การพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น : ในบริบทโครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ( 1 )


มีเสียงสะท้อนจากครูที่เข้าร่วมโครงการว่า การทำหลักสูตรใช้เวลาในการทำงานมาก และเหนื่อยกับการทำงานสร้างหลักสูตร

 

นอกจากทำงานกับองค์กรชาวบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว โครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการฯ ยังได้ทำงานกับองค์กรด้านการศึกษาของชุมชน ได้แก่ โรงเรียน ซึ่งโครงการได้เข้าไปช่วยสร้างหลักสูตรสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พ.ศ. 2542...ควบคู่ไปกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องหลักสูตรสถานศึกษาให้แก่โรงเรียนและชุมชน...โดยมีนักวิชาการจาก มข.และเจ้าหน้าที่โครงการฯ เป็นพี่เลี้ยง ได้แก่

  • การชี้แจงเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น

  • การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและทิศทางในอนาคต

  • กระบวนการวิเคราะห์ความต้องการของนักเรียน

  • การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ

  • การสรุปบทเรียนร่วมกัน

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษา หลักสูตรต้นแบบ วิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน และค้นหาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา กำหนดสัดส่วนเวลาเรียน และหน่วยการเรียนรู้

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแนวประสบการณ์การเรียนรู้

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนกาเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระ

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดการวัดและประเมินผล

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำรูปเล่มหลักสูตรสถานศึกษา (ฉบับร่าง)

  • ประชุมเสนอผลการดำเนินการร่างหลักสูตรสถานศึกษา

  • ประชุมชี้แจงหลักสูตรฉบับร่าง

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดทำแผนการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระวิชา

  • การติดตามผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

จากกระบวนการที่หลากหลายดังกล่าว ทำให้โรงเรียนมีเอกสารหลักสูตรสถานศึกษาครบทั้งกลุ่ม 8 สาระ ด้วยความช่วยเหลือของนักวิชาการและเจ้าหน้าที่โครงการฯ ครูบางคนสามารถเป็นวิทยากรในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้กับโรงเรียนอื่นต่อไป แต่มีเสียงสะท้อนจากครูที่เข้าร่วมโครงการว่า การทำหลักสูตรใช้เวลาในการทำงานมาก และเหนื่อยกับการทำงานสร้างหลักสูตร แต่อย่างไรก็ตาม ครูบางคนได้ประสบการณ์ และภูมิใจที่สามารถทำหลักสูตรของโรงเรียนด้วยตนเองสำเร็จ และเกิดความเป็นเจ้าของหลักสูตร...โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนได้รับโอกาสให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนที่บุตรหลานเขาเรียนอยู่ ทำให้ชาวบ้านรู้สึกภาคภูมิใจ และรู้สึกว่าตนมีส่วนเป็นเจ้าของโรงเรียน...ผลจากการติดตามผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาพบว่า....(โปรดติดตามตอนต่อไป)

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 84061เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2007 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เห็นความพยายามในการทำงานเพื่อสังคมแล้วน่าชื่นใจจริง ๆ ครับ
ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจครับ

ทำต่อไปนะเพ่เอาจัยช่วยอยู่

สาหวาดดีคร้า

หนูขอถามอะไรได้ไหมคร้า

การวิเคราะห์บริบทชนบทมีอะไรบ้างคร้า

ช่วยบรรยายให้หน่อยได้ไหมคร้า

ขอบคุณคร้า

การศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน อย่างน้อยควรศึกษา 4 ด้านครับ ได้แก่

  • กายภาพ
  • ชีวภาพ
  • เศรษฐกิจ
  • สังคม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท