่างน้อยปีละ 30 เรื่อง
  4. บัณฑิตวิทยาลัยจัดโครงการ Research Clinic สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทุกภาคเรียน  เริ่มปี 2550 และมีนิสิตเข้าใช้บริการภาคเรียนละอย่างน้อย 30 คน
  5. บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับศูนย์ฝึกอบรมศาสตร์และศิลป์การเรียนรู้ทางการศึกษา  จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเขียนและควบคุมวิทยานิพนธ์สำหรับอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา ทุกปีการศึกษา  เริ่มปี 2550 และมีอาจารย์ผ่านการอบรมอย่างน้อยปีละ 15 คน
  6.  บัณฑิตวิทยาลัยจัดอบรมเทคนิคการเขียนบทความวิจัยให้นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทุกปีการศึกษา เริ่มปี 2550 และมีนิสิตผ่านการอบรมอย่างน้อยปีละ 30 คน

<<<<<<<<<<<<<< >>>>>>>>>>>>>> 

ขอขอบคุณคณะทำงานด้านการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

KPN


ความเห็น (5)

เรียนคุณกัมปนาท

ขอแลกเปลี่ยนนิดหนึ่งนะคะ

  • เท่าที่เข้าใจ มีกฎของ สกอ. ที่ระบุให้ผู้ที่จะจบบัณฑิตศึกษาจะต้องเขียนบทความและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอยู่แล้ว ดังนั้นเป้าหมายในข้อ 2 และ 3 น่าจะจำนวนเรื่องถึงตามที่กำหนดถ้ามีนักศึกษาจบในปีนั้นครบจำนวน
  • การจัดทำวารสารวิชาการเป็นเรื่องที่ดีค่ะ แต่ทำปีเดียว 3 เล่มจะค่อนข้างเหนื่อย ถ้าไม่มีระบบสนับสนุนให้เกิดอย่างจริงจังและต่อเนื่องค่ะ

 

 

ขอ share ด้วยนะค่ะ ว่าวารสารที่เป็น in house สมศ ไม่น่าจะนับให้รึปล่าวค่ะ ถ้าอย่างไร ต้องดูเกณฑ์ของวารสารด้วยนะค่ะว่าต้องเป็นวารสารอย่างไร สมศ จึงจะนับให้ค่ะ...

สมศนับเฉพาะการตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์ การศึกษาอิสระไม่นับให้ ฉะนั้นหากมี นิสิตแผน ข จำนวนมาก จะมีผลต่อสัดส่วนได้หาก สมศ นับรวม นิสิตบัณฑิตศึกษาทั้งหมด....หากนับเฉพาะ นิสิต ที่เรียนแผน ก ก็ไม่มีปัญหาค่ะ

เรียนท่านอาจารย์กมลวัลย์ และท่านอาจารย์แป๋ว

สำหรับ ร่าง ดังกล่าวนี้จะต้องนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการบริหารมหาลัย และกรรมการสภามหาลัย คงต้องมีการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะต่อไปครับ

กัมปนาท

  • ขอเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ ฝ่ายใน มมส.นะจะแจ๊ค
  • เป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ
  • (^_^)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท