กลยุทธ์ลุยถึงที่ของ กศน.ในโครงการ KM สู่ชุมชนอินทรีย์


จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ลุยถึงที่ของ กศน. ที่ กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราชนำมาปรับใช้กับงานฟังชั่นของ กศน.เอง และที่ใช้ในโครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาชุมชนสู่ชุมชนที่เข้มแข็งอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน หรือชุมชนอินทรีย์นี้สอดคล้องและเสริมหนุนซึ่งกันและกันทำให้การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมีพลังและมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

กลยุทธ์การทำงานของ กศน.ลุยถึงที่ 

กลยุทธ์ลุยถึงที่ของ กศน. จะเสริมหนุนโครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาชุมชนสู่ชุมชนเข้มแข็งอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน หรือชุมชนอินทรีย์ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชดำเนินการอยู่ได้อย่างไรบ้าง นี่คือประเด็นที่ผมอยากจะวิเคราะห์และเล่าไว้ในบันทึกนี้

ลุยถึงที่สำหรับท่านที่ไม่ได้อยู่ในแวดวง กศน. อาจจะนึกไม่ถึงว่า กศน.มีกลยุทธ์อย่างนี้ด้วยหรือ

มีครับ เป็นกลยุทธ์ในการทำงานกลยุทธ์แรกเลย

ผมอยากจะสร้างความเข้าใจอย่างรวดเร็วว่ากลยุทธ์ลุยถึงที่ ก็คือวิธีการทำงานของชาว กศน. ที่จะต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายใด จะอยู่ที่ไหนก็ตาม ต้องรีบรุด และรุกเข้าไปให้ถึงเขา ชวนเขามาเป็นเพื่อนเรียนรู้ให้ได้ ส่วนเรียนรู้ในเรื่องอะไรเนื้อหาใดค่อยออกแบบและว่ารายละเอียดกันภายหลัง

อย่างในโครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาชุมชนสู่ชุมชนเข้มแข็งอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ออกแบบโครงสร้างการทำงานของบุคลากรโครงการและผู้เกี่ยวข้องเป็นวงเรียนรู้ และเป็นทีมทำงานระดับต่างๆ ทั้งคุณเอื้อและคุณอำนวย ทำให้บุคลากรของ กศน.และบุคลากรของหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจับมือทำงานร่วมกันเป็นทีมต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง ไม่ว่าเป็น เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ คนจน คนรวย คนในเมือง คนในชนบท ฯลฯ  ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนต้องเข้าถึงให้ได้อย่างทั่วถึงคือครอบคลุมเป็นการทั่วไปหมด ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกหมู่บ้าน 1,551 หมู่บ้านทั้งจังหวัด ไม่มีการยกเว้นหมู่บ้านใด

แบ่งเป็น 3 รุ่น รุ่นแรกสำรวจข้อมูลครัวเรือนเพื่อจัดทำแผนชีวิตชุมชนพึ่งตนเอง 400 หมู่บ้าน รุ่นที่สอง 600 หมู่บ้าน และรุ่นที่สาม 551 หมู่บ้าน 

บุคลากรของ กศน.และหน่วยงานภาคีต้องรุกเข้าไปถึงแหล่งที่อยู่ของแต่ละประเภทกลุ่มเป้าหมายให้ได้

เมื่อโครงการจัดการความรู้ฯ ต้องการเก็บข้อมูลครัวเรือนเพื่อนำมาประมวลจัดทำแผนชีวิตชุมชนพึ่งตนเองระดับหมู่บ้านโดยใช้แบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ทีมคุณอำนวยตำบลซึ่งมีครูอาสาฯซึ่งเป็นบุคลากร กศน.รวมอยู่ด้วย เท่าที่ผ่านมาทีมคุณอำนวยตำบลนี้ก็ไปทำหน้าที่อำนวยการเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือจัดเก็บข้อมูลแก่ครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ส่งเสริมกระบวนการสังเกต กระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกในครัวเรือน กิจกรรมบันทึกข้อมูลความเปลี่ยนแปลงตนเอง เมื่อได้ครบทุกครัวเรือนเป้าหมายแล้ว ก็มาเรียนรู้กันในเวทีประชาคมเพื่อสรุปและสังเคราะห์จัดทำแผนชีวิตชุมชนพึ่งตนเอง และเรียนรู้ในขั้นตอนของการแปลงแผนสู่การปฏิบัติกันในระยะต่อไป

จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ลุยถึงที่ของ กศน. ที่ กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราชนำมาปรับใช้กับงานฟังชั่นของ กศน.เอง และที่ใช้ในโครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาชุมชนสู่ชุมชนที่เข้มแข็งอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน หรือชุมชนอินทรีย์นี้สอดคล้องและเสริมหนุนซึ่งกันและกันทำให้การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีพลังและมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

เป็นการลุยหรือรุกเข้าไปหาผู้เรียนเพื่อเปิดห้องเรียน กศน.ทั้งจังหวัดก็ว่าได้

มิใช่แต่หน่วยงาน กศน.เท่านั้นที่ลุยหรือรุกเข้าไปถึงกลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานอื่นๆก็ได้ด้วยเช่นกัน win - win กันทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านตอบรับวิธีการที่หน่วยงานภายนอกทำทีมกันอย่างนี้และประสานกับทีมแกนของหมู้บ้านได้ดีขึ้น มิใช่ต่างคนต่างหน่วยงานต่างลุยเข้าไปเหมือนเมื่อก่อน

ที่สำคัญคือชาวบ้านจะได้เป็นเป้าหมายและเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเสียที

หมายเลขบันทึก: 83808เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอชื่นชมการทำงานเชิงรุกของชาว กศน.ทุกคนครับ 
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน

น้องสิงห์ป่าสักครับ

ลุยถึงที่ เป็นกลยุทธ์การทำงานที่ดีมาก สำคัญว่าจะลุยการหรือเปล่าเท่านั้น ตั้งรับอย่างเดียวคงหมดยุคไปแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท