จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ประสบการณ์ในการเขียนหนังสือ


ได้อ่านบล็อกของ ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ เรื่องของแนวทางการพิมพ์ ก็เลยอยากนำเสนอประสบการณ์ของตัวเองบ้าง

ผมเขียนหนังสือมาสองเล่มแล้วครับ ปี 44 เล่มหนึ่งและเมื่อปี 49 อีกเล่มหนึ่ง ทั้งสองเล่มเป็นหนังสือการใช้โปรแกรม macromedia Authorware ครับ ที่ต่างกันคือเนื้อหาครับ เล่มแรกเขียนเกี่ยวกับเล่มแรกวิธีการใช้อย่างลึกซึ่งเป็นขั้นเป็นตอน เล่มนี้ใช้เวลาเขียนไม่นานครับ คืนละบท เนื่องจากผมมีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมนี้มานานมากตั้งแต่ปี 38 ดังนั้นเนื้อหาลึกๆ ที่หนังสือที่ขายอยู่ก่อนหน้าไม่ปรากฏจะปรากฏในหนังสือของผมได้อย่างไม่ยากครับ หนังสือเล่มนี้พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ซัคเซสมีเดียครับ แต่จัดจำหน่ายโดยซีเอ็ดครับ ส่วนเล่มที่สอง เล่มนี้กว่าจะเขียนเสร็จใช้เวลานานครับ (จำนวนหน้าน้อยกว่า) แต่ก็ไม่ได้รีบเขียน เขียนไปเรื่อยๆ ตามเวลาที่อำนวย เนื่องจากว่า มั่นใจว่าไม่ว่า macromedia จะเปลี่ยนเวอร์ของโปรแกรมนี้ไปอีกเวอร์ชั่นหนังสือนี้ใช้ได้ตลอด และที่สำคัญเขียนไปทดลองไปครับ เนื่องจากเป็นการประยุกต์ใช้ที่ลึกกว่าเล่มแรก นั่นคือการทำเกมด้วยโปรแกรมออโต้

 

แวร์ครับ

บทเรียนที่ได้จากการเขียนหนังสือ คือ

1. เล่มแรกผมเริ่มเขียนกับ ms-word ครับ แต่พอส่งไปสำนักพิมพ์เขาต้องการต้นฉบับที่พิมพ์ด้วยโปรแกรม pagemaker ครับ ผมก็เลยต้องแปลงจากเวิร์ดไปเป็นเพจเมคเคอร์ แต่ตอนที่เขียนเล่มที่สอง ผมก็เริ่มทำต้นฉบับกับเพจเมคเคอร์เลย แต่มาเปลี่ยนใจเปลี่ยนสำนักพิมพ์ทีหลัง ซึ่งซีเอ็ดต้องการต้นฉบับที่ทำด้วยเวิร์ด ผมก็ต้องเสียเวลาเปลี่ยนต้นฉบับจากเพจเมเคอร์มาเป็นเวิร์ดอีกครั้งหนึ่ง หลายคนอาจสงสัยทำไมผมเปลี่ยนสำนักพิมพ์ ซึ่งจริงๆ ผมไม่ได้ไม่พอใจซัคเซสมีเดียนะครับ เพียงแต่อยากเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา ก็เลยได้บทเรียนใหม่สำหรับการทำต้นฉบับครับ

2. ภาพประกอบ สำหรับหนังสือ ต้องมีต้นฉบับด้วยนะครับ ตอนนั้นสำนักพิมพ์เขาขอเป็นไฟล์ tiff ครับ ซึ่งไฟล์ใหญ่มาก หนังสือผมเล่มแรกไฟล์ภาพเกือบ 500 mb. ครับ ซึ่งอันนี้ทำให้ผมเสียเวลาเหมือนกันเนื่องจากตอนเขียนต้นฉบับไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพประกอบ ใช้วิธีการก็อปจากหน้าจอมาลงในไฟล์เวิร์ดเลย สุดท้ายต้องมาย้อนรอยใหม่เพื่อสร้างไฟล์ tiff

3. สำนักพิมพ์แต่ละสำนักจะมีวิธีการจ่ายค่าตอบแทนไม่เหมือนกันครับ ช้าเร็ว และช่วงเวลาต่างกัน ถ้าใครให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ต้องดูด้วยนะครับ

4. ซัคเซสมีดีอย่างหนึ่งครับในการรับงานเขียน คือ การตั้งกองบรรณาธิการตรวจสอบความถูกต้อง และปัญหาลิขสิทธิ์ ทำให้งานเขียนแต่ละชิ้นมีคุณภาพมากขึ้น เช่นงานของผม เขาตั้งทีมขึ้นมาชุดหนึ่งอ่านและทำตามหนังสือที่ผมเขียน ถ้าทำใด้จริงจะยอมตีพิมพ์ให้ครับ และมีการเขียนคำนำของทีมบรรณาธิการให้ผมด้วย ซึ่งผมชอบวิธีการนี้ครับ (ผมชอบที่จะได้รับคำแนะนำ เพื่อการพัฒนา)

5. คำถามหนึ่งที่ผมได้รับจากทั้งสองสำนักพิมพ์เมื่อผมเสนองานไป คือ หนังสือของคุณมีความแตกต่างจากที่วางขายอยู่อย่างไร ซึ่งตอนเสนอหนังสือเล่มแรกผมไปที่สำนักพิมพ์ เขาบอกผมกลับมาว่า หนังสือโปรแกรมนี้มีขายแล้วของสำนักพิมพ์เอง ผมก็ตอบเขาไปว่า ผมจะส่งไปให้เขาอ่านสองบทก่อน ถ้าคิดว่าไม่ดีกว่าที่เขาตีพิมพ์อยู่ ก็ไม่เป็นไร สุดท้ายเมื่อเขาอ่านงานผมแล้วเขาก็รับทันที ส่วนเล่มที่สองเขาให้เขียนในจดหมายเลยว่า มีความแตกต่างอย่างไร ซึ่งงานเขียนของผมคือ ไม่มีใครเขียนแบบผมมาก่อนแน่นอน

6. จริงๆ ผมมีหนังสืออีกเล่มหนึ่ง เขียนเสร็จแล้วแต่ไม่ได้ตีพิมพ์ ทั้งๆ ที่เซ็นสัญญากับสำนักพิมพ์เรียบร้อยแล้ว คือ โปรแกรม director ครับ เนื่องจากโปรแกรมนี้ไม่ค่อยด้วยรับความสนใจในตลาดโปรแกรมสักเท่าไร แต่จริงๆ แล้วผมว่ามันอาจจะดีกว่าโปรแกรมดังๆ อย่าง flash นะครับ ในด้านความสามารถของโปรแกรม ดังนั้นบทเรียนนี้คือ เรื่องที่จะเขียนต้องดูตลาดด้วยครับ

ตอนนี้คิดออกแค่นี้ครับ ค่อยเพิ่มเติมในวันหลังนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 83920เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2007 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ครับอาจารย์

         ผมไม่ได้จะให้ข้อเสนอแนะ    แต่ผมอยากได้ข้อเสนอแนะจากอาจารย์มากกว่า คือ อาจารย์มีวิธีเขียนหนังสือได้อย่างไรที่ทำให้ เขียนแล้วเสร็จแต่ละเรื่องซึ่งผมเคยเขียนหลายเรื่องไม่เคยเสร็จสักเรื่องเลย

                   ทำอย่างไรครับอาจารย์ ?

                                                      ชุกรัน

อ่านแล้วเพลินมากเลยค่ะ หนูไม่มีความใฝ่ฝันที่อยากจะเขียนหนังสือค่ะ แต่อยากจะใฃ้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมให้เก่ง สามารถใช้โปรแกรมใหม่ได้ อ่านแล้วได้ข้อคิดเยอะมาก วันหลังเอาให้อ่านอีกนะค่ะ
ขอให้มีความฝันที่ไกลไว้ก่อนครับ เราจึงจะก้าวไปได้อีกไกล ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

ดิฉันอยากได้คำแนะนำในการทำหนังสือหน่อยค่ะ จากที่อ่าน เลยสงสัยว่าทำไม se-ed ถึงต้องการต้นฉบับด้วยคะ จริงแล้วเราทำรูปเล่มเองแล้วส่งให้เค้าจำหน่าย นั่นคือขั้นตอนที่ถูกต้องใช่ไหมคะหรือมีอะไรเพิ่มเติมจากส่วนนั้นอีกไหมคะ

 ส่วนการสั่งพิมพ์ดิฉันอยากได้ข้อคิดเห็นว่า ระหว่างจ้างสำนักพิมพ์พิมพ์ให้ กับให้โรงพิมพ์ทั่วไปพิมพ์ให้อย่างไหนดีกว่าคะ แล้วสำนักพิมพ์เค้าพิมพ์ให้ขั้นต่ำกี่เล่มคะ หาแหล่งจัดจำหน่ายให้เราพร้อมด้วยรึเปล่าคะ แล้วเค้าหักเรากี่เปอร์เซนต์ แล้ว se-ed คิดเปอร์เซนต์จากเราเท่าไหร่ยังไงคะ รบกวนหน่อย นะคะ เพราะกำลังจะทำหนังสือเพลง โน๊ตเปียโน พอมีอะไรแนะนำบ้งไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

ระบบการพิมพ์ที่เราใช้ในการพิมพ์ลงกระดาษกับการพิมพ์ในโรงพิมพ์เป็นคนละระบบกันครับ ดังนั้นหากต้องการให้การพิมพ์มีคุณภาพก็จำเป็นต้องไปจัดทำต้นฉบับใหม่เพื่อการพิมพ์ ก็เลยต้องแยกภาพออกต่างหากครับ สำหรับผมๆ คิดว่า การให้ทางสำนักพิมพ์จัดหน้าให้ดีกว่าเราจัดเองครับ ด้วยประสบการณ์และทักษะ ผมยอมแพ้คนที่มีอาชีพด้านนี้ และเราไม่เสียเวลาครับ

ส่วนการจะจ้างให้สำนักพิมพ์หรือกับจ้างโรงพิมพ์ อันนี้ขึ้นอยู่กับเราครับ คือ ถ้าเรามีตลาดเฉพาะ เราก็จ้างเขาพิมพ์ แล้วเราจัดจำหน่ายเอง ผมก็ว่ากำไรเราก็ได้เยอะหน่อยครับ แต่ที่ผมเลือกให้สำนักพิมพ์เนื่องจากผมไม่มีตลาดเอง และการให้บริษัทจำหน่ายจะดีกว่า เนื่องจากเขามีเครือข่ายอยู่แล้ว ทำให้หนังสือของเราทั่วถึงกว่าครับ

ส่วนเปอร์เซนต์ของ se-ed คิดยังไงเนี๊ยะ ขอบอกว่าขึ้นอยู่กับข้อตกลงครับ ว่า เราต้องการเท่าไร แต่นั่นแหละครับ หากเราต้องการสูง หนังสือของเราราคาก็สูงด้วย ซึ่งจะทำให้หนังสือเราขายไม่ออกได้เหมือนกัน ส่วนใหญ่เรตจะอยู่ที่ร้อยละ 8-12 ของราคาปกครับ

คำแนะนำสำหรับการเขียนหนังสือคือ เขียนในสิ่งที่เราถนัด ตามสไตล์ของเราครับ

แล้วเรื่องลิขสิทธิ์ จัดการยังไงครับ?

เป็นของเรา หรือของสำนักพิมพ์ครับ?

ขอบคุณครับ จะรอคำตอบ 

ลิขสิทธิ์เป็นของเราครับ ไม่มีปัญหา

อยากรู้ว่าหลักการเขียนหนังสือว่ามีลำดับขั้นตอนการเขียนอย่างไรอย่างเช่นเนื้อหาแบบไหนต้องอยู่ตอนไหน

ท่าทางจะมีคนสนใจเรื่องการเขียนหนังสือเพื่อจำหน่ายเยอะ ดีเลยครับอาจารย์ ได้แลกเปลี่ยนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท